ข้อโต้แย้งที่ 1
ในช่วงไม่กี่สิบปีก่อน กัญชาได้ถูกปรับปรุงให้มีฤทธิ์แรงมากขึ้น กัญชาในปัจจุบันจึงออกฤทธิ์ได้แรงมาก แรงขนาดทำให้ก่อภาวะทางจิตได้เลย ส่วนประกอบหลักของกัญชาคือ สาร THC และก็มีหลักฐานหนักแน่นว่า สารนี้ก่อให้เกิดโรคทางจิตได้ แม้จะไม่นับอาการเสี่ยงอื่นๆ กัญชายังมีสารประกอบอีกตัวที่เรียกว่า CBD ซึ่งดูเหมือนจะมีผลต้านกันกับ THC กระทั่งมีการทดสอบโดยการรักษา โรคจิต และผู้มีอาการซึมเศร้า แต่เพราะสารตัวนี้แหละ ที่ไม่ทำให้คุณเมายา ในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา ผู้ผลิตจึงลดปริมาณ CBD ลง ในขณะที่เพิ่มปริมาณ THC ปริมาณ THC ในตัวอย่างที่ถูกทดสอบ ถูกเพิ่มขึ้นจากราว 4% ในช่วงปี 90 เป็นราว 12% ในปี 2014 เปลื่ยนอัตราส่วน THC ต่อ CBD จาก 1 ต่อ 14 ในปี 1995 ไปเป็น 1 ต่อ 80 ในปี 2014 แต่ก็ไม่รู้ว่าผลการทดสอบเหล่านั้นแม่นยำขนาดไหน
โดยรวมกล่าวได้ว่า ยิ่งคุณเสพกัญชามากเท่าไร มันก็ยิ่งเมายาแรงมากขึ้นไปอีก และมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะมีอาการทางจิต แต่ ความเสี่ยงที่จะมีอาการทางจิตของประชากรทั่วไปมันมากแค่ไหนล่ะ? ในประเทศอังกฤษมีการศึกษาว่า ที่ระหว่างปี 1996 จนถึง 2005 ที่ การเสพกัญชามีมากขึ้น ในขณะที่จำนวนของผู้ป่วยจิตเภท ยังมีจำนวนเท่าๆเดิม ความเสี่ยงของกัญชาที่จะก่อภาวะทางจิตมีผลสูงสุดต่อคนที่มีภาวะทางจิตอยู่แล้ว สำหรับผู้ป่วยแล้ว จากที่เรารู้ กัญชาดูเหมือนจะเร่งอาการต่างๆ ให้เร็วขึ้น มากกว่าที่จะก่อให้เกิดโรค ฉะนั้นเหตุผลตกไปที่ ถ้าผู้คนเข้าถึงกัญชาได้น้อย โอกาสที่กัญชาจะก่อให้เกิดอาการทางจิตก็จะยิ่งน้อยลงไปด้วย
แต่จริงๆแล้ว สามารถโต้แย้งได้ว่า จริงๆแล้ว เพราะกัญชาผิดกฎหมาย คนยิ่งป่วยเป็นจิตเภทมากขึ้น การที่มันผิดกฎหมายนี่แหละที่ทำให้ยาเสพติดต่างๆ เข้มขึ้น รุนแรงขึ้น เพราะว่าผู้ค้ามีพื้นที่ขายน้อย แต่จำนวนของสินค้ามีมาก จีงเน้นขายทีละเยอะๆ เพื่อทำกำไร นี่เป็นสิ่งที่เคยเกิดขึ้นแล้ว ระหว่างการจำกัดแอลกอฮอล์ในสหรัฐ โดยมีแค่เหล้าเท่านั้นที่ขายได้ กัญชาก็เหมือนกัน ลองนึกดูว่า มีแต่เหล้าเท่านั้นที่สามารถหาซื้อได้ ดังนั้นคุณมีทางเลือกแค่ จะเมาหัวทิ่มหรือจะไม่ดื่มเลย นี่เป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับกัญชาในปัจจุบัน ประชาชนก็ไม่ได้หยุดดื่มกันแม้จะมีการจำกัด และจำนวนของผู้เสพกัญชาก็ไม่ได้ลดลงตามที่กฎหมายห้าม คือเราไม่สามารถทำให้กัญชาหมดไปได้ แต่เราสามารถทำให้มันปลอดภัยขึ้นได้ ถ้ากัญชาถูกกฎหมาย มันก็จะเป็นตัวเลือกให้ผู้ซื้อและหน่วยงานรัฐสามารถกำกับปริมาณสาร CBD ให้เยอะได้ คล้ายกับที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยดื่มเหล้าทั้งกลมหลังเลิกงานกัน ดังนั้นคนจะสามารถเสพกัญชาที่ไม่แรงมากได้ เหมือนกับดื่มเบียร์หลังเลิกงาน
ข้อโต้แย้งที่สอง : กัญชาเป็นทางผ่านไปสู่สารเสพติดอื่นๆ
"ถ้ากัญชาถูกกฎหมาย ปริมาณการให้สารเสพติดที่อันตรายอื่นๆ จะสูงขึ้นฉับพลัน" ในปี 2015 มีศึกษาพบว่า 45% ของคนที่เสพกัญชา จะหันไปเสพสารอื่นในจุดใดจุดหนึ่ง การทำกัญชาให้ถูกกฎหมายอาจจะทำให้เกิดสถานการณ์แบบนี้ ยิ่งวัยรุ่นสามารถเสพกัญชาได้ถูกกฎหมาย พวกเขาอาจจะหันไปเสพอย่างอื่นที่รุนแรงกว่าเดิม แต่จริงๆ แล้วทางผ่านสำหรับยาเสพติดต่างๆ มีมาก่อนแล้ว นั่นคือบุหรี่ มีงานวิชาการชิ้นหนึ่งกล่าวว่า วัยรุ่นคนที่เริ่มสูบบุหรี่ตั้งแต่ก่อนอายุ 15 กว่า 80% เลยที่จะไปใช้ยาเสพติดผิดกฎหมายภายหลัง และในปี 2007 พบว่า วัยรุ่นที่สูบบุหรี่ในช่วงอายุ 12 จนถึง 17 มีแนวโน้ม 3 เท่าที่จะกลายเป็นนักดื่มตัวยง อีก 7 เท่าที่จะกลายเป็นผู้เสพสารอย่างเฮโรอีน หรือ โคเคน และมีแนวโน้มอีก 7 เท่าที่จะหันไปเสพกัญชาเช่นกัน
ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ การทำให้สารเสพติดถูกกฎหมายมากขึ้น จะหยุดให้คนเสพสารที่รุนแรงได้อย่างไร? อย่างแรก ต้องรู้ก่อนว่า คนที่เสพ ไม่ได้เสพเพราะว่ามันถูกหรือผิดกฎหมาย ถ้าเกิดอยากจะซื้อยาเสพติดต่างๆ ก็จะมีคนที่ยินดีขายอยู่ดี คำถามจริงๆคือ ทำไมคนจึงอยากเสพยากันนัก? จากการศึกษาพบว่ามีเงื่อนไขตายตัวเลย ที่จะทำให้คนเสพติดยาเสพติด วัยเด็กแย่ๆ การโดนทำร้ายร่างกาย ฐานะยากจน ภาวะซึมเศร้า หรือ แม้แต่พันธุกรรม โดยพวกเขาจะติดสารอะไร ก็ขึ้นอยู่กับโอกาส คนที่ติดยาใช้สารเพื่อหนีปัญหาต่างๆ แต่ตัวยาไม่ได้แก้ปัญหาอะไรเลย และก่อปัญหาใหม่ขึ้นมาด้วย แต่การทอดทิ้งคนเหล่านี้ ก็ไม่ได้เปลื่ยนอะไรเหมือนกัน ดังนั้นบางคนจึงแย้งว่าบางทีเราควรใช้วิธีที่ต่างจากเดิม
ในปี 2001 โปรตุเกส คือประเทศที่มีปัญหายาเสพติดเลวร้ายที่สุดในยุโรป ดังนั้นการใช้ความรุนแรงดูเหมือนจะไม่มีหวังเท่าไร ผู้ครอบครองยาหรือผู้เสพยาผิดกฎหมายต่างๆ ถูกลดทอนโทษลง พวกเขาไม่ถูกจับอีกต่อไป กลับกัน รัฐบาลจัดตั้งแคมเปญบำบัดขึ้นมาแทน คนที่เสพในปริมาณน้อย ได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานบำบัด การในลดและเลิกยา การเสพยาถูกมองใหม่ เป็นแค่โรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ไม่ใช่อาชญากรรม ผลออกมาผิดคาด จำนวนคนลองเสพและยังเสพยาต่อเนื่องลดลง จาก 44% มาที่ 28% ในปี 2012 ยาเสพติดแรงๆ ถูกใช้ลดลง เช่นเดียวกับจำนวนผู้ติดเชื้อ HIV, ตับอักเสบ และคนที่ใช้ยาเกินขนาด การทำให้ยาเสพติดถูกกฎหมายอาจจะช่วยสังคม มากกว่าทำลาย ในภาพรวม
ข้อโต้แย้งที่ 3 "กัญชาเสพติดได้ง่ายและเป็นอันตราย"
ดังนั้นมันยังคงต้องผิดกฎหมายต่อไป เพื่อจำกัดความเสียหายต่อสังคมให้น้อยสุด ในขณะที่ การเสพติดกัญชามีผลในเรื่องจิตใจมากกว่าร่างกาย นี่แหละที่เป็นปัญหาจริงๆ ผู้ที่เสพติดกัญชาและต้องการบำบัด มีจำนวนเป็นสองเท่า เพียงในช่วงสิบปีที่ผ่านมา รวมแล้ว ประมาณ 10% ของคนที่ลองเสพกัญชา จะกลายเป็นคนที่เสพติด จำนวนนี้เกี่ยวข้องกับปริมาณที่สูงของ THC งานวิจัยที่ตีพิมพ์ออกมาในปี 2017 สำรวจฤทธิ์เข้มข้นของกัญชา ที่ขายในร้านกาแฟประเทศเนเธอร์แลนด์ (ในเนเธอร์แลนด์กัญชาสามารถขายได้ในร้านกาแฟบางแห่ง) เป็นระยะเวลามากกว่า 16 ปี ในทุกๆ 1% ของปริมาณสาร THC ที่เพิ่มขึ้น มีเพิ่มขึ้นอีก 60 คนที่เข้ารับการบำบัดจากทั่วประเทศ ในเรื่องของผลเสียต่อสุขภาพ
งานวิชัยบางชิ้นขี้ว่า กัญชามีผลในเรื่องความดันและโรคปอด ในขณะที่ปี 2016 ศึกษาพบว่า การใช้กัญชาไม่ได้มีผลอะไรกับสุขภาพ ยกเว้นแค่โรคเหงือก งานวิจัยบางชิ้นบ่งชี้ว่า กัญชามีผลต่อสมองของวัยรุ่น ซึ่งมีผลลดสติปัญญาของพวกเขา แต่เมื่อศึกษาเพิ่มเติมอีก พบว่า มันมีผลเล็กน้อย เมื่อคิดรวมการดื่มเหล้าและสูบบุหรี่เข้าไปด้วย ผลมันยังสรุปไม่ได้นั่นเอง โดยรวม การวิจัยค้นพบว่า การเสพยาเสพติดมีผลเสีย ในช่วงที่สมองกำลังพัฒนา แต่ความจริงคือ เราก็ไม่รู้เหมือนกันว่า กัญชา มีผลเสียต่อสุขภาพขนาดไหน เราต้องการทุนสำหรับการวิจัยเรื่องนี้อีก ซึ่งคงเป็นไปได้ยาก ถ้ากัญชายังผิดกฎหมายอยู่ แต่เราสามารถมองสิ่งที่เรารู้อยู่แล้วได้ 16% ของคนที่ดื่มแอลกอฮอล์กลายเป็นคนติดแอลกอฮอล์ และ 32% ของคนที่ลองสูบบุหรี่กลายเป็นคนติดบุหรี่ เรารู้แหละว่า แอลกอฮอล์มีผลต่อสมอง ทำลายตับและก่อมะเร็ง ในขณะที่บุหรี่ ทำให้หลอดเลือดอุดตัน ทำลายปอดและก่อมะเร็ง
ทุกปี มีผู้เสียชีวิต 3.3 ล้านรายจากแอลกอฮอล์ ในขณะที่ บุหรี่ฆ่าคนไปมากกว่า 6 ล้านรายต่อปี ไม่มีใครบอกว่า บุหรี่ และ เหล้า ปลอดภัยเพราะมันถูกกฎหมาย แต่ก็ด้วยที่ ไม่มีใครต่อต้านมัน ถึงมันจะอันตรายมากๆ การทำให้ถูกกฎหมายเป็นวิธีที่จะควบคุมพวกมัน โดยเฉพาะเด็กที่เราต้องป้องกันจากสิ่งเหล่านี้ มันยากกว่ามากที่เด็กจะซื้อยาเสพติดถูกกฎหมาย คนขายจะถูกปรับหนัก และสูญเสียใบอนุญาตถ้าเกิดพวกเขาขายให้เด็กที่อายุไม่ถึง การทำให้ถูกกฎหมายจะทำให้ผู้ขาย ไม่สามารถเอาเปรียบผู้ซื้อได้ แล้วก็การทำให้กัญชาถูกกฎหมายไม่ได้หมายความว่า เรารับรองมัน มันหมายความว่าเรากำลังรับผิดชอบ ความเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นต่างหาก แล้วก็มันจะเป็นการเปิดประตู ให้กับงานวิจัยใหม่ๆ อีกมากมาย ที่จะบอกเราว่าจริงๆ แล้วมันอันตรายจริงหรือ และมันอันตรายต่อใคร
สรุปคือ กัญชาคือยาเสพติด เหมือนกับยาเสพติดอื่นๆ ที่มีผลเสียเช่นเดียวกัน สำหรับคนที่เสพมัน มันไม่ได้ไร้โทษ วิธีที่ดีที่สุดที่จะปกป้องสังคมจากผลเสียของมัน ดูเหมือนจะเป็นการทำให้มันถูกกฎหมายและควบคุมมัน
ที่มา Kurzgesagt – In a Nutshell Youtube Channel