ประการแรก เส้นผมอุยที่พวกเราเห็นเกิดขึ้นมาจากเคราติน โปรตีนที่เหลือจากเซลล์ตายที่ถูกดันขึ้นไป ขณะที่เซลล์ใหม่เติบโตข้างใต้มัน
ประการที่สอง โครงสร้างที่ทำให้เกิดการเติบโตของเส้นผมเรียกว่า ปุ่มรากผม เครือข่ายอวัยวะซับซ้อนที่ ถูกสร้างขึ้นก่อนพวกเราเกิด และทำให้เส้นผมเกิดขึ้นมาในวัฏจักรที่ไม่รู้จบ
วัฏจักรนี้มี 3 ระยะหลักๆ ระยะแรกคือ อนาเจน เป็นระยะเติบโตกว่า 90% ของปุ่มรากผมอยู่ในระยะนี้ ทำให้พวกมันดันเส้นผมขึ้นมาในอัตรา 1 เซนติเมตรต่อเดือน อนาเจนสามารถอยู่ได้เป็นเวลาสองถึงเจ็ดปี ขึ้นอยู่กับยีนของคุณ หลังจากระยะเวลาการเติบโตนี้ สัญญาณภายในผิวหนังจะบอกปุ่มรากผมให้เข้าสู่ระยะใหม่ที่รู้จักกันในชื่อ คาทาเจน (catagen) หรือระยะถดถอย ทำให้ปุ่มรากผมหดตัวเหลือส่วนสั้นๆ ของความยาวดั้งเดิมของมัน คาทาเจนดำรงอยู่ได้ประมาณสองถึงสามสัปดาห์ และไม่ส่งเลือดไปหล่อเลี้ยงปุ่มรากผม ทำให้ผมเป็นกระเปาะ หมายความว่ามันพร้อมที่จะร่วงแล้ว ในที่สุด เส้นผมก็เข้าสู่ระยะเทโลเจน (telogen) เป็นระยะพัก ซึ่งนาน 10 ถึง 12 สัปดาห์ และมีผลต่อ 5-15% ของปุ่มรากผมที่หนังศีรษะ ในระยะเทโลเจน เส้นผมที่เป็นกระเปาะ สามารถร่วงได้ภายในวันเดียวถึง 200 เส้น ซึ่งเป็นเรื่องค่อนข้างปกติ
หลังจากนั้น วัฏจักรการเติบโตก็เริ่มต้นอีกครั้ง แต่ไม่ใช่ศีรษะทั้งหมดจะมีผมดก และ อันที่จริง ผมที่ศีรษะของบางคนขึ้นเป็นหย่อมๆมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย 95%ของการมีหัวล้านในผู้ชายสามารถเชื่อมโยงกับรูปแบบหัวล้านของเพศชาย หัวล้านเป็นกรรมพันธุ์ และในคนที่เป็นแบบนี้ ปุ่มรากผมจะไวอย่างไม่น่าเชื่อต่อฤทธิ์ของดีไฮโดรเทสทอสเทอโรน (ดีเอชที) ผลิตผลทางฮอร์โมนที่เกิดจากเทสทอสเทอโรน ดีเอชทีทำให้เกิดการหดตัวในปุ่มรากผมที่แสนจะอ่อนไหวเหล่านี้ ทำให้ผมสั้นขึ้นและบางลง แต่การสูญเสียไม่ได้เกิดขึ้นในทันที มันเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ตามมาตรวัดที่เรียกว่า นอร์วูดสเกล (Norwood Scale) ซึ่งบอกถึงความรุนแรงของการสูญเสียผม
ประการแรก ผมจะถอยร่นตามแนวขมับ จากนั้นผมบนกระหม่อมจะเริ่มบางลงเป็นรูปวงกลม ที่ระดับสูงสุดตามมาตรวัดนี้ บริเวณที่หัวล้านจะบรรจบกัน และขยายออกไปอย่างรวดเร็ว ในที่สุดจะเหลือแต่วงผมหรอมแหรมรอบๆขมับ และด้านหลังของศีรษะ พันธุกรรมไม่ใช่เหตุผลทั้งหมดที่ทำให้ผมร่วง ความเครียดเป็นเวลานานสามารถส่งสัญญาณ ที่ช็อกปุ่มรากผม และบังคับมันเข้าสู่ระยะพัก ก่อนเวลาอันควร ผู้หญิงบางคนประสบกับปัญหานี้ หลังจากคลอดลูก ปุ่มรากผมจะเสียความสามารถในการ เข้าสู่ระยะอนาเจน ซึ่งเป็นระยะเติบโต คนที่ผ่านการเคมีบำบัดก็ประสบกับปัญหานี้ชั่วคราว แต่ขณะที่การมีหัวล้าน ดูเหมือนจะเป็นถาวร การตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ ได้เปิดเผยสิ่งที่ตรงกันข้าม ภายใต้ผิวหนัง รากผมที่ให้กำเนิดเส้นผมของพวกเรา อันที่จริงยังคงอยู่
ด้วยความรู้นี้ นักวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนายาที่ ทำให้ระยะพักสั้นลงได้ และบังคับให้ปุ่มรากผมเข้าสู่ระยะอนาเจน ยาตัวอื่นๆต่อสู้กับหัวล้านในเพศชาย โดยการขัดขวางการเปลี่ยนจากเทสทอสเทอโรนไปเป็นดีเอชที เพื่อมันจะได้ไม่มีผลกับปุ่มรากผมที่อ่อนไหวเหล่านั้น สเต็มเซลล์ก็มีบทบาทในการควบคุมวัฏจักรการเติบโตอีกด้วย ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์กำลังตรวจสอบว่าพวกเขาจะควบคุมการทำงานของเซลล์เหล่านี้เพื่อกระตุ้นปุ่มรากผมให้สร้างเส้นผมอีกครั้งได้หรือไม่ และในระหว่างนี้ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ฝึกฝนวิธีการฟิ้นฟูผมของพวกเขา คนที่กำลังจะหัวล้าน หรือกำลังคิดว่าจะทำให้หัวล้าน จะนึกได้ว่า เขามีเพื่อนพวกเดียวกันเยอะ
ที่มา TED-Ed Youtube Channel