1.เซลล์แก่ชรา
เซลล์ของคุณมีวันหมดอายุเช่นกัน ทุกๆ ครั้งที่เซลล์แบ่งตัว มันคัดลอกโครโมโซมของตัวมันเอง เพราะกระบวนการนี้ เซลล์จึงสูญเสียดีเอ็นเอเล็กน้อยที่ปลายสาย นี่อาจจะเป็นหายนะครั้งใหญ่ ดังนั้นเพื่อป้องกันตัวพวกมันเอง ร่างกายพวกเราจึงมีดีเอ็นเอสายยาวเรียกว่า เทโลเมียร์ มันคล้ายกับปลายเชือกรองเท้า แต่มันหดตัวลงทุกครั้งที่เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ ในบางเซลล์ หลังจากการแบ่งตัว เทโลเมียร์ได้หมดไป ทำให้เซลล์กลายเป็นเซลล์ซอมบี้ หรือเซลล์แก่ชรา เซลล์แก่ชราจะยังคงอยู่ และจะไม่ตาย เมื่อคุณแก่ตัว เซลล์พวกนี้ก็จะมีมากขึ้น พวกมันสร้างความเสียหายให้กับเนื้อเยื่อโดยรอบ และทำให้เกิดโรคต่างๆ ที่มากับความชรา เช่น เบาหวานและไตวาย แต่จะเป็นอย่างไร ถ้าคุณกำจัดพวกมันออกไปได้? นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการดัดแปลงพันธุกรรมหนู ซึ่งจะทำให้พวกมันสามารถกำจัดเซลล์แก่ชราได้ หนูอายุมากที่ไม่มีเซลล์แก่ชราแข็งแรงขึ้น หัวใจและไตของพวกมันทำงานได้ดีขึ้น และมีแนวโน้มต่ำลงที่จะเป็นมะเร็ง
โดยรวมแล้ว หนูพวกนี้จะมีอายุยืนและสุขภาพดียาวนานกว่าหนูทั่วๆ ไปถึงร้อยละ 30 แต่เนื่องจากเราไม่สามารถดัดแปลงพันธุกรรมในทุกๆ เซลล์ของมนุษย์ได้ เราจึงต้องหาวิธีอื่นที่จะกำจัดเซลล์แก่ชราลง แต่เราจะทำอย่างไรล่ะเพื่อไม่ให้มันไปทำลายเซลล์ที่ยังสุขภาพดีอยู่? เซลล์ส่วนใหญ่ในร่่างกายได้ฆ่าตัวมันเองหลังจากได้รับความเสียหาย แต่เซลล์แก่ชราไม่เป็นเช่นนั้น ปรากฏว่าพวกมันไม่ได้ผลิตโปรตีนที่บอกพวกมันว่าถึงเวลาตายแล้วมากพอ ดังนั้นในช่วงปลายปี 2016 หนูทดลองได้รับการฉีดโปรตีนประเภทนี้ มันฆ่าเซลล์แก่ชราไปถึง 80% จากทั้งหมดโดยไม่ส่งผลกระทบต่อเซลล์ที่ยังสุขภาพดี หนูทดลองที่ได้รับการฉีดโปรตีนนั้น โดยรวมแล้วสุขภาพดีขึ้น และบางตัวยังงอกขนที่เคยสูญเสียไป จากผลการทดลอง ทำให้มีบางบริษัทสนใจในการรักษาเกี่ยวกับเซลล์แก่ชรา และการทดลองกับมนุษย์ จะเริ่มขึ้นในไม่ช้านี้
2. NAD+
เซลล์ประกอบด้วยนับร้อยล้านชิ้นส่วน พวกมันเป็นโครงสร้าง กลไก สื่อสัญญาณ และตัวเร่งที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาเหล่านี้ขึ้น ชิ้นส่วนเหล่านี้ต้องถูกทำลาย เก็บกวาด และสร้างใหม่ตลอดเวลา เมื่อพวกเราแก่ตัว กระบวนการเหล่านี้มีประสิทธิภาพต่ำลง ทำให้ชิ้นส่วนที่พังเกาะตัวเป็นก้อน หรือถูกกำจัดช้าลง หรือถูกผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของเรา หนึ่งในชิ้นส่วนนี้คือ NAD+ เป็นโคเอนไซม์ที่บอกให้เซลล์เราให้ดูแลตัวเอง เมื่อเราอายุ 50 ปี เราจะมี NAD+ จำนวนครึ่งหนึ่งของตอนที่เราอายุ 20 ปี ปริมาณที่ลดลงของมันเชื่อมโยงหลายๆ โรค ได้แก่ มะเร็งผิวหนัง อัลไซเมอร์ โรคหัวใจ และปลายประสาทเสื่อม NAD+ ไม่สามารถซึมเข้าเซลล์ได้ เราจึงไม่สามารถบริโภคมันเป็นยา
แต่นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบสารประกอบที่สามารถซึมเข้าเซลล์และจะเปลี่ยนเป็น NAD+ ในภายหลังได้ ในปี 2016 การทดลองกับหนูทดลองหลายครั้ง แสดงให้เห็นว่าการทดลองได้เร่งการแบ่งตัวของผิวหนัง เซลล์สมอง และสเต็มเซลล์ หนูกระปรี้กระเปร่าขึ้น สามารถซ่อมแซมดีเอ็นเอมากขึ้น และมีช่วงชีวิตที่ยาวนานขึ้นเล็กน้อย แม้แต่ NASA ยังให้ความสนใจการทดลองนี้ เพราะ NASA กำลังหาทางที่จะลดความเสียหายของดีเอ็นเอนักบินอวกาศ จากการับรังสีคอสมิกในภารกิจเดินทางไปดาวอังคาร ในปัจจุบัน เริ่มวางแผนจะนำไปใช้ทดลองกับมนุษย์ แต่มันยังเร็วเกินไปที่จะพูดว่า วิธีนี้จะขยายช่วงสุขภาพดี หรือ ช่วงชีวิตของเรา แต่ NAD+ เป็นตัวเต็งที่อาจมาเป็นยาต้านการแก่ชราของมนุษย์ตัวแรก
3.เซลล์ต้นกำเนิด (stem cell)
สเต็มเซลล์เป็นเหมือนกับพิมพ์เขียวของเซลล์ที่มีอยู่ในหลายๆ ส่วนในร่างกาย และคัดลอกตัวมันเองเพื่อที่จะผลิตเซลล์ใหม่ๆ แต่มันก็เสื่อมสภาพไปตามที่เราแก่ตัวลงเช่นกัน เมื่อไม่มีชิ้นส่วนใหม่ ร่างกายมนุษย์ก็ได้พังลง ในหนูทดลอง นักวิทยาศาสตร์ได้สังเกตว่า เมื่อสเต็มเซลล์ในสมองของหนูได้หายไป พวกมันจะเริ่มมีโรคตามมา นักวิทยาศาสตร์จึงได้นำสเต็มเซลล์จากหนูที่อายุน้อยไปฉีดใส่สมองของหนูที่อายุมากกว่า โดยเฉพาะที่ไฮโพทาลามัส ที่ควบคุมการทำงานส่วนใหญ่ของร่างกาย สเต็มเซลล์ได้ทำการฟื้นฟูเซลล์สมองอายุมากโดยหลั่ง RNA หลายชนิดที่ควบคุมขบวนการเมทาบอลิซึมให้กลับมาปกติ หลังจาก 4 เดือน สมองและกล้ามเนื้อของหนูทดลองทำงานได้ดีกว่า หนูพวกที่ไม่ได้รับการฉีดสเต็มเซลล์ และโดยเฉลี่ย หนูพวกนี้มีอายุยาวขึ้นถึงร้อยละ 10 อีกการศึกษาหนึ่งได้นำสเต็มเซลล์จากเอ็มบริโอของหนู และฉีดใส่หัวใจของหนูที่อายุมากกว่า ผลก็คือหัวใจของมันมีประสิทธิภาพดีขึ้น ออกกำลังกายได้นานขึ้นร้อยละ 20 และที่ประหลาดใจคือขนของมันงอกเร็วขึ้น
บทสรุป
สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากสิ่งเหล่านี้คือ ไม่มียาวิเศษใดๆ ที่สามารถหยุดการแก่ชราลงได้ มันต้องการการรักษาที่ซับซ้อนแตกต่างกันมากมาย เราสามารถจัดการกับเซลล์แก่ชราเพื่อกำจัดเซลล์ขยะทิ้ง ฉีดสเต็มเซลล์เพื่อเพิ่มเติม ขณะที่เราควบคุมเมทาบอลิซึมของร่างกายด้วยสิ่งที่กลายเป็น NAD+
ที่มา Kurzgesagt – In a Nutshell Youtube Channel