วิถีแห่งชาญี่ปุ่น
เห็นคนไทยกำลังคลั่งไคล้ชาเขียวกันมาก แต่เป็นชาเขียวประเภทบรรจุขวดหรือกระป๋องแบบพร้อมดื่ม คือยกขึ้นซดดับกระหายแถมเท่ห์อีกต่างหาก
แต่การดื่มชาในแบบฉบับของญี่ปุ่นนั้นเป็นเรื่องที่น่าศึกษามาก เพราะเป็นทั้งศิลปะและตั้งอยู่บนพื้นฐานของจิตวิญญาณของลัทธิเซ็นเพื่อฝึกจิตสู่ความสงบนิ่ง
ชาได้เริ่มแพร่หลายจากประเทศจีนเข้ามาสู่ญี่ปุ่นเมื่อราวศตวรรษที่ 8 ส่วนมัทชา(Matcha) หรือการดื่มชาผงสีเขียวเริ่มมานิยมเมื่อปลายศตวรรษที่ 12 โดยนิยมดื่มในวงสังคมชั้นสูงเมื่อมีการพบปะสังสรรค์กัน ดื่มชาไปแล้วคุยเรื่องความงานของภาพวาดท่ามกลางบรรยากาศของความเงียบสงบ
รูปแบบของพิธีชงชา หรือชาโนยุ ถือกำเนิดมาในศตวรรษที่ 16 โดยครูแห่งชาคือ เซ็น ริคิว (Sen Rikyu) รูปแบบของชาโนยุซึ่งปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบันได้มีการกำหนดขึ้นในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 16 ในระหว่างยุคโมโมยามะ (Momoyama period) โดยครูแห่งชา คือ เซ็น โนะ ริคิว (Sen no Rikyu)
ชาโนบุนั้นมิใช่เพียงการชงชาเพื่อดื่มเพื่อความเพลิดเพลินเท่านั้น แต่หมายถึงพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ภายใต้อิทธิพลของลัทธิเซ็นเพื่อ การชำระจิตให้บริสุทธิ์โดยการผสานเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ หัวใจแท้จริงของพิธีชงชาก็คือ "ความพอใจในความสันโดษอย่างเคร่งครัดและความสมถะ" ขณะที่ชงชาจะมีการเคลื่อนไหวที่เต็มไปด้วยสมาธิอ่อนช้อย
และเพื่อความเป็นสุนทรีย์วิถีแห่งชานั้นบรรยากาศในการชงชาจึงถูกจัดด้วยความงามของศิลปะแห่งธรรมชาติทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ในการชงชา เครื่องตกแต่งบริเวณพิธี เช่น ภาพแขวนหรือการจัดดอกไม้ สถาปัตยกรรมญี่ปุ่น การจัดสวน เครื่องปั้นดินเผาเซรามิค
ปัจจุบันพิธีชงชาแบบญี่ปุ่นยังใช้ในงานสำคัญต่าง ๆ อาทิ งานวันเกิด หรือการเปลี่ยนฤดูกาล เป็นต้น
ส่วนชาที่นำมาชงนั้นมีได้คัดสรรชาญี่ปุ่นชั้นดีต่าง ๆ สำหรับคอชา อาทิ เกนไมชา เป็นชาสีเขียวรสนุ่มละมุนชิ้น , เกียวคูโร เป็นใบชาลักษณะเรียวเล็กคล้ายเข็ม มีสีเขียวเข้ม รสชาตินุ่มหอม , เซนชะ หรือใบชาสีเขียวเข้ม รสชาติออกหวานให้ความรู้สึกสดชื่น , ทามาเรียวกุชา ที่ให้กลิ่นหอมนุ่ม และโอจิชา ได้จากใบเซนชะอบแห้งที่มีคาเฟอีนต่ำ
บทความแนะนำ