สรรพคุณของพลูคาวหรือคาวตอง
เวลาที่เราเดินผ่านดงของ
พลูคาวหรือถ้าเดินไปเหยียบมันจะมีกลิ่นโชยขึ้นมา กลิ่นจะเป็นกลิ่นคาวแต่รสของมันเป็นรสเปรี้ยว เวลากินเราต้องกินประกอบกัน เอาเปรี้ยวกับคาวมาใส่กัน กลิ่นลักษณะคล้ายๆ คาวปลาแต่บางคนก็ว่าแรงกว่า คนทางไทยพวนเรียกกันว่า "ผักคาว" พลูคาวเป็นผักที่มีกลิ่นคาวผสมกลิ่นหอมๆ แบบน้ำมันหอมระเหย ที่เรียกว่าพลูคาวก็เพราะใบคล้ายใบพลู ถิ่นกำเนิดจริงๆ เลยอยู่ทางเหนือที่เขาเรียกกันว่า "ผักคาวตอง" หมายถึง ผักมีกลิ่นคาวที่มีสีทอง ถ้าตากแดดจะเผ็นเป็นสีเขียวเหลืองสว่าง ถ้าปลูกในที่ทึบๆ ร่มๆ ไม่โดนแดดมันก็จะไม่โต ถ้าปลูกในภาคกลางอากาศไม่เย็นเหมือนทางเหนือ โดนแดดจัดมากๆ ใบมันก็จะไหม้หมด ปลูกไม่โต
พลูคาวนั้นเป็น
พืชสมุนไพรที่พบมากในแถบภาคเหนือของไทย และยังพบในแถบเทือกเขาหิมาลัย อินเดีย เรื่อยมาจนถึงประเทศจีน เวียดนาม ลาว เกาหลีและญี่ปุ่น สำหรับทางประเทศไทยนั้น คนทางภาคเหรือนิยมนำมากินเป็นผักสด กินคู่กับลาบ ลู่ และน้ำพริกต่างๆ คนทางภาคเหรือเรียกว่า
ผักคาวตอง ผักก้านตอง หรือผักคาวปลา ส่วนในภาคอื่นเรียกว่าคาวทองหรือพลูแก
พลูคาวมีสองชนิดคือชนิดใบใหญ่และชนิดใบเล็ก ชนิดใบเล็กจะมีกลิ่นฉุนมากกว่าและมีสรรพคุณทางยามากกว่า ส่วนชนิดใบเล็กนั้นยังแบ่งเป็นอีกสองประเภทคือชนิดก้านแดงและก้านขาว ซึ่งชนิดก้านแดงนั้นมีสรรพคุณทางยาเยอะกว่า แต่เวลานำมาปรุงยานั้นจะเอาทั้งสองชนิดมาผสมรวมกันในอัตราส่วนที่เท่ากัน
ลักษณะทั่วไปของพลูคาวนั้นจัดเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก อยู่ในตระกูลเดียวกับพลู แต่มีอายุอยู่ได้นานหลายปี ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ ชอบขึ้นตามที่ลุ่มชื้นแฉะและไม่ชอบแดดจัด ส่วนของลำต้นพลูคาวจะทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน มีไหลหรือหลดก็คือส่วนรากงอกออกมาตรงข้อประปรายแต่ขยายห่างจากต้นเดิมประมาณ 20 เซ็นติเมตร และจะไหลไปเรื่อยๆ จึงขยายพันธุ์ได้รวดเร็วนั่นเอง
ส่วนของใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ รูปทรงคล้ายหัวใจ โคนใบเว้า กลางใบเป็นร่องลึก โคนก้านใบแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น พลูคาวนั้นมีดอกด้วยสวยอีกต่างหาก จะออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกบานนั้นจะมีใบประดับที่โคนดอก มีสีขาวสี่กลีบ แต่ละช่อจะมีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก อัดแน่นเป็นแท่งทรงกระบอก สีออกเหลืองอ่อน
พลูคาวนั้นจัดเป็นพืชอาหารที่เป็นยา สามารถนำมาบริโภคได้ทั้งห้าคือ ราก ต้น ผล ใบ และดอก ทุกส่วนนั้นมีกลิ่นฉุนเพราะมีน้ำมันหอมระเหย น้ำมันหอมระเหยจากพลูคาวนี้สามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของไวรัสที่เป็นสาเหตุของไข้หวัดใหญ่ ไวรัสต้นเหตุของเริม ไวรัสเอดส์ หมอยาในสมัยโบราณนำมาใช้รักษาฝีหนองในปอด กามโรค แก้ไข้ แก้บิด ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว ขับระดูขาว แก้ริดสีดวงทวาร แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน แผลเปื่อย และใช้พอกในรายที่กระดูกหัก แก้ไข้มาลาเรีย แก้หัด ทำให้น้ำเหลืองแห้ง บำรุงเลือดสตรีหลังคลอดบุตร
ในปัจจุบันนี้พบว่า
พลูคาวถือเป็น
พืชสมุนไพรที่มาการศึกษาวิจัยและมีการจดสิทธิบัตรมากเป็นอันดับต้นๆ ตัวหนึ่ง เนื่องจากสรรพคุณเด่นที่ช่วยสร้างภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย บำรุงระบบน้ำเหลือง ต้านไวรัส และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนั้นยังมีฤทธิ์ต้านเชื้อราและแบคทีเรีย ในหลายประเทศเช่น จีน เกาหลี รวมถึงประเทศไทย มีการนำพลูคาวมาใช้ในส่วนประกอบตำรับยาเพื่อช่วยรักษาผู้ป่วย
โรคมะเร็งหลายชนิด และมีฤทธิ์ต้านการอักเสบและช่วยระงับการปวด และยังช่วยในการต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารอีกด้วย
บทความแนะนำ