google.com, pub-6663105814926378, DIRECT, f08c47fec0942fa0 ระบบสุริยะจักรวาล บ้านอันกว้างใหญ่ของเรา

ระบบสุริยะจักรวาล บ้านอันกว้างใหญ่ของเรา

ที่นี่คือระบบสุริยะจักรวาล ซึ่งก็คือบ้านของเราในจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาล เราอาศัยอยู่ในส่วนที่แสนสงบสุขส่วนใดส่วนหนึ่งของทางช้างเผือก บ้านของเราคือระบบสุริยะนั่นเอง การก่อตัวราว 4.5 พันล้านปีที่แล้ว หมุนรอบศูนย์กลางกาแล็คซี่ที่ 200,000 กิโลเมตร / ชั่วโมงและหมุนครบรอบทุกๆ 250 ล้านปี ดาวของเราดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ มีดาวเคราะห์แปดดวงโคจรรอบ อุกาบาตและดาวหางอีกล้านล้านดวง และมีดาวเคราะห์แคระอีกนิดหน่อย

ดาวเคราะห์แปดดวง แบ่งออกเป็นสี่ดวง ที่เหมือนโลกของเรา ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร  และดาวก๊าซยักษ์สี่ดวง: ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ดาวพุธเป็นที่เล็กที่สุดและที่เบาที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหมด หนึ่งปีที่ดาวพุธสั้นกว่าวันหนึ่งที่ดาวพุธ ซึ่งนำไปสู่อุณหภูมิที่มีความผันผวนอย่างมาก ดาวพุธไม่มีชั้นบรรยากาศหรือดวงจันทร์ ดาวศุกร์เป็นหนึ่งในวัตถุที่สว่างที่สุดในระบบสุริยะ เป็นดาวเคราะห์ที่ร้อนที่สุด มีความดันในชั้นบรรยากาศที่ 92 เท่าของบนโลก มีภาวะเรือนกระจกที่สุดโต่ง นั่นหมายความว่าดาวศุกร์ ไม่เคยมีอุณหภูมิต่ำกว่า 437 °C เลย ดาวศุกร์ก็ไม่ได้มีดวงจันทร์เช่นกัน



โลกเป็นบ้านของเราและเป็นดาวเดียวที่มีอุณหภูมิที่อยู่ในระดับพอเหมาะ ทำให้เกิดน้ำที่มีสถานะเป็นของเหลว นอกจากนี้ก็ยังเป็นสถานที่เดียวในขณะนี้ ที่รู้ว่ามีสิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ โลกมีดวงจันทร์หนึ่งดวง

ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กเป็นอันดับสอง ในระบบสุริยะ และแทบจะมีมวลไม่มากพอจึงทำให้ เกิดชั้นบรรยากาศที่เบาบาง โอลิมปัสมอนส์เป็นภูเขาที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ สูงมากกว่าสามเท่าของยอดเขาเอเวอร์เรส ดาวอังคารมีดวงจันทร์ขนาดเล็กสองดวง ดาวพฤหัสบดีมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีมวลมากที่สุด ในบรรดาดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ มันประกอบด้วยไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นส่วนใหญ่ และเป็นสถานที่ที่พบพายุใหญ่ที่สุดและรุนแรงมากที่สุดเท่าที่เรารู้จัก พายุที่ใหญ่ที่สุดคือจุดแดงใหญ่, มีขนาดเป็นสามเท่าของโลก

ดาวพฤหัสบดีมีดวงจันทร์หกสิบเจ็ดดวง ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองและมีความหนาแน่นที่น้อยที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหมด เปรียบเทียบได้ว่าหากคุณมีอ่างอาบน้ำขนาดใหญ่ ดาวเสาร์จะลอยอยู่ในนั้น ดาวเสาร์เป็นที่รู้จักกันดีสำหรับวงแหวนที่มองเห็นได้ชัดของมัน มันมีดวงจันทร์หกสิบสองดวง

ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นอันดับสาม และเป็นหนึ่งในที่หนาวเย็นมากที่สุด และก็ยังเล็กที่สุด ในบรรดาดาวก็าซยักษ์ สิ่งที่พิเศษเกี่ยวกับดาวยูเรนัสก็คือว่า แกนของการหมุนเอียงไปด้านข้างในทางตรงกันข้ามกับดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ทั้งเจ็ดดวง มันมีดวงจันทร์ยี่สิบเจ็ดดวง

ดาวเนปจูนเป็นดาวเคราะห์ที่สุดท้ายในระบบสุริยะและมีความคล้ายคลึงกับดาวยูเรนัส มันไกลจากดวงอาทิตย์มากจน หนึ่งปีที่ดาวเนปจูนเป็น 164 ปีของโลก ความเร็วลมสูงสุดที่เคยวัดได้ในพายุบนดาวเนปจูน, ก็เพียงเกือบๆ 2,100 กิโลเมตร / ชั่วโมง ดาวเนปจูนมีดวงจันทร์สิบสี่ดวง ถ้าเราเปรียบเทียบขนาดของดาวเคราะห์ ความแตกต่างระหว่างพวกมัน จะเป็นที่ชัดเจนมากขึ้น

ดาวพฤหัสบดีเป็นผู้นำโด่งในแง่ของขนาดและน้ำหนัก; ในทางตรงข้าม ขนาดที่เล็กของดาวพุธมีขนาดเล็กกว่าดวงจันทร์แกนีมีด หนึ่งในบริวารดาวพฤหัสบดี ดาวพฤหัสบดีมีขนาดใหญ่ เพียงแค่มวลของมัน ก็มีประมาณ 70% ของมวล ของทุกดาวเคราะห์รวม ๆ กันและส่งผลกระทบอย่างมากต่อสิ่งที่แวดล้อมมัน นับเป็นโชคดีสำหรับโลกเพราะดาวพฤหัสบดีดึงดูดดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่จำนวนมากที่สามารถชนโลกจนทำให้สิ่งชีวิตบนโลกสูญพันธุ์ได้ แม้แต่ดาวพฤหัสบดียังดูเป็นดาวแคระไปเสีย เมื่อเปรียบเทียบกับดวงอาทิตย์ เรียกดาวพฤหัสบดีว่าใหญ่ดูจะลำเอียงกับดวงอาทิตย์

99.86% ของมวลในระบบสุริยะมาจากดวงอาทิตย์ ส่วนใหญ่ก็ประกอบด้วยไฮโดรเจนและฮีเลียม น้อยกว่า 2% เป็นธาตุหนัก เช่นออกซิเจนหรือเหล็ก ที่แกนของดวงอาทิตย์เผาไฮโดรเจน 620 ล้านตันในแต่ละวินาที และสร้างพลังงานพอที่จะตอบสนองความความต้องการของมนุษย์มานานเนิ่นนาน แต่ไม่เพียงดาวเคราะห์แค่แปดดวง โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์น้อยและดาวหางนับล้านล้าน ก็ยังโคจรอยู่

ส่วนใหญ่ของพวกมันรวมกันอยู่คล้ายเข็มขัดสองเส้น: หนึ่ง แถบดาวเคราะห์น้อยระหว่างดาวอังคารและดาวดาวพฤหัสบดีและ สอง แถบไคเปอร์ที่ขอบของระบบสุริยะ เข็มขัดเหล่านี้เป็นบ้านของวัตถุที่นับไม่ถ้วน บางอย่างมีขนาดเพียงเท่าอนุภาคฝุ่น บางอย่างมีขนาดเท่าดาวเคราะห์แคระ วัตถุที่รู้จักกันดีที่สุดใน แถบดาวเคราะห์น้อยคือเซเรส วัตถุส่วนใหญ่รู้จักกันดีในแถบไคเปอร์ มีดาวพลูโต Makemake และ Haumea โดยปกติแล้วเราจะอธิบายแถบดาวเคราะห์น้อยเป็น ส่วนที่หนาแน่นและเกิดการ ชนอย่างต่อเนื่อง



แต่ในความเป็นจริง มีดาวเคราะห์น้อยกระจายไปทั่วบริเวณ ซึ่งกว้างใหญ่เสียจนยากที่จะเห็นดาวเคราะห์น้อยสองดวงในคราวเดียว แม้จะมีดาวเคราะห์น้อยหลายพันล้านดวงในแถบ แถบดาวเคราะห์น้อยยังคงดูเหมือนพื้นที่่ว่างเปล่านั่นเอง และยังคงมีการชนกันครั้งแล้วครั้งเล่า มวลของแถบทั้งสองนั้น แทบจะไม่มีความสำคัญ: แถบดาวเคราะห์น้อยมีมวลน้อยกว่า 4% ของมวลดวงจันทร์ของเราและแถบไคเปอร์มีขนาดระหว่าง 1/25 ถึง 1/10 ของมวลของโลก

วันหนึ่งระบบสุริยะจะหายไป ไม่มีอยู่แล้ว ดวงอาทิตย์จะตาย และดาวพุธ ดาวศุกร์ บางทีโลกด้วยก็จะถูกทำลาย ในเวลา 500 ล้านปี ดวงอาทิตย์จะร้อนขึ้นเรื่อยๆ และร้อนจนถึงจุดหนึ่ง มันจะละลายเปลือกโลก จากนั้นดวงอาทิตย์จะโตขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งกลืนโลก หรืออย่างน้อยก็ทำให้โลกกลายเป็นทะเลลาวา เมื่อดวงอาทิตย์ได้ถูกเผาไหม้เป็นเชื้อเพลิงเกือบทั้งหมดและสูญเสียมวลไปมาก มันจะหดตัวจนเป็นดาวแคระขาวและเผาไหม้ช้าๆ ต่อไปอีกไม่กี่พันล้านปี ก่อนที่จะหายไปอย่างสิ้นเชิง จากนั้น ท้ายที่สุดแล้ว ชีวิตในระบบสุริยะคือสิ่งเป็นไปไม่ได้ ทางช้างเผือกเองจะแทบจะไม่ได้สังเกตว่า ส่วนเล็ก ๆ อย่างระบบสุริยะในแขนข้างหนึ่ง จะกลายเป็นเพียงจุดที่มืดขึ้นเล็กน้อย และมนุษย์จะหายไปหรือออกจากระบบสุริยะ เพื่อการค้นหาดาวบ้านดวงใหม่

ที่มา Kurzgesagt – In a Nutshell Youtube Channel

Popular Posts