12 เรื่องราวความจริงของบาร์โค้ด
1. บิดาแห่งบาร์โค้ดผู้ที่ริเริ่มคิดค้นระบบที่ใกล้เคียงกับบาร์โค้ดในปัจจุบันเป็นคนแรกสุดก็คือ Wallace Flint นักศึกษามหาวิทยาลัย Harvard ในปี 1932 ได้เริ่มคิดจะใช้บัตรเจาะรูเป็นตัวกำหนดรหัสสินค้าเสร็จแล้วนำมาตอกในเครื่องอ่านเป็นต้นแบบของ บาร์โค้ด ในปัจจุบัน
2. ลองผิดลองถูกโดยใช้หมึกเรืองแสง
โครงการบัตรเจาะรูของ Wallace Flint ไปไม่ถึงฝั่งฝัน แต่ก็ยังมี Bernard Silver นักศึกษาของสถาบันเทคโนโลยี Drexel ในเมืองฟิลาเดลเฟีย นำมาพัฒนาต่อโดยใช้ ก็เลยใช้หมึกเรืองแสงและใช้การฉายแสง UV แทนแต่ก็ล่มไปอีกเพราะไม่เสถียร และต้นทุนสูง
3. บาร์โค้ดในขั้นเริ่มแรกเป็นรูปวงกลม
Joseph Woodland เป็นคนที่เข้ามาช่วย Bernard Silver ได้มาก ในที่สุดก็ได้จดสิทธิบัตรการออกแบบบาร์โค้ดเป็นครั้งแรกให้กับทั้งสองคนในวันที่ 7 ตุลาคม 1952 โดยเป็นรูปแบบวงกลมคล้ายๆ แผ่นปาเป้า
4. ร้านค้าร้านแรกที่ใช้ระบบบาร์โค้ด
บาร์โค้ดในรูปแบบแผ่นปาเป้า ถูกใช้งานเป็นครั้งแรกที่ร้านค้าในเครือ Kroger ที่เมืองซินซิเนติ รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ค.ศ. 1967 แต่นี่ก็ยังเป็นแค่ขั้นเริ่มต้นของการใช้งานเท่านั้น
5. พัฒนาเครื่องสแกน
ต่อมาได้มีการพัฒนาระบบบาร์โค้ดให้เป็นแบบแท่งและมีตัวเลขเหมือนในปัจจุบัน อีกทั้งยังพัฒนาเครื่องสแกนขึ้นมาได้สำเร็จเรียบร้อย ในเดือนมิถุนายน 1974 ปัญหาที่มีมาก่อนหน้านี้ก็ถูกแก้ไขทั้งหมดด้วยการมาของเครื่องสแกน
6. สินค้าชิ้นแรกที่ถูกสแกน
และก็เพียงไม่นานหลังจากเครื่องสแกนผลิตสำเร็จ วันที่ 26 มิถุนายน 1974 ก็ได้ถูกใช้งานเป็นครั้งแรกในซูเปอร์มาร์เกตทันที และสินค้าชิ้นแรกที่ถูกสแกนด้วยเครื่องอ่านบาร์โค้ดคือหมากฝรั่ง Wringley
7. ระบบการทำงาน
บาร์โค้ด ทำงานโดยใช้รูปแบบของแถบสีดำและขาวที่มีความกว้างของแถบที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับตัวเลขที่กำกับอยู่ข้างล่าง การอ่านข้อมูลจะอาศัยหลักการสะท้อนแสงของเครื่องสแกนเพื่ออ่านข้อมูลเข้าเก็บในคอมพิวเตอร์ โดยที่เราไม่ต้องมานั่งกดคีย์บอร์ดให้วุ่นวาย
8. ความผิดพลาดอยู่ในระดับที่ต่ำมาก
เพราะเหตุใดบาร์โด้ดจึงเป็นที่นิยมไปทั่วโลก? คำตอบก็คือมันเป็นระบบที่รวดเร็ว สะดวก และน่าเชื่อถือ ระบบสแกนบาร์โค้ด ความผิดพลาดจะมีแค่1 ใน 10,000,000 เท่านั้น
9. การเข้ามาของบาร์โค้ดในประเทศไทย
ในประเทศไทย ระบบบาร์โค้ดถูกนำเข้ามาใช้งานเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2530 โดยมีสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบสิทธิ์นายทะเบียนรับสมัครสมาชิกจดทะเบียนบาร์โค้ดและก็แพร่หลายในประเทศไทยทันที
10. บาร์โค้ดแบบ 3 มิติ
เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป หลายอย่างย่อมต้องเปลี่ยนตาม เห็นได้จากสมาร์ทโฟนต่างๆ ก็ใช้ระบบบาร์โค้ดกันแล้ว เช่นเวลาเราไปขอไลน์หญิง เธอจะบอกให้เราสแกนโทรสับเพื่อแอดไลน์กัน รู้ไหมว่านั่นก็คือบาร์โค้ดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นบาร์โค้ดแบบ 3 มิติ ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่
11. ชื่อภาษาไทยคือ รหัสแท่ง
หลายๆ อย่างที่อิงจากคำศัพท์ฝรั่งมักมีชื่อเฉพาะเป็นภาษาไทยที่ฟังดูแล้วทะแม่งหูอย่าง “กระด้างภัณฑ์” หรือ “ละมุนภัณฑ์” โดยบาร์โค้ด ก็มีชื่อเรียกภาษาไทยด้วยนั่นก็คือ “รหัสแท่ง” คราวนี้จะทะแม่งหรือเปล่าก็แล้วแต่คนจะคิดล่ะนะ
12. พัฒนาไปสู่รูปแบบที่แตกต่าง
จากเริ่มต้นใช้งานในรูปแบบการสแกนสินค้า แต่ช่วงหลังเราเริ่มเห็นการใช้งานบาร์โค้ดในรูปแบบที่แตกต่างบ้างแล้วอย่างเช่นเกมในมือถือสุดฮิตที่ต้องนำโทรศัพท์ไปหาสแกนบาร์โค้ดเพื่อจะได้ตัวละครในเกม เป็นต้น ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่ามันจะพัฒนาและเพิ่มลูกเล่นไปได้ถึงไหนได้อีกในอนาคต