อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ สุดยอดอัจฉริยะตลอดกาล
อัลเบิร์ตไอน์สไตน์เป็นนักวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในศตวรรษที่ 20 เขาเป็นคนคิดค้นทฤษฎีสัมพัทธภาพที่เป็นที่มาของการสร้างระเบิดปรมาณูที่มีอานุภาพร้ายแรงในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพสหรัฐอเมริกานำไปโจมตีที่เมืองฮิโรชิมา เมื่อวันที่ 6 สิงหาคมพ.ศ 2488 มีคนเสียชีวิตไปประมาณ 140000 คน และเมืองนางาซากิวันที่ 9 สิงหาคมพ.ศ 2488 มีคนเสียชีวิตประมาณ 80000 คน ในที่สุดประเทศญี่ปุ่นก็ต้องยอมแพ้ต่อกองทัพของพันธมิตรเมื่อวันที่ 15 สิงหาคมพ.ศ 2488
เมื่อปีพ.ศ 2482 เอ็ดเวิร์ด เทลเลอร์ ยูเกน พอลวิกเนอร์ และ ลีโอ ซีลาร์ค ชาวฮังกาเรียนที่ทำงานเกี่ยวกับนิวเคลียร์ฟิสิกส์ ทั้ง 3 คนหลบหนีจากเยอรมนีมาอยู่อเมริกา และได้มาพบกับไอน์สไตน์ให้เขียนจดหมายถึงประธานาธิบดีรูสเวลท์ให้ทราบว่า มีความเป็นไปได้ที่ประเทศเยอรมนีจะสร้างระเบิดนิวเคลียร์ซึ่งจะเป็นภัยร้ายแรงมากแต่เรื่องก็เงียบหายไป
ต่อมาวันที่ 7 ธันวาคมพ. ศ. 2484 ที่เพิร์ลฮาเบอร์ฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่ฮาวายถูกกองทัพญี่ปุ่นโจมตีทำให้สหรัฐอเมริกาประกาศตัวเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ทันทีและประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาได้อนุมัติโครงการแมนฮัตตันเพื่อผลิตระเบิดนิวเคลียร์ในที่สุดสหรัฐอเมริกาก็ได้นำระเบิดนิวเคลียร์ไปโจมตีที่เมืองฮิโรชิม่าและนางาซากิจนประเทศญี่ปุ่น ประกาศยอมแพ้ทำให้สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง เมื่อไอสไตน์ทราบข่าวความสูญเสียชีวิตผู้คนและอาคารบ้านเรือนที่ถูกทำลายอย่างย่อยยับจากพิษสงของระเบิดนิวเคลียร์ ที่เมืองฮิโรชิม่าและนางาซากิ เขาเสียใจมากและได้กล่าวกับผู้คนในตอนหลังว่า
"หากทราบว่าประเทศเยอรมนีไม่สามารถระเบิดนิวเคลียร์ได้ เขาจะไม่ลงนามในจดหมายถึงประธานาธิบดีรูสเวลท์ให้อนุมัติโครงการแมนฮัตตันอย่างแน่นอน"
หลังจากนั้นเป็นต้นมาไอสไตน์ได้ร่วมรณรงค์คัดค้าน ต่อต้านสงครามเรื่อยมา และมีคำพูดของเขาที่ถือเป็นคำคมที่มีผู้ยกไปอ้างอิงเกี่ยวกับเรื่องนี้เช่น
"ข้าพเจ้าขอเรียกร้องต่อหญิงชายทั้งหลายไม่ว่าท่านจะเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงหรือไม่ก็ตามขอให้ท่านประกาศว่าท่านจะไม่เป็นผู้ให้การช่วยเหลือใดๆแก่การสงครามหรือเตรียมการให้เกิดสงคราม ในความเชื่อของข้าพเจ้าการนำสันติภาพมาสู่โลกบนพื้นฐานความเป็นอยู่ของชนชาติต่างๆก็โดยการนำวิธีการของมหาตมะคานธีคือการสู้โดยสงบ สันติ อหิงสา มาใช้อย่างกว้างขวาง ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าถ้าหากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 มนุษย์จะใช้อาวุธอะไรประหัตประหารกันรู้แต่เพียงว่าหากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 4 "
ไอสไตน์คงคิดว่าสงครามโลกครั้งที่ 3 นั้นมนุษย์จะใช้อาวุธนิวเคลียร์ประหัตประหารกันย่อยยับจนไม่มีอาวุธอะไรเหลืออยู่เลยเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 4 จึงเหลือแต่ก้อนหินและกระบองไม้เป็นอาวุธ
"สันติภาพไม่สามารถรักษาไว้ได้โดยใช้กำลังแต่การรักษาสันติภาพจะสามารถบรรลุได้ด้วยการทำความเข้าใจกัน"
เมื่อปี 2483 ไอสไตน์ได้เป็นพลเมืองของสหรัฐอเมริกาและได้รับคำเชิญเป็นศาสดาอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยปริ๊นซ์ตันรัฐนิวเจอร์ซีย์ไอน์สไตน์กล่าวสุนทรพจน์ในการบรรยายหลายแห่งว่า
" ข้าพเจ้าไม่ใช่เป็นผู้ที่มีสติปัญญาเลิศแต่อย่างไรแต่ข้าพเจ้าเป็นผู้มีความกระหายอยากรู้อยู่เสมอมีความพากเพียรในการค้นหาสิ่งที่อยากรู้อย่างอดทนรวมทั้งวิจารณ์ตนเอง สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยนำมาซึ่งความคิดของข้าพเจ้า"
คำพูดดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่าไอน์สไตน์เป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตนและเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับผู้ที่มีความกระหายในความอยากรู้และค้นหาความรู้นอกจากนี้เขาได้ให้หลักในการสอนซึ่งครูอาจารย์น่าจะนำไปเป็นแบบอย่างในการสอนนักเรียน
" ผมไม่เคยสอนลูกศิษย์ของผมผมเป็นแต่เพียงผู้พยายามเต็มเงื่อนไขภาวะแวดล้อมให้เขาได้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองเท่านั้น"
และอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ได้ให้ความสำคัญต่อการจินตนาการมาก ทฤษฎีทางฟิสิกส์ที่เขาคิดได้สำเร็จมาจากการจินตนาการทั้งนั้น เข้าได้ย้ำว่า จินตนาการมีความสำคัญมากกว่าความรู้
อัลเบิร์ต ไอสไตน์นั้นเคยแต่งงาน 3 ครั้งภรรยาคนแรกชื่อว่าคอช ซึ่งเป็นสาวใช้ในบ้าน ภรรยาคนที่ 2 ชื่อ มิเลว่า มาริค เธอมีลูกกับไอสไตล์ 2 คน ตอบมาได้หย่าขาดจากไอสไตล์และไอน์สไตน์ได้แต่งงานใหม่กับ เอลซ่า โรเวนธัล ซึ่งได้อยู่ด้วยกันตลอดชีวิต
เกี่ยวกับเรื่องความรักนั้นไอสไตน์ได้กล่าวเปรียบเปยเป็นคำคมที่มีผู้นำไปกล่าวอ้างอิงโดยนำหลักวิทยาศาสตร์มาประยุกต์กับความรัก อย่างเช่น
แรงโน้มถ่วงของโลกไม่รับผิดชอบในการที่บุคคลจะตกหลุมรักกัน
วางมือบนเตาไฟ 1 นาทีมันช่างยาวนานเหมือน 1 ชั่วโมงแต่ถ้านั่งคุยกับสาวงาม 1 ชั่วโมงเวลามันช่างหมดไปเร็วเหมือนเวลา 1 นาทีนี่แหละหลักสัมพัทธภาพ
มีเรื่องเล่าต่อๆกันมาว่าวันหนึ่งมาริลินมอนโร ดาราสาวเซ็กซี่สตาร์ของ Hollywood ได้พบกับไอน์สไตน์เธอจึงได้พูดสัพยอกทีเล่นทีจริงกับไอสไตน์ว่า
"ท่านศาสตราจารย์ท่านว่าไหมหากเราได้แต่งงานกันลูกชายที่เกิดมาคงจะมีใบหน้าเหมือนกับฉันและมีความเฉลียวฉลาดเหมือนกับท่าน"
ไอสไตน์ได้ฟังก็หัวเราะหึหึพร้อมกับตอบสวนกลับไปว่า
"ผมกลัวว่ามันจะตรงกันข้าม เกรงว่าเด็กคนนั้นจะมีใบหน้าเหมือนผมแต่โง่เหมือนคุณนะสิ"
คำตอบดังกล่าวทำเอามาริลีนมอนโรอายม้วนไปเลยทีเดียว
ปกติอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์เป็นคนอารมณ์เย็นสุภาพไม่มักใหญ่ใฝ่สูงไม่ยึดถือชื่อเสียงเงินทองและมีอารมณ์ขันอยู่เสมอเมื่อคราวที่อาศัยอยู่ในเยอรมันนีเป็นช่วงที่คิดเริ่มมีอำนาจ ไอสไตน์ถูกหมายหัวว่าเป็นศัตรูต่อประเทศเยอรมนีและทางการเยอรมนีได้ตั้งค่าหัวไอสไตน์ไว้ $5000 มีนักข่าวคนหนึ่งได้ถามไอน์สไตน์ว่า
รู้ไหมว่ารัฐบาลเยอรมันตั้งรางวัลค่าหัวท่านไว้ถึง 5000 ดอลลาร์สหรัฐ
ไอสไตน์ยิ้มและตอบว่า
ค่าหัวของผมแพงถึงขนาดนั้นเชียวหรือ
คนบางคนอาจจะเคยสงสัยว่าเคยเห็นภาพถ่ายของอัลเบิร์ต ไอสไตน์แลบลิ้นปรากฏอยู่ในหน้าหนังสือพิมพ์ไม่ทราบว่าทำไมไอสไตน์จึงทำเช่นนั้น
คำตอบก็คือไอสไตน์เป็นคนมีอารมณ์ขันเขาขี้เล่นและเป็นกันเองกับสื่อมวลชน ทราบว่าตอนนั้นมีนักหนังสือพิมพ์หลายคนไปสัมภาษณ์และขอถ่ายรูปและขอให้ยิ้มเพื่อให้ได้ภาพที่สวยงาม ไอสไตน์นึกสนุกขึ้นมาจึงแลบลิ้นให้สื่อมวลชนถ่ายภาพเสียเลย สิ่งที่ยืนยันว่าไอสไตน์เป็นผู้ไม่มักใหญ่ใฝ่สูง ก็คือเมื่อปีพ.ศ 2495 เดวิด เบนกูเรียน นายกรัฐมนตรีแห่งอิสราเอลได้เสนอให้ไอสไตน์ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 2 ของอิสราเอลต่อจากประธานาธิบดีไซม์ ไวซ์แมน ประธานาธิบดีคนแรกที่เสียชีวิต แต่ไอสไตน์ก็ปฏิเสธ โดยกล่าวว่า
"ข้าพเจ้าได้จากประเทศอิสราเอลมาเป็นเวลานานข้าพเจ้ามีความละอายและมีความเสียใจที่จะบอกว่าข้าพเจ้าไม่สามารถรับตำแหน่งนี้ได้เพราะข้าพเจ้าไม่มีความสามารถในการบริหารการปกครองและไม่มีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของมนุษย์"
อัลเบิร์ต ไอสไตน์นั้นเกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคมพ. ศ. 2422 ที่เมืองอูล์มในเวือเทมเบิร์ก (Wurttemberg) ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนี และ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 18 เมษายนพ. ศ. 2498 ที่โรงพยาบาลพรินซ์ตันรัฐนิวเจอร์ซี สหรัฐอเมริกา รวมอายุได้ 76 ปี
อัลเบิร์ต ไอสไตน์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์เรื่องทฤษฎีการแผ่รังสีในปีพ. ศ. 2464
ด้วยความเป็นอัจฉริยะของไอน์สไตน์เมื่อปีพ.ศ 2542 นิตยสารไทม์ได้ยกย่องว่าไอน์สไตน์เป็นบุคคลแห่งศตวรรษ
และกัลลัพ โพล ได้บันทึกว่า
เขาเป็นบุคคลผู้ได้รับการยกย่องสูงสุดอันดับที่ 4 แห่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 จากการจัดอันดับ 100 บุคคลผู้มีชื่อเสียงและมีอิทธิพลสูงในประวัติศาสตร์ไอน์สไตน์นั้นได้รับยกย่องให้เป็น นักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 และเป็นหนึ่งในสุดยอดอัจฉริยะตลอดกาล
บทความแนะนำ