google.com, pub-6663105814926378, DIRECT, f08c47fec0942fa0 Mega topic: โรคกระดูกสันหลัง | จัดอันดับ | 10 อันดับ| เรื่องผี| เรื่องสยองขวัญ| ที่สุดในโลก| ดูดวง| ประวัติศาสตร์
Showing posts with label โรคกระดูกสันหลัง. Show all posts
Showing posts with label โรคกระดูกสันหลัง. Show all posts

โรคกระดูกสันหลังตีบรัดเส้นประสาท

โรคกระดูกสันหลังตีบรัดเส้นประสาท

โรคกระดูกสันหลังตีบรัดเส้นประสาทคืออะไร
คือโรคที่เกิดจากเส้นประสาทส่วนปลายบริเวณกระดูกสันหลังถูกบีบรัด อันมีสาเหตุจากช่องไขกระดูกสันหลังที่ตีบแคบทำให้เกิดอาการปวดและชาจากสะโพกร้าวลงที่ขาถึงปลายเท้า บางรายถ้าปล่อยไว้เป็นระยะเวลานานจนอาการรุนแรง อาจทำให้เกิดอาการอ่อนแรงของขาคล้ายอัมพาตของกล้ามเนื้อบางส่วนได้ โรคนี้บางตนชอบเรียกว่า "โรคกระดูกทับเส้น"

โรคนี้เกิดได้อย่างไร
โรคนี้มักพบบ่อยในคนสูงอายุ เช่น คนที่อายุมากกว่า 45 ปี เพราะคนในวัยนี้กระดูกสันหลังจะมีการแห้งและเสื่อมสภาพตามกาลเวลา หรือตามการใช้งานอย่างหนัก ทำให้ความสูงของหมอนรองกระดูกลดลง มีเส้นเอ็นและพังผืดหนาตัวขึ้นในช่องไขกระดูกรวมทั้งมีแคลเซียมหรือ หินปูน (Osteophyte) เกิดขึ้นใกล้ช่องทางออกของเส้นประสาท เป็นผลให้เส้นประสาทที่มาเลี้ยงขาถูกกดตีบรัด เกิดความผิดปกติในการทำงาน ที่พบบ่อยคือมีอาการปวดที่มีลักษณะเฉพาะตัวคือปวดจากด้านหลังของสะโพก ต้นขา ร้าวลงมาหลังข้อพับเข้าไปจนถึงน่องและปลายเท้า โดยอาจจะเป็นทั้ง 2 ข้าง หรือข้างใดข้างหนึ่งก็ได้



บางคนที่มีอาการมากจะมีความรู้สึกปวดชาไปทั้งขา ไม่มีแรง ก้าวขาไม่ออก โดยเฉพาะเวลายืน เดิน นานๆ จนกระทั่งเดินไม่ไหว แต่พอหยุดเดินแล้วก้มตัวลงพักอาการเหล่านี้จะดีขึ้นและเดินต่อไปได้อีก หรือในบางรายที่การกดทับมีมากขึ้นอาจเกิดการอ่อนแรงคล้ายอัมพาตของกล้ามเนื้อที่เลี้ยงโดยเส้นประสาทนั้นได้ เช่น กระดกข้อเท้าหรือปลายนิ้วโป้งเท้าไม่ขึ้น เป็นต้น

ผู้ป่วยส่วนใหญ่พบในคนอายุมาก ดังนั้นจึงอาจพบความผิดปกติอื่นๆ ของร่างกายร่วมด้วยได้ เช่นอาการปวดบริเวณเอวจากกระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกสันหลังโค้งผิดรูป เดินตัวเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง หรือการมีกระดูกโปร่งบางหรือกระดูกพรุนก็พบได้เช่นกัน

การรักษาโรคประดูกสันหลังตีบรัดเส้นประสาท
ผู้ป่วยส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าถ้ามาพบแพทย์จะต้องได้รับการผ่าตัด และกลัวว่าการผ่าตัดจะทำให้เป็นอัมพาต จริงๆ แล้วมีผู้ป่วยมากกว่าครึ่งที่สามารถรักษาได้โดยวิธีอื่นๆ ที่ไม่ต้องผ่าตัด เช่น การทำกายภาพบำบัด รับประทานยาต้านการอักเสบของกระดูกและข้อ  การฉีดยาระงับการอักเสบที่เส้นประสาท ดังนั้นผู้ป่วยจึงไม่ต้องทนต่ออาการปวดหรือชาจนมีอาการหนักมากเสียก่อนจึงมาพบแพทย์ โปรดวางใจว่าแพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำ และเลือกการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย การผ่าตัดเป็นทางเลือกสุดท้ายเนื่องจากรักษาวิธีอื่นๆ มาแล้วไม่ได้ผล

การรักษาโดยการทำกายภาพบำบัด
เป็นการรักษาโดยแพทย์ผู้ชำนาญด้านการทำกายภาพบำบัด เช่น การดึงหลังเพื่อยึดกระดูกสันหลัง การทำการประคบและนวดกล้ามเนื้อด้วยความร้อนและไฟฟ้า บางรายอาจต้องใช้เครื่องพยุงหลังเพื่อเพิ่มความมั่นคงต่อข้อต่อที่มีปัญหาด้วย โดยปกติแพทย์ทางโรคกระดูกและข้อจะส่งผู้ป่วยไปรับการรักษาทางกายภาพบำบัดเป็นช่วงเวลานานระดับหนึ่งแล้วประเมินผลการรักษาว่าอาการดีขึ้นหรือไม่ ถ้าไม่ได้ผลแพทย์อาจแนะนำให้รักษาในขั้นตอนต่อไป เช่น ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ฉีดสารทึบแสง ฉีดยาระงับการอักเสบที่เส้นประสาท หรือการผ่าตัดเป็นต้น

การรักษาโดยการบริหารร่างกายและควบคุมน้ำหนัก
เป็นการรักษาที่ผู้ป่วยทุกรายควรทำควบคู่กันไปกับการรักษาวิธีอื่นๆ เสมอ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีน้ำหนักมาก การบริหารร่างกายในโรคนี้จะเน้นที่การเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกระดูกสันหลัง ทำให้การตีบอคบลดลง เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง หน้าท้อง และเพื่อประคองกระดูกสันหลังให้มั่นคงแข็งแรงขึ้น

ท่างอเข้าชิดอก เพื่อเปิดช่องของเส้นประสาทที่ถูกกดทับงอค้างไว้ 10 วินาที วันละ 20-30 ครั้ง

ท่ากดหลังติดพิ้นเตียง (ยกก้นเล็กน้อย) กดค้างไว้ 10 วินาที วันละ 20-30 ครั้ง การแขม่วท้องเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้อง



ข้อปฏิบัติเมื่อปวดหลัง
1. พักการทำงานทันที หรือนอนพัก
2. การใช้ความเย็นประคบ กรณีมีอาการปวดเฉียบพลันภายใน 24 ชม. ใช้ได้ทั้งความร้อนตื้นและลึก อาจเป็นเพียงแผ่นประคบหรือกระเป๋าน้ำร้อนก็ได้ ใช้ผ้าขนหนูห่อแล้ววางบนบริเวณที่ปวดหรือตรงที่กล้ามเนื้อมีการเกร็งตัวมากๆ
3. ใช้ยารักษา ส่วนมากจะเป็นยาลดปวด ลดอักเสบ ควรพบแพทย์
4. การใช้เครื่องพยุงหลัง เช่น เสื้อพยุงหลังเพื่อช่วยจำกัดการเคลื่อนไหวและเพิ่มความมั่นคงให้แก่หลัง แต่ไม่ควรใส่ไว้นานๆ จะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงเนื่องจากไม่ได้ใช้งาน ควรบริหารกล้ามเนื้อหลังร่วมด้วยเมื่ออาการปวดลดลง
5. ปรับเปลี่ยนท่าทางในชีวิตประจำวันให้ถูกต้อง เช่น การนั่ง ยืน เดิน หลีกเลี่ยงการยกของหนัก เดินไกล ไม่สวมรองเท้าส้นสูง ไม่นอนที่นอนนุ่มเกินไป
6. พบแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัดเมื่ออาการไม่ดีขึ้น

สรรพคุณรากสามสิบ สรรพคุณตะลิงปลิง สรรพคุณอะเซอโรลา
สรรพคุณดาวอินคา สรรพคุณหมามุ่ย สรรพคุณกวาวเครือ
สรรพคุณถั่งเช่า สรรพคุณมะเฟือง สรรพคุณใบเตย
สรรพคุณดอกอัญชัน สรรพคุณเหงือกปลาหมอ สรรพคุณชาเขียว
สรรพคุณเห็ดหลินจือ สรรพคุณพลูคาว สรรพคุณเถาวัลย์เปรียง
สรรพคุณหอมแดง สรรพคุณพริก สรรพคุณฟักข้าว
สรรพคุณสมุนไพร เครื่องดื่มต้านมะเร็ง สรรพคุณมะระ
สมุนไพรครัวเรือน สรรพคุณผักสวนครัว สมุนไพรรักษาโรค
สมุนไพรแก้ปวดเมื่อย สมุนไพรผิวขาว สรรพคุณมะหาด
สมุนไพรแก้มะเร็ง สมุนไพรรักษาสิว สมุนไพรรากสามสิบ

บทความแนะนำ


บทความเมนูอาหาร บทความภัยอันตราย บทความสุขภาพ บทความวิทยาศาสตร์ บทความสยองขวัญ บทความชีวิตสัตว์ บทความประวัติศาสตร์ บทความจัดอันดับ สารบัญบทความ

Popular Posts