google.com, pub-6663105814926378, DIRECT, f08c47fec0942fa0 Mega topic | จัดอันดับ | 10 อันดับ| เรื่องผี| เรื่องสยองขวัญ| ที่สุดในโลก| ดูดวง| ประวัติศาสตร์

กลไกของการวิวัฒนาการ

การวิวัฒนาการคืออะไร การวิวัฒนาการคือการพัฒนาชีวิตในโลก ซึ่งเป็นกระบวนการที่เริ่มต้นเมื่อพันล้านปีก่อน และยังเกิดขึ้นอยู่ การวิวัฒนาการอธิบายได้ว่า ทำไมชีวิตในโลกจึงหลากหลายมาก มันอธิบายได้ว่า โปรโตซัว ง่ายๆ สามารถกลายเป็นสัตว์และพืชล้านๆ สปีชีสที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ การวิวัฒนาการเป็นข้อสงสัยที่เราอาจมีเมื่อเราเห็นสุนัขพันธุ์ Dachshund และ Great Dane อยู่พร้อมกัน ทำไมบรรพบุรุษของสายพันธุ์หนึ่งสามารถมีลูกหลานที่ดูต่างกับเขามาก ในการตอบปัญหานี้เราจะโฟกัสไปที่สัตว์ โดยไม่คำนึงถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่นต้นไม้และฟังไจ คำถามแรกที่เราควรตอบคือ สัตว์สายพันธ์หนึ่งสามารถพัฒนากลายเป็นอีก สปีชีส์ หนึ่งได้อย่างไร อ้า แต่สปีชีส์ มีความหมายว่าอะไร  สปีชีส์ หมายถึงประชาคมสัตว์ที่สามารถสืบพันธุ์กันได้ และลูกหลานของมันก็สามารถสืบพันธุ์กันได้ต่อๆ ไป เพื่อที่จะเข้าใจปัญหาให้ดีขึ้น เราจำเป็นต้องโฟกัสไปที่สิ่งเหล่านี้



ความเป็นสิ่งเดียวอันเดียว (uniqueness) ของสิ่งมีชีวิต ซึ่งเป็นผลจากการผลิตลูกจำนวนมากเกินความจำเป็นและการถ่ายทอดลักษณะ (heredity) และประเด็นที่ 2 คือ การเลือกสรร (selection) เรามาดูเรื่องความเป็นสิ่งเดียวอันเดียวก่อน สัตว์ทุกตัวมีความเป็นสิ่งเดียวอันเดียวอยู่เสมอ และสิ่งนี้จำเป็นสำหรับการวิวัฒนาการ สมาชิกในแต่ละสปีชีส์อาจมีคุณลักษณะคล้ายกันมาก  แต่ทุกตัวจะมีคุณสมบัติประจำตัวและคุณลักษณะที่แตกต่างกันบ้าง มันอาจใหญ่กว่า อ้วนกว่า แข็งแรงกว่า หรือกล้าหาญกว่า สัตว์พวกเดียวกัน เพราะเหตุใดถึงเกิดความแตกต่างเหล่านี้ ลองดูสัตว์ชนิดหนึ่ง สัตว์ทุกตัวประกอบด้วยเซลล์ เซลล์เหล่านี้มีนิวเคลียส ซึ่งในนิวเคลียสมีโครโมโซม และโครโมโซม มี ดีเอ็นเอ

ดีเอ็นเอ ประกอบด้วยยีนต่างๆ และยีนเหล่านี้เป็นตัวที่เก็บข้อมูลชีวิต มันเก็บคำสั่งสำหรับเซลล์ และเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติประจำตัวและคุณลักษณะของสิ่งมีชีวิตนั้น และเป็นเพราะดีเอ็นเอมีความเป็นได้อย่างเดียวสำหรับสัตว์ทุกตัว  มันแตกต่าง กันในสัตว์แต่ละตัว จึงทำให้มันมีคุณลักษณะต่างกันไปบ้าง แต่ดีเอ็นเอที่หลากหลายมหาศาลเกิดขึ้นได้อย่างไร ปัจจัยสำคัญอันหนึ่งคือ การผลิตลูกมากเกินความต้องการหรือจำเป็น ในธรรมชาติเราสังเกตว่าสัตว์จะออกลูกมากกว่าที่จำเป็น สำหรับให้สปีชีส์นั้นอยู่รอดได้ และลูกเหล่านี้จะตายเมื่ออายุเยาว์ไว หรือมีจำนวนมากกว่าที่สิ่งแวดล้มจะสนับสนุนได้ นี่เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดความแตกต่างในแต่ละสปีชีส์ ยิ่งมีลูกมากเท่าใด ยิ่งมีความแตกต่างมากเท่านั้น และนี่คือสิ่งที่ธรรมชาติต้องการ คือความแตกต่างเล็กๆ น้อยๆ มากๆ เท่าที่เป็นไปได้

สาเหตุที่ 2 ที่ทำให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวคือ heredity หรือการถ่ายทอดทางพันธุกรรมนั่นเอง การถ่ายทอดทางพันธุกรรมหมายถึงการถ่ายทอด ดีเอ็นเอ ให้กับลูก ปัจจัย 2 อย่างที่มาเกี่ยวข้องกับกระบวนการนี้คือ recombination and mutation (รีคอมบินเนชั่น และ การกลายพันธุ์) รีคอมบินเนชัน เป็นการผสมผสานอย่างสุ่มของดีเอ็นเอของสัตว์ 2 ตัว เมื่อสัตว์ 2 ตัวผสมพันธุ์กัน มันจะ รีคอมไบน (รวมตัวใหม่) ยีนของมัน 2 ครั้ง ครั้งแรกจะต่างคนต่างทำกันเมื่อมันผลิตเซลล์สืบพันธุ์ คือตัวอสุจิหรือไข่ เซลล์สืบพันธุ์จะได้รับยีนครึ่งหนึ่ง และสลับมัน (เหมือนสับไผ้) รีคอมบินเนชันครั้งที่ 2 จะเกิดเมื่อตัวผู้ผสมพันุ์กับตัวเมีย พ่อแม่จะให้ 50% ของดีเอ็นเอของตนแก่ลูก เรียกได้ว่า ให้ 50% ของคุณสมบัติประจำตัวและคุณลักษณะที่ไม่ซ้ำใครให้แก่ลูก ยีนเหล่านี้จะถูกผสมผสานและผลก็คือ ลูกใหม่ ลูกเหล่านี้จะมีดีเอ็นเอที่เป็นการผสมผสานอย่างสุ่ม  ซึ่งทำให้ความแตกต่างหลากหลายในแต่ละสปีชีส์ยิ่งเพิ่มมากขึ้น แต่การกลายพันธุ์ก็สำคัญไม่น้อยสำหรับการวิวัฒนาการ

การกลายพันธุ์ (mutation) คือการเปลี่ยนแปลงอย่างสุ่มในดีเอ็นเอ ซึ่งอาจเปรียบเหมือนการคอปปี้ ดีเอ็นเอ ผิด ซึ่งเกิดจากชีวพิศ หรือสารเคมีอื่น ๆ หรือโดยรังสี Mutation จะเกิดขึ้นเมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งของดีเอ็นเอถูกเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงนี้อาจมีผลเสียและทำให้ป่วยหรือเป็นโรคก็ได้เช่นมะเร็ง แต่มันอาจเป็นผลกลางหรือผลดีก็ได้ เช่นตาสีฟ้าในมนุษย์ เป็นต้น ซึ่งเป็น mutation สุ่มอย่างหนึ่ง ในทุกกรณี mutation ต้องมีผลต่อเซลล์สืบพันธุ์ นั่นคือ เซลล์สเปิร์มหรือไข่ เพราะดีเอ็นเอในเซลล์สืบพันธุ์เท่านั้นที่ถูกถ่ายทอดให้ลูก นี่คือสาเหตุที่เราต้องปกปิดอวัยะสืบพันธุ์เมื่อมีการฉายเอ็กซเรย์ ส่วนอื่นของร่างกายจะไม่รับการเสี่ยงภัยแต่อย่างใด

สรุป ในกระบวนการถ่ายทอด สัตว์จะถ่ายทอดคุณลักษณะให้ลูกในรูปแบบดีเอ็นเอ รีคอมบินเนชัน และการกลายพันธ์ทำการเปลี่ยนแปลงดีเอ็นเอ ทำให้ลูกๆ แต่ละตัวไม่เหมือนกัน และได้รับส่วนผสมอย่างสุ่มของคุณลักษณะของพ่อแม่ คำสำคัญที่นี่คือ สุ่ม กระบวนการทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับความบังเอิญ รีคอมบินเนชัน และการกลายพันธุ์แบบสุ่มทำให้เกิดปัจเจกที่มีคุณสมบัติประจำตัวและคุณลักษณะผสมผสานกันอย่างสุ่ม ซึ่งก็จะถูกผสมผสานอีกทีและถูกถ่ายทอดต่อไปอีก แต่เราจะลงเอยว่ามันขึ้นอยู่กับความอังเอิญได้อย่างไร เมื่อสัตว์ทั้งหลายดูเหมือนว่าปรับตัวเข้าสิ่งแวดล้อมได้อย่างดี  เช่น ตั๊กแตนกิ่งไม้ นกฮัมมิงเบิร์ด และปลากบ (frogfish) คำตอบอยู่ที่สองประเด็นที่กล่าวถึงแล้ว คือ การคัดเลือก (selection) สัตว์แต่ละตัวจะอยู่ภายใต้กระบวนการคัดเลือกตามธรรมชาติ ดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ละบุคคลจะผิดเพี้ยนจากบุคคลอื่นเล็กน้อย และในแต่ละสปีชีส์ก็มีความแตกต่างมากพอ อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมก็มีผลต่อสิ่งมีชีวิต ปัจจัยการคัดเลือกเหล่านี้ คือ ผู้ล่า ปรสิต สัตว์สปีชีส์เดียวกัน ชีวพิศ คุณลักษณะของถิ่นที่อยู่ที่เปลี่ยนไป และภูมิอากาศ

การคัดเลือกเป็นกฎเกณฑ์ที่สัตว์ทุกตัวต้องอยู่ภายใต้ สัตว์แต่ละตัวมีคุณสมบัติประจำตัวและคุณลักษณะต่างๆ ที่ไม่เหมือนใคร คุณสมบัติประจำตัวและคุณลักษณะนี้ทำให้มันสามารถเอาตัวรอดได้หรือไม่ได้ในสภาพแวดล้อมต่างๆ คุณสมบัติประจำตัวและคุณลักษณะนี้ทำให้มันสามารถเอาตัวรอดได้หรือไม่ได้ในสภาพแวดล้อมต่างๆ พวกที่มีคุณสมบัติเหมาะสมก็จะรอดได้และจะถ่ายทอดคุณสมบัติประจำตัวและคุณลักษณะที่เพิ่มสมรรถนะให้ลูก เพราะเหตุนี้ความหลากหลายจึงสำคัญมาก เพราะเหตุนี้สัตว์จึงพยายามมีลูกที่แตกต่างกันให้มากที่สุด มันเป็นการรับประกันว่าลูกอย่างน้อย 1 ตัวจะผ่านการคัดเลือกธรรมชาติ ทำให้โอกาสรอดได้สูงขึ้น

ตัวอย่างที่ดีคือ นกฟินช์ที่อยู่บนเกาะเล็กๆห่างชายฝั่งอเมริกาใต้  มันเป็นสัตว์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกวิทยาศาสตร์ นกนี้เรียกว่า Darwin’s finches (นกฟินช์ของดาร์วิน) เป็นการให้เกียรติผู้ที่ค้นพบ และนี่คือเรื่องของนกฟินช์พวกนี้ 2-3 ร้อยปีมาแล้ว นกฟินช์ฝูงเล็กๆ ถูกลพายุพัดออกทะเลไปตกที่เกาะกาลาพากอส กลางมหาสมุทรปาซิฟิก นกฟินช์พวกนี้พบสิ่งแวดล้อมใหม่ ที่เป็นสวรรค์ของฟินช์ คือมีอาหารมากมายและไม่มีผู้ล่ามัน มันจึงแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วและเป็นจำนวนมาก ในไม่ช้าเกาะก็เต็มไปด้วยนกฟินช์ ซึ่งหมายความว่า อาหารก็ร่อยหรอ สวรรค์ฟินช์ก็ถูกคุกคามโดยการอดตายและเพื่อนฟินช์ก็กลายเป็นฟินช์คู่แข่ง ตอนนี้ละที่การคัดเลือก (selection) จะมาเกี่ยวข้อง ความแตกต่างเล็กน้อย ในกรณีนี้คือจะงอย ที่แตกต่างกันเล็กน้อย  ทำให้นกเหล่านี้อยู่ได้โดยไม่ต้องแข่งขันกับฟินช์เพื่อนด้วยกัน จะงอยของฟินช์บางตัวจะเหมาะสมสำหรับการขุดหาไส้เดือน ตัวอื่นสามารถใช้จะงอยสำหรับการกะเทาะเปลือกเมล็ดต่างๆ นกฟินช์เหล่านี้จึงหาช่องทางในระบบนิเวศน์ให้กับตนเองได้ ในช่องทางนี้มันปลอดภัยจากการเข็งขันสูง มันเริ่มผสมพันธุ์กับฟินช์ที่ใช้ช่องทางระบบนิเวศน์เดียวกันเท่านั้น ในหลายชั่วอายุของมัน คุณลักษณะพิเศษของมันก็จะเพิ่มสมรรถนะเรื่อยๆ  ซึ่งทำให้นกฟินช์สามารถทำประโยชน์กับช่องทางของมันได้อย่างสำเร็จ ความแตกต่างระหว่างนกที่กินหนอนกับนกที่กินเมล็ดยิ่งห่างเหิน จนมันไม่สามารถผสมพันธุ์กันได้ จึงเกิดสปีชีส์ใหม่ ทุกวันนี้มีนกฟินช์14สปีชีส์บนเกาะกาลาพากอส  ซึ่งทั้งหมดสืบเชื้อสายจากนกฝูงเดิมที่ถูกพัดพาไปที่เกาะ ทั้งหมดนี้คือ วิธีที่เกิดสปีชีส์ใหม่โดยการวิวัฒนาการ ซึ่งอาศัยความแตกต่างของแต่ละบุคคล และการออกลูกหลานจำนวนมากเกินความจำเป็น รีคอมบินเนชันและการกลายพันธุ์ ในการถ่ายทอดพันธุกรรม และในการคัดเลือก โดยธรรมชาติ



ทำไมเรื่องนี้จึงสำคัญ เพราะมันอธิบายว่าความหลากหลายของชีวิตเกิดขึ้นได้อย่างไร และทำไมสิ่งมีชีวิตจึงเหมาะกับสภาพแวดล้อมของมัน แต่มันมีผลต่อเราส่วนตัวด้วย เราทุกคนเป็นผลของการวิวัฒนาการ 3.5 พันล้านปี ซึ่งรวมถึงคุณด้วย บรรพบุรุษของคุณได้ต่อสู้และปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดมาได้ ซึ่งความอยู่รอดนี้เป็นเรื่องที่ไม่แน่นอนมาก อย่าลืมว่า 99% ของทุกสปีชีส์ที่เคยมีมาในโลกสูญพันธุหมดไปแล้ว คุณก็อาจนับได้ว่าเป็น เรื่องที่สำเร็จก็ได้ พวกไดโนเสาร์ได้สูญพันธุ์หมดไปแล้ว แต่คุณยังมีชีวิตอยู่ เพราะคุณเป็นสิ่งพิเศษมาก เช่นเดียวกับสัตว์อื่นที่มีชีวิตอยู่ในวันนี้ ไม่สามารถมีอะไรมาแทนได้และไม่เหมือนสิ่งใดอื่นในเอกภพ

ที่มา Kurzgesagt – In a Nutshell Youtube Channel

สัตว์มีพิษ ไวรัสอีโบลา เอเลี่ยนสปีชี่ส์
กำเนิดจักรวาล กำเนิดดวงอาทิตย์ ระบบสุริยะจักรวาล
ปริศนาของจักรวาล การเดินทางข้ามกาลเวลา สสารและปฏิสสาร
สิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร บิ๊กแบงคืออะไร สัตว์ใกล้สูญพันธุ์
สัตว์น้ำแปลก ปลาแองเกลอร์ สัตว์ดูดเลือด
อันดับงูสวยงาม อนาคอนด้า ตัวอ่อนปลาฉลาม
เห็ดมีพิษ ภัยของยาไอซ์ คลื่นยักษ์สึนามิ
กัญชาปลอดภัย ไวรัสอีโบลา ปรสิตที่น่ากลัว
สาเหตุสึนามิ ทำไมผมร่วง สงครามซีเรีย
ทำลายหลุมดำ โลกของเรา กระแสน้ำทะเล
วิธีทำลายเอกภพ กลไกวิวัฒนาการ ระบบภูมิคุ้มกัน
กษัตริย์เกาหลี จักรพรรดิกวางสี จักรพรรดิปูยี
ตำนานอโดนิส โจนออฟอาร์ค มู่กุ้ยอิง
จักรพรรดิเนโร พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 อับราฮัม ลินคอล์น
พระเจ้าซุกจง มาตาฮารี เจ้าฟ้าหญิงบุญรอด
ตำนานธอร์ นิกิต้า ครุสชอฟ สงครามเกาหลี
กำแพงเมืองจีน อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ พระนางเลือดขาว
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ สตีเฟน ฮอว์คิง ลีโอ ตอลสตอย
สตีฟ จ็อบส์ เจ้าพระยาวิชเยนทร์ พระนางมัสสุหรี

วิทยาศาสตร์ของการชะลอวัย ต้านความชรา

สุขภาพคือสิ่งที่มีค่าที่สุดของเรา แต่เรามักจะมองข้ามมันจนกระทั่งเราเสียมันไป เรามีชีวิตยืนยาวกว่าเมื่อก่อน ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่มีผลตามมาซึ่งเราไม่อาจเห็น นั่นก็คือเราได้ใช้ช่วงชีวิตกับการป่วยมากขึ้นและมากขึ้น มีอายุมากหมายถึงการได้ใช้ชีวิตกับความเจ็บป่วยนานขึ้น  ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงได้เปลี่ยนจุดมุ่งหมายจากการขยายช่วงชีวิตเป็นการขยายช่วงสุขภาพ นั่นก็คือช่วงชีวิตที่เราสุขภาพดีไม่มีโรคภัย เพื่อการนี้ เราต้องจัดการไปที่จุดกำเนิดของการเสื่อมสภาพของร่างกายเกือบทั้งหมด การแก่ชรานั่นเอง โดยที่คนส่วนใหญ่ไม่ทราบ วิทยาการเกี่ยวกับการแก่ชรานั้นได้ก้าวหน้าไปอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยที่การทดลองกับมนุษย์จะเริ่มขึ้นภายอนาคตอันใกล้นี้ เรามาดูตัวอย่างสามประการที่อาจจะเอื้อประโยชน์แก่ผู้คนที่กำลังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน



1.เซลล์แก่ชรา
เซลล์ของคุณมีวันหมดอายุเช่นกัน ทุกๆ ครั้งที่เซลล์แบ่งตัว มันคัดลอกโครโมโซมของตัวมันเอง เพราะกระบวนการนี้ เซลล์จึงสูญเสียดีเอ็นเอเล็กน้อยที่ปลายสาย นี่อาจจะเป็นหายนะครั้งใหญ่ ดังนั้นเพื่อป้องกันตัวพวกมันเอง ร่างกายพวกเราจึงมีดีเอ็นเอสายยาวเรียกว่า เทโลเมียร์ มันคล้ายกับปลายเชือกรองเท้า แต่มันหดตัวลงทุกครั้งที่เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ ในบางเซลล์ หลังจากการแบ่งตัว เทโลเมียร์ได้หมดไป ทำให้เซลล์กลายเป็นเซลล์ซอมบี้ หรือเซลล์แก่ชรา เซลล์แก่ชราจะยังคงอยู่ และจะไม่ตาย เมื่อคุณแก่ตัว เซลล์พวกนี้ก็จะมีมากขึ้น พวกมันสร้างความเสียหายให้กับเนื้อเยื่อโดยรอบ และทำให้เกิดโรคต่างๆ ที่มากับความชรา เช่น เบาหวานและไตวาย แต่จะเป็นอย่างไร ถ้าคุณกำจัดพวกมันออกไปได้? นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการดัดแปลงพันธุกรรมหนู ซึ่งจะทำให้พวกมันสามารถกำจัดเซลล์แก่ชราได้ หนูอายุมากที่ไม่มีเซลล์แก่ชราแข็งแรงขึ้น หัวใจและไตของพวกมันทำงานได้ดีขึ้น และมีแนวโน้มต่ำลงที่จะเป็นมะเร็ง

โดยรวมแล้ว หนูพวกนี้จะมีอายุยืนและสุขภาพดียาวนานกว่าหนูทั่วๆ ไปถึงร้อยละ 30 แต่เนื่องจากเราไม่สามารถดัดแปลงพันธุกรรมในทุกๆ เซลล์ของมนุษย์ได้ เราจึงต้องหาวิธีอื่นที่จะกำจัดเซลล์แก่ชราลง แต่เราจะทำอย่างไรล่ะเพื่อไม่ให้มันไปทำลายเซลล์ที่ยังสุขภาพดีอยู่? เซลล์ส่วนใหญ่ในร่่างกายได้ฆ่าตัวมันเองหลังจากได้รับความเสียหาย แต่เซลล์แก่ชราไม่เป็นเช่นนั้น ปรากฏว่าพวกมันไม่ได้ผลิตโปรตีนที่บอกพวกมันว่าถึงเวลาตายแล้วมากพอ ดังนั้นในช่วงปลายปี 2016 หนูทดลองได้รับการฉีดโปรตีนประเภทนี้ มันฆ่าเซลล์แก่ชราไปถึง 80% จากทั้งหมดโดยไม่ส่งผลกระทบต่อเซลล์ที่ยังสุขภาพดี หนูทดลองที่ได้รับการฉีดโปรตีนนั้น โดยรวมแล้วสุขภาพดีขึ้น และบางตัวยังงอกขนที่เคยสูญเสียไป จากผลการทดลอง ทำให้มีบางบริษัทสนใจในการรักษาเกี่ยวกับเซลล์แก่ชรา และการทดลองกับมนุษย์ จะเริ่มขึ้นในไม่ช้านี้

2. NAD+
เซลล์ประกอบด้วยนับร้อยล้านชิ้นส่วน พวกมันเป็นโครงสร้าง กลไก สื่อสัญญาณ และตัวเร่งที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาเหล่านี้ขึ้น ชิ้นส่วนเหล่านี้ต้องถูกทำลาย เก็บกวาด และสร้างใหม่ตลอดเวลา เมื่อพวกเราแก่ตัว กระบวนการเหล่านี้มีประสิทธิภาพต่ำลง ทำให้ชิ้นส่วนที่พังเกาะตัวเป็นก้อน หรือถูกกำจัดช้าลง หรือถูกผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของเรา หนึ่งในชิ้นส่วนนี้คือ NAD+ เป็นโคเอนไซม์ที่บอกให้เซลล์เราให้ดูแลตัวเอง เมื่อเราอายุ 50 ปี เราจะมี NAD+ จำนวนครึ่งหนึ่งของตอนที่เราอายุ 20 ปี ปริมาณที่ลดลงของมันเชื่อมโยงหลายๆ โรค ได้แก่ มะเร็งผิวหนัง อัลไซเมอร์ โรคหัวใจ และปลายประสาทเสื่อม NAD+ ไม่สามารถซึมเข้าเซลล์ได้ เราจึงไม่สามารถบริโภคมันเป็นยา

แต่นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบสารประกอบที่สามารถซึมเข้าเซลล์และจะเปลี่ยนเป็น NAD+ ในภายหลังได้ ในปี 2016 การทดลองกับหนูทดลองหลายครั้ง แสดงให้เห็นว่าการทดลองได้เร่งการแบ่งตัวของผิวหนัง เซลล์สมอง และสเต็มเซลล์ หนูกระปรี้กระเปร่าขึ้น สามารถซ่อมแซมดีเอ็นเอมากขึ้น และมีช่วงชีวิตที่ยาวนานขึ้นเล็กน้อย แม้แต่ NASA ยังให้ความสนใจการทดลองนี้ เพราะ NASA กำลังหาทางที่จะลดความเสียหายของดีเอ็นเอนักบินอวกาศ จากการับรังสีคอสมิกในภารกิจเดินทางไปดาวอังคาร ในปัจจุบัน เริ่มวางแผนจะนำไปใช้ทดลองกับมนุษย์ แต่มันยังเร็วเกินไปที่จะพูดว่า วิธีนี้จะขยายช่วงสุขภาพดี หรือ ช่วงชีวิตของเรา แต่ NAD+ เป็นตัวเต็งที่อาจมาเป็นยาต้านการแก่ชราของมนุษย์ตัวแรก



3.เซลล์ต้นกำเนิด (stem cell)
สเต็มเซลล์เป็นเหมือนกับพิมพ์เขียวของเซลล์ที่มีอยู่ในหลายๆ ส่วนในร่างกาย และคัดลอกตัวมันเองเพื่อที่จะผลิตเซลล์ใหม่ๆ แต่มันก็เสื่อมสภาพไปตามที่เราแก่ตัวลงเช่นกัน เมื่อไม่มีชิ้นส่วนใหม่ ร่างกายมนุษย์ก็ได้พังลง ในหนูทดลอง นักวิทยาศาสตร์ได้สังเกตว่า เมื่อสเต็มเซลล์ในสมองของหนูได้หายไป พวกมันจะเริ่มมีโรคตามมา นักวิทยาศาสตร์จึงได้นำสเต็มเซลล์จากหนูที่อายุน้อยไปฉีดใส่สมองของหนูที่อายุมากกว่า โดยเฉพาะที่ไฮโพทาลามัส ที่ควบคุมการทำงานส่วนใหญ่ของร่างกาย สเต็มเซลล์ได้ทำการฟื้นฟูเซลล์สมองอายุมากโดยหลั่ง RNA หลายชนิดที่ควบคุมขบวนการเมทาบอลิซึมให้กลับมาปกติ หลังจาก 4 เดือน สมองและกล้ามเนื้อของหนูทดลองทำงานได้ดีกว่า หนูพวกที่ไม่ได้รับการฉีดสเต็มเซลล์ และโดยเฉลี่ย หนูพวกนี้มีอายุยาวขึ้นถึงร้อยละ 10 อีกการศึกษาหนึ่งได้นำสเต็มเซลล์จากเอ็มบริโอของหนู และฉีดใส่หัวใจของหนูที่อายุมากกว่า ผลก็คือหัวใจของมันมีประสิทธิภาพดีขึ้น ออกกำลังกายได้นานขึ้นร้อยละ 20 และที่ประหลาดใจคือขนของมันงอกเร็วขึ้น

บทสรุป
สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากสิ่งเหล่านี้คือ ไม่มียาวิเศษใดๆ ที่สามารถหยุดการแก่ชราลงได้ มันต้องการการรักษาที่ซับซ้อนแตกต่างกันมากมาย เราสามารถจัดการกับเซลล์แก่ชราเพื่อกำจัดเซลล์ขยะทิ้ง ฉีดสเต็มเซลล์เพื่อเพิ่มเติม ขณะที่เราควบคุมเมทาบอลิซึมของร่างกายด้วยสิ่งที่กลายเป็น NAD+
ที่มา Kurzgesagt – In a Nutshell Youtube Channel

สัตว์มีพิษ ไวรัสอีโบลา เอเลี่ยนสปีชี่ส์
กำเนิดจักรวาล กำเนิดดวงอาทิตย์ ระบบสุริยะจักรวาล
ปริศนาของจักรวาล การเดินทางข้ามกาลเวลา สสารและปฏิสสาร
สิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร บิ๊กแบงคืออะไร สัตว์ใกล้สูญพันธุ์
สัตว์น้ำแปลก ปลาแองเกลอร์ สัตว์ดูดเลือด
อันดับงูสวยงาม อนาคอนด้า ตัวอ่อนปลาฉลาม
เห็ดมีพิษ ภัยของยาไอซ์ คลื่นยักษ์สึนามิ
กัญชาปลอดภัย ไวรัสอีโบลา ปรสิตที่น่ากลัว
สาเหตุสึนามิ ทำไมผมร่วง สงครามซีเรีย
ทำลายหลุมดำ โลกของเรา กระแสน้ำทะเล
วิธีทำลายเอกภพ กลไกวิวัฒนาการ ระบบภูมิคุ้มกัน
กษัตริย์เกาหลี จักรพรรดิกวางสี จักรพรรดิปูยี
ตำนานอโดนิส โจนออฟอาร์ค มู่กุ้ยอิง
จักรพรรดิเนโร พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 อับราฮัม ลินคอล์น
พระเจ้าซุกจง มาตาฮารี เจ้าฟ้าหญิงบุญรอด
ตำนานธอร์ นิกิต้า ครุสชอฟ สงครามเกาหลี
กำแพงเมืองจีน อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ พระนางเลือดขาว
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ สตีเฟน ฮอว์คิง ลีโอ ตอลสตอย
สตีฟ จ็อบส์ เจ้าพระยาวิชเยนทร์ พระนางมัสสุหรี

กัญชาปลอดภัยจริงหรือ

ทั่วโลก กัญชาผิดกฎหมายน้อยลง กระทั่งทำให้ถูกกฎหมาย แต่มันเป็นความคิดที่ดีแล้วจริงหรือ? การถกเถียงในโลกออนไลน์ ส่วนมากด้านแย่ๆ มักจะถูกกล่าวถึง มาดู 3 เหตุผลใหญ่ๆ ที่ต่อต้านการทำกัญชาให้ถูกกฎหมายกัน

ข้อโต้แย้งที่ 1
ในช่วงไม่กี่สิบปีก่อน กัญชาได้ถูกปรับปรุงให้มีฤทธิ์แรงมากขึ้น กัญชาในปัจจุบันจึงออกฤทธิ์ได้แรงมาก แรงขนาดทำให้ก่อภาวะทางจิตได้เลย ส่วนประกอบหลักของกัญชาคือ สาร THC และก็มีหลักฐานหนักแน่นว่า สารนี้ก่อให้เกิดโรคทางจิตได้ แม้จะไม่นับอาการเสี่ยงอื่นๆ กัญชายังมีสารประกอบอีกตัวที่เรียกว่า CBD ซึ่งดูเหมือนจะมีผลต้านกันกับ THC กระทั่งมีการทดสอบโดยการรักษา โรคจิต และผู้มีอาการซึมเศร้า แต่เพราะสารตัวนี้แหละ ที่ไม่ทำให้คุณเมายา ในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา ผู้ผลิตจึงลดปริมาณ CBD ลง ในขณะที่เพิ่มปริมาณ THC ปริมาณ THC ในตัวอย่างที่ถูกทดสอบ ถูกเพิ่มขึ้นจากราว 4% ในช่วงปี 90 เป็นราว 12% ในปี 2014 เปลื่ยนอัตราส่วน THC ต่อ CBD จาก 1 ต่อ 14 ในปี 1995 ไปเป็น 1 ต่อ 80 ในปี 2014 แต่ก็ไม่รู้ว่าผลการทดสอบเหล่านั้นแม่นยำขนาดไหน

โดยรวมกล่าวได้ว่า ยิ่งคุณเสพกัญชามากเท่าไร มันก็ยิ่งเมายาแรงมากขึ้นไปอีก และมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะมีอาการทางจิต แต่ ความเสี่ยงที่จะมีอาการทางจิตของประชากรทั่วไปมันมากแค่ไหนล่ะ? ในประเทศอังกฤษมีการศึกษาว่า ที่ระหว่างปี 1996 จนถึง 2005 ที่ การเสพกัญชามีมากขึ้น ในขณะที่จำนวนของผู้ป่วยจิตเภท ยังมีจำนวนเท่าๆเดิม ความเสี่ยงของกัญชาที่จะก่อภาวะทางจิตมีผลสูงสุดต่อคนที่มีภาวะทางจิตอยู่แล้ว สำหรับผู้ป่วยแล้ว จากที่เรารู้ กัญชาดูเหมือนจะเร่งอาการต่างๆ ให้เร็วขึ้น มากกว่าที่จะก่อให้เกิดโรค ฉะนั้นเหตุผลตกไปที่ ถ้าผู้คนเข้าถึงกัญชาได้น้อย โอกาสที่กัญชาจะก่อให้เกิดอาการทางจิตก็จะยิ่งน้อยลงไปด้วย

แต่จริงๆแล้ว สามารถโต้แย้งได้ว่า จริงๆแล้ว เพราะกัญชาผิดกฎหมาย คนยิ่งป่วยเป็นจิตเภทมากขึ้น การที่มันผิดกฎหมายนี่แหละที่ทำให้ยาเสพติดต่างๆ เข้มขึ้น รุนแรงขึ้น เพราะว่าผู้ค้ามีพื้นที่ขายน้อย แต่จำนวนของสินค้ามีมาก จีงเน้นขายทีละเยอะๆ เพื่อทำกำไร นี่เป็นสิ่งที่เคยเกิดขึ้นแล้ว  ระหว่างการจำกัดแอลกอฮอล์ในสหรัฐ โดยมีแค่เหล้าเท่านั้นที่ขายได้ กัญชาก็เหมือนกัน ลองนึกดูว่า มีแต่เหล้าเท่านั้นที่สามารถหาซื้อได้ ดังนั้นคุณมีทางเลือกแค่ จะเมาหัวทิ่มหรือจะไม่ดื่มเลย นี่เป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับกัญชาในปัจจุบัน ประชาชนก็ไม่ได้หยุดดื่มกันแม้จะมีการจำกัด และจำนวนของผู้เสพกัญชาก็ไม่ได้ลดลงตามที่กฎหมายห้าม คือเราไม่สามารถทำให้กัญชาหมดไปได้ แต่เราสามารถทำให้มันปลอดภัยขึ้นได้ ถ้ากัญชาถูกกฎหมาย มันก็จะเป็นตัวเลือกให้ผู้ซื้อและหน่วยงานรัฐสามารถกำกับปริมาณสาร CBD ให้เยอะได้ คล้ายกับที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยดื่มเหล้าทั้งกลมหลังเลิกงานกัน ดังนั้นคนจะสามารถเสพกัญชาที่ไม่แรงมากได้ เหมือนกับดื่มเบียร์หลังเลิกงาน



ข้อโต้แย้งที่สอง : กัญชาเป็นทางผ่านไปสู่สารเสพติดอื่นๆ
"ถ้ากัญชาถูกกฎหมาย ปริมาณการให้สารเสพติดที่อันตรายอื่นๆ จะสูงขึ้นฉับพลัน" ในปี 2015 มีศึกษาพบว่า 45% ของคนที่เสพกัญชา จะหันไปเสพสารอื่นในจุดใดจุดหนึ่ง การทำกัญชาให้ถูกกฎหมายอาจจะทำให้เกิดสถานการณ์แบบนี้ ยิ่งวัยรุ่นสามารถเสพกัญชาได้ถูกกฎหมาย พวกเขาอาจจะหันไปเสพอย่างอื่นที่รุนแรงกว่าเดิม แต่จริงๆ แล้วทางผ่านสำหรับยาเสพติดต่างๆ มีมาก่อนแล้ว นั่นคือบุหรี่ มีงานวิชาการชิ้นหนึ่งกล่าวว่า วัยรุ่นคนที่เริ่มสูบบุหรี่ตั้งแต่ก่อนอายุ 15 กว่า 80% เลยที่จะไปใช้ยาเสพติดผิดกฎหมายภายหลัง และในปี 2007 พบว่า วัยรุ่นที่สูบบุหรี่ในช่วงอายุ 12 จนถึง 17 มีแนวโน้ม 3 เท่าที่จะกลายเป็นนักดื่มตัวยง อีก 7 เท่าที่จะกลายเป็นผู้เสพสารอย่างเฮโรอีน หรือ โคเคน และมีแนวโน้มอีก 7 เท่าที่จะหันไปเสพกัญชาเช่นกัน

ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ การทำให้สารเสพติดถูกกฎหมายมากขึ้น จะหยุดให้คนเสพสารที่รุนแรงได้อย่างไร? อย่างแรก ต้องรู้ก่อนว่า คนที่เสพ ไม่ได้เสพเพราะว่ามันถูกหรือผิดกฎหมาย ถ้าเกิดอยากจะซื้อยาเสพติดต่างๆ ก็จะมีคนที่ยินดีขายอยู่ดี คำถามจริงๆคือ ทำไมคนจึงอยากเสพยากันนัก? จากการศึกษาพบว่ามีเงื่อนไขตายตัวเลย ที่จะทำให้คนเสพติดยาเสพติด วัยเด็กแย่ๆ การโดนทำร้ายร่างกาย ฐานะยากจน ภาวะซึมเศร้า หรือ แม้แต่พันธุกรรม โดยพวกเขาจะติดสารอะไร ก็ขึ้นอยู่กับโอกาส คนที่ติดยาใช้สารเพื่อหนีปัญหาต่างๆ แต่ตัวยาไม่ได้แก้ปัญหาอะไรเลย และก่อปัญหาใหม่ขึ้นมาด้วย แต่การทอดทิ้งคนเหล่านี้ ก็ไม่ได้เปลื่ยนอะไรเหมือนกัน ดังนั้นบางคนจึงแย้งว่าบางทีเราควรใช้วิธีที่ต่างจากเดิม

ในปี 2001 โปรตุเกส คือประเทศที่มีปัญหายาเสพติดเลวร้ายที่สุดในยุโรป ดังนั้นการใช้ความรุนแรงดูเหมือนจะไม่มีหวังเท่าไร ผู้ครอบครองยาหรือผู้เสพยาผิดกฎหมายต่างๆ ถูกลดทอนโทษลง พวกเขาไม่ถูกจับอีกต่อไป กลับกัน รัฐบาลจัดตั้งแคมเปญบำบัดขึ้นมาแทน คนที่เสพในปริมาณน้อย ได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานบำบัด การในลดและเลิกยา การเสพยาถูกมองใหม่ เป็นแค่โรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ไม่ใช่อาชญากรรม ผลออกมาผิดคาด จำนวนคนลองเสพและยังเสพยาต่อเนื่องลดลง จาก 44% มาที่ 28% ในปี 2012 ยาเสพติดแรงๆ ถูกใช้ลดลง เช่นเดียวกับจำนวนผู้ติดเชื้อ HIV, ตับอักเสบ  และคนที่ใช้ยาเกินขนาด การทำให้ยาเสพติดถูกกฎหมายอาจจะช่วยสังคม มากกว่าทำลาย ในภาพรวม



ข้อโต้แย้งที่ 3 "กัญชาเสพติดได้ง่ายและเป็นอันตราย"
ดังนั้นมันยังคงต้องผิดกฎหมายต่อไป เพื่อจำกัดความเสียหายต่อสังคมให้น้อยสุด ในขณะที่ การเสพติดกัญชามีผลในเรื่องจิตใจมากกว่าร่างกาย นี่แหละที่เป็นปัญหาจริงๆ ผู้ที่เสพติดกัญชาและต้องการบำบัด มีจำนวนเป็นสองเท่า เพียงในช่วงสิบปีที่ผ่านมา รวมแล้ว ประมาณ 10% ของคนที่ลองเสพกัญชา จะกลายเป็นคนที่เสพติด จำนวนนี้เกี่ยวข้องกับปริมาณที่สูงของ THC งานวิจัยที่ตีพิมพ์ออกมาในปี 2017 สำรวจฤทธิ์เข้มข้นของกัญชา ที่ขายในร้านกาแฟประเทศเนเธอร์แลนด์  (ในเนเธอร์แลนด์กัญชาสามารถขายได้ในร้านกาแฟบางแห่ง) เป็นระยะเวลามากกว่า 16 ปี ในทุกๆ 1% ของปริมาณสาร THC ที่เพิ่มขึ้น มีเพิ่มขึ้นอีก 60 คนที่เข้ารับการบำบัดจากทั่วประเทศ ในเรื่องของผลเสียต่อสุขภาพ

งานวิชัยบางชิ้นขี้ว่า กัญชามีผลในเรื่องความดันและโรคปอด ในขณะที่ปี 2016 ศึกษาพบว่า การใช้กัญชาไม่ได้มีผลอะไรกับสุขภาพ ยกเว้นแค่โรคเหงือก งานวิจัยบางชิ้นบ่งชี้ว่า กัญชามีผลต่อสมองของวัยรุ่น ซึ่งมีผลลดสติปัญญาของพวกเขา แต่เมื่อศึกษาเพิ่มเติมอีก พบว่า มันมีผลเล็กน้อย เมื่อคิดรวมการดื่มเหล้าและสูบบุหรี่เข้าไปด้วย ผลมันยังสรุปไม่ได้นั่นเอง โดยรวม การวิจัยค้นพบว่า การเสพยาเสพติดมีผลเสีย ในช่วงที่สมองกำลังพัฒนา แต่ความจริงคือ เราก็ไม่รู้เหมือนกันว่า กัญชา มีผลเสียต่อสุขภาพขนาดไหน เราต้องการทุนสำหรับการวิจัยเรื่องนี้อีก ซึ่งคงเป็นไปได้ยาก ถ้ากัญชายังผิดกฎหมายอยู่ แต่เราสามารถมองสิ่งที่เรารู้อยู่แล้วได้ 16% ของคนที่ดื่มแอลกอฮอล์กลายเป็นคนติดแอลกอฮอล์ และ 32% ของคนที่ลองสูบบุหรี่กลายเป็นคนติดบุหรี่ เรารู้แหละว่า แอลกอฮอล์มีผลต่อสมอง ทำลายตับและก่อมะเร็ง ในขณะที่บุหรี่ ทำให้หลอดเลือดอุดตัน ทำลายปอดและก่อมะเร็ง

ทุกปี มีผู้เสียชีวิต 3.3 ล้านรายจากแอลกอฮอล์ ในขณะที่ บุหรี่ฆ่าคนไปมากกว่า 6 ล้านรายต่อปี ไม่มีใครบอกว่า บุหรี่ และ เหล้า ปลอดภัยเพราะมันถูกกฎหมาย แต่ก็ด้วยที่ ไม่มีใครต่อต้านมัน ถึงมันจะอันตรายมากๆ การทำให้ถูกกฎหมายเป็นวิธีที่จะควบคุมพวกมัน โดยเฉพาะเด็กที่เราต้องป้องกันจากสิ่งเหล่านี้ มันยากกว่ามากที่เด็กจะซื้อยาเสพติดถูกกฎหมาย คนขายจะถูกปรับหนัก และสูญเสียใบอนุญาตถ้าเกิดพวกเขาขายให้เด็กที่อายุไม่ถึง การทำให้ถูกกฎหมายจะทำให้ผู้ขาย ไม่สามารถเอาเปรียบผู้ซื้อได้ แล้วก็การทำให้กัญชาถูกกฎหมายไม่ได้หมายความว่า เรารับรองมัน มันหมายความว่าเรากำลังรับผิดชอบ ความเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นต่างหาก แล้วก็มันจะเป็นการเปิดประตู ให้กับงานวิจัยใหม่ๆ อีกมากมาย ที่จะบอกเราว่าจริงๆ แล้วมันอันตรายจริงหรือ และมันอันตรายต่อใคร

สรุปคือ กัญชาคือยาเสพติด เหมือนกับยาเสพติดอื่นๆ ที่มีผลเสียเช่นเดียวกัน สำหรับคนที่เสพมัน มันไม่ได้ไร้โทษ วิธีที่ดีที่สุดที่จะปกป้องสังคมจากผลเสียของมัน ดูเหมือนจะเป็นการทำให้มันถูกกฎหมายและควบคุมมัน

ที่มา Kurzgesagt – In a Nutshell Youtube Channel

ระบบสุริยะจักรวาล บ้านอันกว้างใหญ่ของเรา

ที่นี่คือระบบสุริยะจักรวาล ซึ่งก็คือบ้านของเราในจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาล เราอาศัยอยู่ในส่วนที่แสนสงบสุขส่วนใดส่วนหนึ่งของทางช้างเผือก บ้านของเราคือระบบสุริยะนั่นเอง การก่อตัวราว 4.5 พันล้านปีที่แล้ว หมุนรอบศูนย์กลางกาแล็คซี่ที่ 200,000 กิโลเมตร / ชั่วโมงและหมุนครบรอบทุกๆ 250 ล้านปี ดาวของเราดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ มีดาวเคราะห์แปดดวงโคจรรอบ อุกาบาตและดาวหางอีกล้านล้านดวง และมีดาวเคราะห์แคระอีกนิดหน่อย

ดาวเคราะห์แปดดวง แบ่งออกเป็นสี่ดวง ที่เหมือนโลกของเรา ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร  และดาวก๊าซยักษ์สี่ดวง: ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ดาวพุธเป็นที่เล็กที่สุดและที่เบาที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหมด หนึ่งปีที่ดาวพุธสั้นกว่าวันหนึ่งที่ดาวพุธ ซึ่งนำไปสู่อุณหภูมิที่มีความผันผวนอย่างมาก ดาวพุธไม่มีชั้นบรรยากาศหรือดวงจันทร์ ดาวศุกร์เป็นหนึ่งในวัตถุที่สว่างที่สุดในระบบสุริยะ เป็นดาวเคราะห์ที่ร้อนที่สุด มีความดันในชั้นบรรยากาศที่ 92 เท่าของบนโลก มีภาวะเรือนกระจกที่สุดโต่ง นั่นหมายความว่าดาวศุกร์ ไม่เคยมีอุณหภูมิต่ำกว่า 437 °C เลย ดาวศุกร์ก็ไม่ได้มีดวงจันทร์เช่นกัน



โลกเป็นบ้านของเราและเป็นดาวเดียวที่มีอุณหภูมิที่อยู่ในระดับพอเหมาะ ทำให้เกิดน้ำที่มีสถานะเป็นของเหลว นอกจากนี้ก็ยังเป็นสถานที่เดียวในขณะนี้ ที่รู้ว่ามีสิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ โลกมีดวงจันทร์หนึ่งดวง

ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กเป็นอันดับสอง ในระบบสุริยะ และแทบจะมีมวลไม่มากพอจึงทำให้ เกิดชั้นบรรยากาศที่เบาบาง โอลิมปัสมอนส์เป็นภูเขาที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ สูงมากกว่าสามเท่าของยอดเขาเอเวอร์เรส ดาวอังคารมีดวงจันทร์ขนาดเล็กสองดวง ดาวพฤหัสบดีมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีมวลมากที่สุด ในบรรดาดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ มันประกอบด้วยไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นส่วนใหญ่ และเป็นสถานที่ที่พบพายุใหญ่ที่สุดและรุนแรงมากที่สุดเท่าที่เรารู้จัก พายุที่ใหญ่ที่สุดคือจุดแดงใหญ่, มีขนาดเป็นสามเท่าของโลก

ดาวพฤหัสบดีมีดวงจันทร์หกสิบเจ็ดดวง ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองและมีความหนาแน่นที่น้อยที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหมด เปรียบเทียบได้ว่าหากคุณมีอ่างอาบน้ำขนาดใหญ่ ดาวเสาร์จะลอยอยู่ในนั้น ดาวเสาร์เป็นที่รู้จักกันดีสำหรับวงแหวนที่มองเห็นได้ชัดของมัน มันมีดวงจันทร์หกสิบสองดวง

ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นอันดับสาม และเป็นหนึ่งในที่หนาวเย็นมากที่สุด และก็ยังเล็กที่สุด ในบรรดาดาวก็าซยักษ์ สิ่งที่พิเศษเกี่ยวกับดาวยูเรนัสก็คือว่า แกนของการหมุนเอียงไปด้านข้างในทางตรงกันข้ามกับดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ทั้งเจ็ดดวง มันมีดวงจันทร์ยี่สิบเจ็ดดวง

ดาวเนปจูนเป็นดาวเคราะห์ที่สุดท้ายในระบบสุริยะและมีความคล้ายคลึงกับดาวยูเรนัส มันไกลจากดวงอาทิตย์มากจน หนึ่งปีที่ดาวเนปจูนเป็น 164 ปีของโลก ความเร็วลมสูงสุดที่เคยวัดได้ในพายุบนดาวเนปจูน, ก็เพียงเกือบๆ 2,100 กิโลเมตร / ชั่วโมง ดาวเนปจูนมีดวงจันทร์สิบสี่ดวง ถ้าเราเปรียบเทียบขนาดของดาวเคราะห์ ความแตกต่างระหว่างพวกมัน จะเป็นที่ชัดเจนมากขึ้น

ดาวพฤหัสบดีเป็นผู้นำโด่งในแง่ของขนาดและน้ำหนัก; ในทางตรงข้าม ขนาดที่เล็กของดาวพุธมีขนาดเล็กกว่าดวงจันทร์แกนีมีด หนึ่งในบริวารดาวพฤหัสบดี ดาวพฤหัสบดีมีขนาดใหญ่ เพียงแค่มวลของมัน ก็มีประมาณ 70% ของมวล ของทุกดาวเคราะห์รวม ๆ กันและส่งผลกระทบอย่างมากต่อสิ่งที่แวดล้อมมัน นับเป็นโชคดีสำหรับโลกเพราะดาวพฤหัสบดีดึงดูดดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่จำนวนมากที่สามารถชนโลกจนทำให้สิ่งชีวิตบนโลกสูญพันธุ์ได้ แม้แต่ดาวพฤหัสบดียังดูเป็นดาวแคระไปเสีย เมื่อเปรียบเทียบกับดวงอาทิตย์ เรียกดาวพฤหัสบดีว่าใหญ่ดูจะลำเอียงกับดวงอาทิตย์

99.86% ของมวลในระบบสุริยะมาจากดวงอาทิตย์ ส่วนใหญ่ก็ประกอบด้วยไฮโดรเจนและฮีเลียม น้อยกว่า 2% เป็นธาตุหนัก เช่นออกซิเจนหรือเหล็ก ที่แกนของดวงอาทิตย์เผาไฮโดรเจน 620 ล้านตันในแต่ละวินาที และสร้างพลังงานพอที่จะตอบสนองความความต้องการของมนุษย์มานานเนิ่นนาน แต่ไม่เพียงดาวเคราะห์แค่แปดดวง โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์น้อยและดาวหางนับล้านล้าน ก็ยังโคจรอยู่

ส่วนใหญ่ของพวกมันรวมกันอยู่คล้ายเข็มขัดสองเส้น: หนึ่ง แถบดาวเคราะห์น้อยระหว่างดาวอังคารและดาวดาวพฤหัสบดีและ สอง แถบไคเปอร์ที่ขอบของระบบสุริยะ เข็มขัดเหล่านี้เป็นบ้านของวัตถุที่นับไม่ถ้วน บางอย่างมีขนาดเพียงเท่าอนุภาคฝุ่น บางอย่างมีขนาดเท่าดาวเคราะห์แคระ วัตถุที่รู้จักกันดีที่สุดใน แถบดาวเคราะห์น้อยคือเซเรส วัตถุส่วนใหญ่รู้จักกันดีในแถบไคเปอร์ มีดาวพลูโต Makemake และ Haumea โดยปกติแล้วเราจะอธิบายแถบดาวเคราะห์น้อยเป็น ส่วนที่หนาแน่นและเกิดการ ชนอย่างต่อเนื่อง



แต่ในความเป็นจริง มีดาวเคราะห์น้อยกระจายไปทั่วบริเวณ ซึ่งกว้างใหญ่เสียจนยากที่จะเห็นดาวเคราะห์น้อยสองดวงในคราวเดียว แม้จะมีดาวเคราะห์น้อยหลายพันล้านดวงในแถบ แถบดาวเคราะห์น้อยยังคงดูเหมือนพื้นที่่ว่างเปล่านั่นเอง และยังคงมีการชนกันครั้งแล้วครั้งเล่า มวลของแถบทั้งสองนั้น แทบจะไม่มีความสำคัญ: แถบดาวเคราะห์น้อยมีมวลน้อยกว่า 4% ของมวลดวงจันทร์ของเราและแถบไคเปอร์มีขนาดระหว่าง 1/25 ถึง 1/10 ของมวลของโลก

วันหนึ่งระบบสุริยะจะหายไป ไม่มีอยู่แล้ว ดวงอาทิตย์จะตาย และดาวพุธ ดาวศุกร์ บางทีโลกด้วยก็จะถูกทำลาย ในเวลา 500 ล้านปี ดวงอาทิตย์จะร้อนขึ้นเรื่อยๆ และร้อนจนถึงจุดหนึ่ง มันจะละลายเปลือกโลก จากนั้นดวงอาทิตย์จะโตขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งกลืนโลก หรืออย่างน้อยก็ทำให้โลกกลายเป็นทะเลลาวา เมื่อดวงอาทิตย์ได้ถูกเผาไหม้เป็นเชื้อเพลิงเกือบทั้งหมดและสูญเสียมวลไปมาก มันจะหดตัวจนเป็นดาวแคระขาวและเผาไหม้ช้าๆ ต่อไปอีกไม่กี่พันล้านปี ก่อนที่จะหายไปอย่างสิ้นเชิง จากนั้น ท้ายที่สุดแล้ว ชีวิตในระบบสุริยะคือสิ่งเป็นไปไม่ได้ ทางช้างเผือกเองจะแทบจะไม่ได้สังเกตว่า ส่วนเล็ก ๆ อย่างระบบสุริยะในแขนข้างหนึ่ง จะกลายเป็นเพียงจุดที่มืดขึ้นเล็กน้อย และมนุษย์จะหายไปหรือออกจากระบบสุริยะ เพื่อการค้นหาดาวบ้านดวงใหม่

ที่มา Kurzgesagt – In a Nutshell Youtube Channel

ระเบิดขนาดจิ๋วในเลือดของเรา

ทุกชีวิตล้วนต้องสู้กับสิ่งมีชีวิตอื่นที่ต้องการจะเขมือบพวกเขา การที่สิ่งมีชีวิตระดับเซลล์วิวัฒนาการมาได้ตลอดหลายพันล้านปีที่ผ่านมานั้น มันจึงต้องมีวิธีต่าง ๆ ในการป้องกันตัวเอง ทำให้มนุษย์ในปัจจุบันมีระบบการป้องกันตัวที่ซับซ้อน อาทิ กำแพงกั้นทางกายภาพ เซลล์ป้องกัน และโรงงานผลิตอาวุธ แต่หนึ่งในการป้องกันที่สำคัญของร่างกายที่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด คือ...ระบบคอมพลีเมนต์ (Complement System)

มันวิวัฒนาการมาตลอด 700 ล้านปีที่แล้ว และมีกองกำลังโปรตีนมากกว่า 30 ชนิด... ที่ทำงานร่วมกันอย่างสวยงามและซับซ้อนเพื่อหยุดผู้รุกราน โดยทั่วไป มีพวกมันถึง 15 ล้านล้านล้านตัว แทรกซึมอยู่ในของเหลวทุกส่วนของร่างกายคุณ ถูกควบคุม ด้วยปฏิกิริยาเคมี เพียงเท่านั้น โปรตีนเหล่านี้เป็นหนึ่งในอาวุธที่มีประสิทธิภาพที่สุดที่เราใช้ต่อสู้กับผู้รุกราน ส่วนใหญ่แล้วระบบภูมิคุ้มกันส่วนอื่นเป็นเพียงแค่ตัวกระตุ้นระบบคอมพลีเมนต์ แต่มันก็อันตรายด้วยเช่นกัน



ลองคิดดูว่าเหมือนมีระเบิดเล็ก ๆ ล้านล้านลูกในเลือดของคุณ ซึ่งสามารถระเบิดเมื่อใดก็ได้ ฉะนั้นเซลล์ของเราจึงใช้กลไกต่าง ๆ มากมายในการป้องกันคอมพลีเมนต์โจมตีพวกเดียวกัน โอเค ถ้างั้นจริง ๆ แล้วมันมีหน้าที่อะไรกัน และทำไมมันถึงอันตราย? สรุปคร่าว ๆ คือ ระบบคอมพลีเมนต์มีหน้าที่ 3 อย่าง: ทำให้ศัตรูหยุดทำงาน กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และเจาะรูพวกมันจนมันตาย

แต่ยังไงล่ะ?
พวกมันคือโปรตีนที่ล่องลอยไปรอบ ๆ โดยไม่มีทิศทางหรือความต้องการใด ๆ แต่นั่นแหละคือกลยุทธ์ของพวกมัน โปรตีนคอมพลีเมนต์จะล่องลอยไปรอบ ๆ ในโหมดแพสซีฟ ไม่ทำสิ่งใดเลยจนกว่าจะถูกกระตุ้น และเปลี่ยนรูปร่าง ในโลกของโปรตีน รูปร่างเท่านั้นที่จะกำหนดว่ามันจะสามารถทำอะไรได้ เพราะรูปร่างกำหนดว่ามันจะสามารถมีปฎิกิริยากับสิ่งใดด้วยวิธีใด เช่น ในตอนรูปร่างแพสซีฟคุณอาจไม่ทำอะไร.. แต่ในรูปร่างแอ็กทีฟคุณอาจอย่างเช่น เปลี่ยนรูปร่างโปรตีนอื่น... โดยการกระตุ้นพวกมัน และให้พวกมันกระตุ้นกันต่อไปเรื่อย ๆ กลไกเช่นนี้สามารถสร้างปฎิกิริยาลูกโซ่ ซึงจะเพาะกระจายไปอย่างรวดเร็ว

ลองคิดดูว่าโปรตีนคอมพลีเมนต์เหมือนกับไม้ขีดไฟหลายล้านก้านที่อยู่ใกล้กันมาก ๆ เมื่อมีก้านหนึ่งติดไฟ มันจะลามไปรอบ ๆ ยิ่งลามมากเท่าไร ไฟยิ่งโหมกระหน่ำ การแสดงให้เห็นกลไกจริง ๆ ของระบบคอมพลีเมนต์นั้นเป็นสิ่งที่ซับซ้อนเกินไป ดังนั้นเราจึงขอกล่าวแบบง่าย ๆ ลองจินตนาการว่าคุณถูกของบาดและมีแบคทีเรียมากมายเข้าสู่บาดแผล และกระจายไปเนื้อเยื่อรอบ ๆ คอมพลีเมนต์จะเริ่มโจมตีด้วย C3 C3 คือไม้ขีดก้านแรก เป็นจุดที่ก่อให้เกิดประกายไฟ การจะทำเช่นนั้น C3 ต้องเปลี่ยนจากโหมดแพสซีฟเป็นแอ็กทีฟ กระบวนการเกิดนั้นซับซ้อน เอาเป็นว่ามันเกิดอย่างสุ่ม ๆ...ผ่านโปรตีนคอมพลีเมนต์ที่ติดกับศัตรู หรือผ่านแอนติบอดี้

สิ่งที่คุณต้องรู้ก็คือ C3 จะแยกเป็นโปรตีนชิ้นเล็ก ๆ 2 ส่วน...C3a และ C3b ซึ่งถูกกระตุ้นแล้ว โดยโปรตีน C3b จะเป็นเสมือนจรวจที่เจาะจงกับแบคทีเรีย ฟังไจ และไวรัส มันมีเวลาแค่เสี้ยววินาทีในการหาเหยื่อ ไม่อย่างนั้นมันจะถูกทำลายโดยโมเลกุลน้ำ เมื่อ C3b พบเป้าหมายแล้ว มันจะยึดตัวเองอย่างแน่นกับผิวของเหยื่อและจะฝังตัวอยู่อย่างนั้น เมื่อนทำอย่างนั้น โปรตีนจะเปลี่ยนรูปร่างอีกครั้ง ซึ่งรูปร่างใหม่นั่นจะสามารถยึดจับกับโปรตีนอื่นได้ และสร้างปฎิกิริยาลูกโซ่อีกครั้ง โดยเปลี่ยนรูปร่างหลายต่อหลายครั้งและเพิ่มจำนวนโปรตีนคอมพลีเมนต์เข้ามา ท้ายที่สุด มันจึงกลายร่างเป็นฐาน ที่เรียกว่า C3 Convertase

ฐานนี้จะเป็นผู้เชี่ยวชาญในการกระตุ้นโปรตีน C3 ซึ่งจะเริ่มทั้งวงจรอีกครั้ง วัฏจักรนี้จึงเริ่มขึ้น ในไม่ช้า โปรตีนเป็นพันก็ได้ปกคลุมแบคทีเรีย สำหรับแบคทีเรียแล้วนี่เป็นสิ่งที่เลวร้าย มันสามารถทำให้แบคทีเรียหยุดการทำงานและทำอะไรไม่ได้ หรือชะลอมันลง ลองคิดดูว่ามีเหมือนแมลงวันนับพันปกคลุมตัวคุณ แต่ที่มากกว่านั้น คุณยังจำอีกส่วนของ C3 ได้ไหม? โปรตีน C3a C3a เป็นเหมือนเครื่องส่งสัญญาณเตือนภัย พวกมันนับพันไหลลอยออกไปจากสนามรบ และกรีดร้องเพื่อเรียกร้องความสนใจ เซลล์คุ้มกันชนิดแพสซีฟสังเกตเห็นโปรตีน C3a และตื่นจากการหลับใหลเพื่อตามโปรตีนกลับไปยังจุดที่ติดเชื้อ



ยิ่งมีโปรตีนมาปลุกมันมากเท่าไร พวกมันจะยิ่งดุร้ายขึ้น ด้วยวิธีนี้ คอมพลีเมนต์จึงนำทางกองกำลังไปยังจุดที่พวกมันต้องการได้ถูกต้อง ตอนนี้ คอมพลีเมนต์ก็ได้ชะลอผู้รุกรานและร้องขอความช่วยเหลือ จากนั้น มันจะเรื่มการโจมตีศัตรูโดยตรง เซลล์ภูมิคุ้มกันชุดแรกที่มาถึงสนามรบคือ ฟาโกไซต์ (phagocytes) มันคือเซลล์ที่กลืนกิน กักขัง และฆ่าศัตรูด้วยกรด แต่ในการกลืนกินนั้นจะต้องเข้าถึงตัวศัตรูได้เสียก่อน ซึ่งเป็นไม่เป็นเรื่องง่าย เพราะแบคทีเรียไม่ยอมให้จับและค่อนข้างลื่นด้วย แต่ในตอนนี้ คอมพลีเมนต์ที่ได้ยึดตัวเองติดกับแบคทีเรียนั้น... เป็นเสมือนกาวที่ง่ายต่อการจับเหยื่อของเซลล์ภูมิคุ้มกัน แต่มันยังดีกว่านั้นได้อีก

ลองคิดดูว่าแมลงวันที่ปกคลุมเมื่อกี้...ในตอนนี้ได้เปลี่ยนเป็นต่อ ปรากฏการณ์ลูกโซ่ครั้งใหม่กำลังจะเริ่มขึ้น บนผิวของแบคทีเรีย ฐาน C3 ได้เปลี่ยนรูปร่างอีกครั้ง...และเริ่มรับโปรตีนตัวใหม่ ความร่วมมือนี้ ก่อให้เกิดโครงสร้างที่ใหญ่ขึ้น เรียกว่า เครื่องโจมตีเยื่อหุ้มเซลล์ (Membrane Attack Complex) โปรตีนรูปร่างใหม่นี้มีลักษณะเป็นหอกยาว ๆ แทงลึกเข้าในเยื่อหุ้มของแบคทีเรีย จนกระทั่งเกิดรูที่ไม่สามารถปิดได้ ของเหลวที่ใหลเข้าไปในแบคทีเรีย ทำให้ภายในของมันรั่วออกมาสู่ภายนอก.. ไหลออกหมดจนตาย

แบคทีเรียที่ยังหลงเหลือจะทำอะไรไม่ได้ หรือถูกก่อกวนโดยคอมพลีเมนต์... และถูกกำจัดต่อไปโดยเซลล์ภูมิคุ้มกันที่มาถึง การรุกรานนี้ถูกจำกัดวงให้แคบลงก่อนที่มันจะกลายเป็นอันตราย คุณแทบไม่รู้ตัวเลยตัวซ้ำ แต่ในขณะที่แบคทีเรียกำลังแย่เพราะคอมพลีเมนต์อยู่นั้น...

แท้จริงแล้วศัตรูที่คอมพลีเมนต์ ได้เปรียบสูงสุด คือ ไวรัส ไวรัสมีปัญหาอย่างเดียวคือ พวกมันต้องเดินทางจากเซลล์ไปเซลล์ เมื่อออกนอกเซลล์ พวกมันวิ่งเข้าชนเซลล์อื่นอย่างสุ่ม ๆ เพื่อแพร่เชื้อใส่โดนอาศัยดวงล้วนๆ ณ จุดนี้ ไวรัสจะไม่สามารถป้องกันตัวได้ และในที่สุดคอมพลีเมนต์จะขัดขวางแล้วทำให้มันไม่เป็นอันตรายได้ และชี้นำให้ระบบภูมิคุ้มกันกลืนกินมันต่อไป ถ้าปราศจากคอมพลีเมนต์ การติดเชื้อจากไวรัสจะเป็นอันตรายอย่างมาก แต่เดี๋ยวนะ ถ้าพวกเรามีอาวุธที่มีประสิทธิภาพขนาดนั้น ทำไมเราจึงยังป่วยอยู่ล่ะ? ปัญหาก็คือในสงครามนี้ ทั้งสองฝ่ายเกิดการปรับตัว เช่น เมื่อไวรัสโรคฝีดาษแพร่เข้าสู้เซลล์ มันจะเข้าควบคุมโปรตีนที่ปิดการทำงานของคอมพลีเมนต์ลง ด้วยวิธีนี้ ไวรัสจึงสร้างเขตปลอดภัยรอบ ๆ เซลล์ที่แพร่เชื้อเข้าไปได้ เมื่อไวรัสฆ่าเซลล์นั้นและพยายามแพร่เชื้อต่อ มันมีโอกาสสูงมากที่จะทำสำเร็จ

หรือแบคทีเรียบางชนิดสามารถหยิบโมเลกุลอย่างเฉพาะเจาะจงได้จากเลือด ซึ่งจะทำให้ระบบคอมพลีเมนต์ไม่โจมตีมัน...และทำให้พวกมันล่องหน ดังนั้นระบบคอมพลีเมนต์ที่สำคัญอย่างมากนี้... จึงเป็นแค่ผู้เล่นคนหนึ่งในการจัดการที่สวยงามและซับซ้อนของระบบภูมิคุ้มกัน เป็นตัวอย่างสวยงามของสิ่งที่ไม่มีชีวิตจิตใจ แต่สามารถทำสิ่งฉลาด ๆ ร่วมกันได้
ที่มา Kurzgesagt – In a Nutshell Youtube Channel

กินนมมากๆ เป็นมะเร็งจริงหรือ

ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา นมได้จุดประเด็นร้อนขึ้น บ้างก็บอกว่านมเป็นสิ่งจำเป็นและมีคุณค่าทางสารอาหาร มีส่วนในการสร้างกระดูกที่แข็งแรง แต่อีกด้านหนึ่ง กลับบอกว่านมเป็นตัวการก่อมะเร็ง และเป็นต้นเหตุการตายก่อนวัยอันควร แล้ว..ใครเป็นฝ่ายถูก? และทำไมเราถึงดื่มนมกันด้วยล่ะ?

นมนับว่าเป็นอาหารหลักของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแรกคลอด เมื่อระบบย่อยอาหารยังพัฒนาไม่เต็มที่และมีขนาดเล็กอยู่ หลัก ๆ แล้วนมก็คือสุดยอดอาหารที่ช่วยกระตุ้นการเติบโตของเรานั่นเอง นมนั้นอุดมไปด้วยไขมัน, วิตามิน, แร่ธาตุ, และน้ำตาลในนม หรือแลคโทส นอกจากนั้น น้ำนมในช่วงหลังคลอดใหม่ ๆ ยังลำเลียงภูมิคุ้มกันและโปรตีนให้กับทารก ซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้เจ็บป่วย และปรับระบบภูมิต้านทานให้ดีขึ้น แต่มันจะกินแรงคุณแม่อย่างหนักในการผลิต ในที่สุด มนุษย์ก็จะต้องหยุดดื่มนมแม่ และเปลี่ยนไปทานอาหารแบบเดียวกับผู้ใหญ่ นี่คือธรรมชาติ ซึ่งได้เป็นแบบนี้มานานนับพัน ๆ ปีแล้ว



จนกระทั่งเมื่อ 11,000 ปีก่อน เมื่อบรรพบุรุษของเราตั้งรกรากในสังคมเกษตรกรรมเป็นครั้งแรก ในเวลาไม่นาน พวกเขาริเริ่มเลี้ยงสัตว์ที่ผลิตน้ำนมเป็นครั้งแรก คือ แพะ, แกะ, และวัว พวกเขาค้นพบว่า สัตว์เหล่านี้สามารถแปลงสิ่งที่ไร้ประโยชน์และมีอยู่ทั่วไปหมดเหล่านี้ และเปลี่ยนมันเป็นอาหารที่มีประโยชน์และยังอร่อยด้วย เรื่องนี้ก่อความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สำหรับโอกาสอยู่รอด โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดภัยหรือมีปัญหา ดังนั้น กลุ่มไหนที่มีนมไว้ดื่มจึงมีข้อได้เปรียบทางวิวัฒนาการ (กลุ่มที่มีนม / กลุ่มที่ไม่มีนม) และด้วยหลักการคัดเลือกโดยธรรมชาติ

ยีนของชุมชนที่มีโอกาสได้ดื่มนมมาก ก็เริ่มเปลี่ยนไป การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นผลมาจากเอนไซม์เฉพาะทางตัวหนึ่ง ที่ชื่อ แลคเทส เด็กทารกจะมีเอนไซม์นี้เป็นจำนวนมากในร่างกาย เพราะมันช่วยย่อยน้ำตาลในนม หรือแลคโทส ซึ่งจะทำให้ดูดซึมนมได้ดีขึ้น แต่เมื่อเรามีอายุมากขึ้น ร่างกายก็จะผลิตเอนไซม์แลคเทสได้น้อยลง ประมาณ 65% ของประชากรโลก ไม่มีเอนไซม์นี้หลังจากพ้นวัยทารกแล้ว ซึ่งส่งผลให้พวกเขาไม่สามารถย่อยนมได้มากกว่า 150 มิลลิลิตรต่อวัน แต่อาการแพ้แลคโทสนี้ ยังไม่ได้เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเสมอกันทั่วโลก ยกตัวอย่าง ในบางประเทศเขตเอเชียตะวันออก จะมีอาการนี้ถึง 90%

ส่วนในกลุ่มยุโรปตอนเหนือและอเมริกาเหนือ มีโอกาสเกิดอาการนี้ต่ำที่สุด มันมีสาเหตุอยู่ว่าทำไมถึงเกิดการกระจายตัวที่ไม่เท่ากันแบบนี้ อาการนี้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกโดยบังเอิญจากการกลายพันธุ์แบบสุ่ม ซึ่งเกิดขึ้นได้เองอย่างอิสระในบางกลุ่มประชากร ด้วยข้อเท็จจริงที่การทำการเกษตรได้เข้ามาแทนที่การล่าและสะสมอาหาร มากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้กระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติมีบทบาทมากขึ้น คนที่สามารถกินและย่อยแลคโทสได้ ก็ถือว่ามีอาหารมากกว่าคนอื่น ๆ ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบ

การย้ายถิ่นของผู้ผลิตนมไปทางเหนือ ทำให้ผู้มีข้อได้เปรียบนี้เพิ่มจำนวนขึ้น และเป็นไปได้มาก ที่จะส่งผลให้คนพื้นเมืองเดิมซึ่งไม่มีข้อได้เปรียบนี้ มีจำนวนลดลง ทีนี้ ถ้านมเป็นอาหารหลักอันทรงคุณค่าของมนุษย์มาเป็นพัน ๆ ปีแล้ว ทำไมมันถึงเกิดประเด็นร้อนขึ้นมาล่ะ?

มีการกล่าวอ้างจากหลายทางเกี่ยวกับผลดีและผลเสียจากนม ฝ่ายผลเสียนั้นมีเหตุผลที่หลากหลายมาก ตั้งแต่ กระดูกเปราะจนถึงมะเร็ง, โรคหัวใจจนถึงอาการแพ้ แล้วข้ออ้างเหล่านี้มีที่มาอย่างไร? บางงานวิจัยในอดีต เชื่อมโยงนมเข้ากับความเสี่ยงสูงที่จะเกิดมะเร็งเต้านม, มะเร็งลำไส้, และมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่การทบทวนหลักฐานใหม่พบว่านมไม่มีผลต่อความเสี่ยงเป็นมะเร็งเลย ในทางกลับกัน แคลเซียมในนมอาจส่งผลในการป้องกันมะเร็งลำไส้เสียมากกว่า แต่จริง ๆ แล้วอาจเป็นแคลเซียมจากแหล่งใดก็ได้ ยังไม่ชัดเจนว่านมป้องกันมะเร็งได้โดยตรง

มีเฉพาะงานวิจัยมะเร็งต่อมลูกหมากที่บ่งชี้ความเสี่ยงที่มากขึ้นในกลุ่มที่ดื่มนมมากกว่า 1.25 ลิตรต่อวัน แต่การเชื่อมโยงนี้ก็มีจุดบกพร่องอยู่ และไม่มีงานวิจัยอื่นที่ได้ผลลัพธ์แบบเดียวกัน เราได้รวบรวมรายละเอียดของงานวิจัยเหล่านี้ไว้ใต้วิดีโอนี้แล้ว ซึ่งในภาพรวมนั้น ผลวิจัยบอกว่าหากคุณดื่มนมระหว่าง 100 - 250 มิลลิลิตรต่อวัน ก็จะไม่มีผลในการก่อมะเร็ง ในทำนองเดียวกัน การทบทวนหลักฐานใหม่ก็ไม่พบว่านมหรือผลิตภัณฑ์จากนม สามารถก่อความเสี่ยง ในการเป็นโรคหัวใจ, เส้นเลือดในสมองแตก, หรือลดอายุขัยของคุณได้เลย

บางงานวิจัยได้เสนอว่าอาการความดันโลหิตสูงนั้นจะพบได้น้อยลงในกลุ่มคนที่ดื่มนมเยอะ อย่างไรก็ตาม หลักฐานในงานวิจัยนี้ยังไม่หนักแน่นพอที่จะสรุปเรื่องนี้ได้อย่างสมบูรณ์ ประเด็นเริ่มที่จะซับซ้อนขึ้นเมื่อพิจารณากันที่กระดูก งานวิจัยจำนวนหนึ่งพบว่านมไม่ทำให้เกิดทั้งผลดีและผลเสียในผู้ใหญ่ สิ่งที่คนส่วนใหญ่กังวลกันมาก จะเกี่ยวกับสิ่งปนเปื้อนจำพวกสารฆ่าแมลง, ยาปฏิชีวนะ, และฮอร์โมนมากกว่า ในนมนั้นมีฮอร์โมนอยู่ก็จริง แต่มีความเข้มข้นในระดับที่ต่ำมาก

ถ้าให้ยกตัวอย่าง หากต้องการได้ฮอร์โมนในปริมาณที่เทียบเท่ากับยาฮอร์โมนหนึ่งเม็ด จะต้องดื่มนมมากถึง 5,000 ลิตร และถึงคุณจะดื่มนมทั้งหมดนั้นได้จริง ฮอร์โมนส่วนใหญ่ก็จะถูกย่อยสลายไปในทางเดินอาหารแล้ว ก่อนที่จะสามารถส่งผลใด ๆ ได้ด้วยซ้ำ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ยาส่วนใหญ่จำเป็นต้องมีสารเคลือบป้องกันจากระบบย่อยอาหาร สำหรับสารฆ่าแมลงและยาปฏิชีวนะนั้น ประเทศส่วนใหญ่ได้มีเกณฑ์ควบคุมสารปนเปื้อน ให้มีได้ไม่เกินปริมาณที่ถือว่าปลอดภัยโดยสิ้นเชิง นมที่มีสารปนเปื้อนเกินเกณฑ์ จะไม่สามารถนำมาวางขายได้

ดังนั้นจึงไม่มีเหตุให้ต้องกังวลมากนัก นอกเหนือจากอาการแพ้นม หรืออาการแพ้แลคโทสแล้ว ผลเสียที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดของนมก็คือสิว และความรู้สึกไม่สบายตัวหลังจากดื่มหรือทานอาหารที่ทำจากนม และผลเสียที่ว่ามานี้ ส่งผลกระทบจริง ๆ ยกตัวอย่าง นมไขมันต่ำจะส่งเพิ่มโอกาสทางสถิติที่จะเกิดสิวได้มากถึง 24% อาการแพ้ผลิตภัณฑ์จากนมจะพบได้บ่อยในเด็กเล็ก ในประเทศเยอรมนี จากเด็ก 18 คนจะพบอาการนี้ได้ 1 คน โดยทั่วไปแล้ว อาการเหล่านี้จะดีขึ้นหรือหายไปได้เองเมื่อเด็กโตขึ้น ถ้างั้นสรุปได้ไหมว่านมดีต่อสุขภาพ?

น้ำนม ไม่ว่าจะมาจากแม่, วัว, แกะ, แพะ, หรืออูฐ ก็จะมีสารอาหารเข้มข้น อุดมไปด้วยสารอาหารหลักและสารอาหารรองมากมาย โดยเฉพาะในภูมิภาคที่ผู้คนต้องดิ้นรนเพื่อให้รับแคลอรี่ได้เพียงพอ น้ำนมจะช่วยส่งเสริมให้เกิดชีวิตและสุขภาพที่ดี และลดอัตราการตายของเด็กลงได้ สำหรับคนที่อาศัยในประเทศที่พัฒนาแล้ว นมถือว่าไม่เป็นอันตราย หากคุณไม่มีอาการแพ้ สำหรับเด็ก ๆ แล้ว นมถือเป็นวิธีที่ดีสำหรับรับแคลเซียมในปริมาณสูง และสำหรับชาวมังสวิรัติ นมถือเป็นแหล่งวิตามิน B12 และวิตามิน B ที่ดี



แต่นี่ก็ไม่ได้แปลว่าไม่มีอาหารอื่นที่ให้ผลแบบเดียวกัน คุณไม่จำเป็นต้องดื่มนมเพื่อจะได้มีสุขภาพที่แข็งแรง นมนั้นไม่สามารถนำมาทดแทนน้ำดื่มได้ นมเป็นอาหารให้พลังงานสูง แคลอรี่ที่ได้รับจากการดื่มนมปริมาณมากเป็นประจำ สามารถส่งผลให้มีน้ำหนักเกินได้ โดยเฉพาะในนมที่ปรุงแต่งรสชาติ หรือนมช็อคโกแลต จะเทียบเคียงได้กับน้ำหวานมากกว่าของว่างเพื่อสุขภาพ และมีอีกเรื่องที่ต้องคำนึง การผลิตนมนั้นส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อสภาพอากาศของโลก พื้นที่ทำการเกษตรกว่า 33% ใช้ปลูกพืชเพื่อเลี้ยงปศุสัตว์ รวมถึงวัวนมด้วย ถึงแม้ว่ารอยเท้าคาร์บอนของผลิตภัณฑ์นมจะทยอยลดลงตั้งแต่ปี 1990 อุตสาหกรรมนมยังคงมีส่วนในการสร้างก๊าซเรือนกระจกถึง 3% ถือเป็นปริมาณที่สูงกว่าก๊าซจากเครื่องบินทุกลำบนโลกรวมกัน

นมนั้นเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และกระบวนการผลิตนั้นสร้างความทุกข์ทรมานอย่างยิ่ง แม่วัวถูกทำให้ตั้งท้องซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถูกจับแยกจากลูกวัวทันทีหลังคลอด และถูกฆ่าทันทีเมื่อร่างกายไม่สามารถผลิตน้ำนมได้อีกแล้ว เราไม่สามารถละเลยได้ว่านมส่วนใหญ่ที่เราบริโภค มาจากอุตสาหกรรมที่ โดยพื้นฐานแล้วคือการทรมาน และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก

แล้วถ้าเป็นนมที่ผลิตจากพืชล่ะ?
ในเชิงของระดับโปรตีนและคุณค่าทางสารอาหาร มีเพียงนมถั่วเหลืองเท่านั้นที่พอเทียบเคียงได้กับนมวัว นมอื่น ๆ จำเป็นต้องได้รับการเสริมสารอาหารเพิ่มเติม เพื่อให้มีวิตามินและแคลเซียมใกล้เคียงนมวัว และสามารถใช้เป็นตัวเลือกทดแทนนมวัวได้ และมีอีกทางเลือกหนึ่งที่อาจเป็นจริงได้ในเร็ว ๆ นี้ บริษัทสตาร์ทอัปหลายแห่งได้พัฒนานมที่ไม่ได้มาจากสัตว์ และมีสารอาหารเหมือนกับนมวัวทุกประการ

ยกตัวอย่าง เช่น ผลิตจากการหมักด้วยแบคทีเรียที่ผ่านมาปรับปรุงยีนแล้ว นมที่ผลิตในห้องแล็บนี้สามารถนำไปทำเป็นชีสได้ด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่นมจากพืชทำได้ยาก เนื่องจากขาดสารเคซีนและโปรตีนเวย์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักที่ทำให้นมมีรสชาติและคุณสมบัติเฉพาะตัว ในด้านผลกระทบต่อธรรมชาติ เหมือนกับพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ นมทางเลือกหลากหลายแบบ สิ้นเปลืองพลังงาน, ที่ดิน, และน้ำ ในการผลิตน้อยกว่านมวัวมาก และก็ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลงกว่านมจากสัตว์มากเช่นกัน หากคุณต้องการลดผลเสียต่อโลกให้มากที่สุด คำตอบที่ดีที่สุดก็คือนมทางเลือกที่อยู่ในภูมิภาคของคุณ

(บทสรุป)

ประเด็นเรื่องนมนั้นเป็นเรื่องที่ซับซ้อน มันไม่ส่งผลเสียต่อประชากรส่วนใหญ่ของโลก และเป็นสิ่งจำเป็นของคนจำนวนมาก นมนั้นดี มีคุณค่า แต่ก็ส่งผลเสียต่อโลก และก่อความทุกข์ทรมานแสนสาหัสในเวลาเดียวกัน
เราต้องร่วมกันตัดสินใจว่าเราจะทำอย่างไรเมื่อเราทราบข้อเท็จจริงเหล่านี้

ที่มา Kurzgesagt – In a Nutshell Youtube Channel

ทำไมวาฬสีน้ำเงินจึงเป็นสัตว์ที่ไม่เป็นมะเร็ง

โรคมะเร็งเป็นสิ่งที่น่าขนลุกและก็ลึกลับ ในระหว่างพยายามที่จะศึกษาและเข้าใจมัน เพื่อหาวิธีการที่ดีขึ้นในการกำจัดมัน เราก็ได้ค้นพบความขัดแย้งทางชีวภาพที่ยังคงหาคำตอบไม่ได้ จนถึงทุกวันนี้ สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ ดูเหมือนจะมีภูมิต้านทานต่อโรคมะเร็ง ซึ่งมันไม่สมเหตุสมผลเลย ยิ่งสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ ปริมาณของมะเร็งก็ควรจะมากตาม เพื่อที่จะรู้ว่าทำไม ก่อนอื่นเราต้องมาดูลักษณะของโรคมะเร็งก่อน เซลล์ของเรา คือหุ่นยนต์โปรตีน ที่ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนเป็นร้อยๆ ล้านชิ้น ทำงานตอบสนองไปตามปฏิกิริยาทางเคมีเท่านั้น

เซลล์สร้างและแยกส่วนโครงสร้าง รักษาการเผาผลาญเพื่อสร้างพลังงาน หรือสร้างตัวเองขึ้นมาใหม่ที่แทบจะสมบูรณ์แบบ เราเรียกปฏิกิริยาทางเคมีที่ซับซ้อนเหล่านี้ว่า วิถีเมแทบอลิซึม(metabolic pathways) มันคือโครงข่ายทางชีวเคมีที่ทำงานอยู่บนอีกโครงข่าย ทำงานเป็นลำดับต่อเนื่องกัน ขึ้นไปเป็นชั้น ๆ โดยส่วนใหญ่ แทบจะสามารถที่จะรับรู้สัญญาณจากจิตใต้สำนึกได้ ถึงอย่างนั้น พวกมันก็ยังคงทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบ



จนกระทั่ง...

มันไม่ได้เป็นไปอย่างนั้น จากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเป็นพันๆ ล้านครั้ง ในหลายๆ พันโครงข่ายทำงานด้วยกัน เป็นเวลาผ่านไปหลายปี คำถามไม่ใช่ว่า ถ้ามันเกิดความผิดพลาดล่ะ? แต่คือ มันจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ต่างหาก? ความผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ สะสมมากขึ้นเรื่อยๆ จนเริ่มเลวร้าย เพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดสิ่งเลวร้ายจนควบคุมไม่ได้ เซลล์ของเรานั้น  มีสวิตซ์กดเอาไว้สำหรับฆ่าตัวตาย แต่ว่า สวิตซ์ฆ่าตัวตายนั้น มันก็ไม่ได้ทำงานสมบูรณ์แบบเสมอไป ถ้าสวิทซ์ทำงานผิดพลาด เซลล์นั้นก็จะกลายเป็น เซลล์มะเร็ง โดยส่วนใหญ่นั้น ก็จะถูกกำจัดโดยระบบภูมิคุ้มกัน อย่างรวดเร็ว

แต่ว่านี่เป็น การแข่งขันด้วยจำนวน ถ้าให้เวลามากพอ เซลล์ก็จะเกิดความผิดพลาดมากพอ โดยไม่ทันสังเกต จนเริ่มแบ่งตัวเองให้มีจำนวนมากขึ้น สัตว์ทุกชนิด ต้องรับมือกับปัญหานี้โดยทั่วกัน โดยทั่วไปแล้ว เซลล์ของสัตว์ทุกชนิดจะมีขนาดเท่ากัน เซลล์ของหนู ก็ไม่ได้มีขนาดเล็กกว่าเซลล์ของคุณหรอก แค่จำนวนเซลล์ทั้งหมดของมัน มีน้อยกว่าเฉยๆ และมีอายุขัยที่สั้นกว่าจำนวนเซลล์ที่น้อยกว่า และอายุขัยที่สั้นกว่านั้น แปลว่า มีโอกาสน้อยกว่า ที่เกิดความผิดพลาดหรือเซลล์เกิดการกลายพันธ์ หรืออย่างน้อยมันก็ควรจะเป็นอย่างนั้น

มนุษย์มีชีวิตยืนยาวกว่าหนูถึง 50 เท่า และมีจำนวนเซลล์มากกว่าถึง 1000 เท่าของหนู แต่ถึงจะอย่างนั้น มนุษย์กับหนูกลับมีอัตราการเกิดมะเร็งที่เท่ากัน น่าแปลกเข้าไปอีก เมื่อวาฬสีน้ำเงิน ที่มีเซลล์มากกว่ามนุษย์ถึง 3000 เท่า กลับไม่มีมะเร็งเกิดขึ้นเลย นี่คือ ความขัดแย้งของพีโต (Peto's Paradox) ซึ่งก่อให้เกิดความสับสนที่ว่า สัตว์ขนาดใหญ่ จะเกิดโรคมะเร็งได้น้อยมากๆๆ กว่าที่มันควรจะเป็น นักวิทยศาสตร์คิดว่า มีคำตอบ 2 ข้อหลักๆ ที่สามารถอธิบายความขัดแย้งนี้ได้ การวิวัฒนาการ และ hypertumor

ข้อที่ 1 วิวัฒนาการ หรือ กลายเป็นส่วนหนึ่งของมะเร็ง สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ 600 ล้านปีที่แล้ว สัตว์มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ หมายถึงเซลล์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงมีโอกาสมากขึ้นที่เซลล์จะเกิดความผิดพลาด ดังนั้น เผ่าพันธ์จึงต้องมีการเสริมการป้องกันมะเร็งให้ดียิ่งขึ้นเสมอ เผ่าพันธ์ไหนไม่ทำ ก็จะสูญพันธ์ลงไป แต่โรคมะเร็ง ไม่ใช่แค่อยู่ๆ ก็เกิดขึ้น มันคือกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับความผิดพลาดจากแต่ละส่วนประกอบ และ การกลายพันธ์ของยีนบางตัว ภายในเซลล์ๆหนึ่ง ยีนเหล่านั้นเรียกว่า proto-oncogenes และเมื่อมันกลายพันธ์ นั่นแหละข่าวร้าย

อย่างเช่น ด้วยการกลายพันธุ์ได้อย่างเหมาะสม เซลล์จะเสียความสามารถให้การทำลายตัวเอง การกลายพันธ์ุอีกอย่าง ก็พัฒนาความสามารถในการพรางตัว อีกอย่างก็ ร้องขอทรัพยากร อีกอย่างนึง คือแบ่งตัวเองให้มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ยีน oncogene เหล่านี้ก็มีคู่ปรับอยู่เหมือนกัน นั่นคือ Tumor Supressor gene พวกมันคอยป้องกันการเกิดการกลายพันธุ์ที่ผิดปกติ หรือสั่งให้เซลล์ทำลายตัวเอง ถ้าหากมันว่าเกินกว่าที่จะแก้ไขไปแล้ว กลายเป็นว่า สัตว์ที่มีขนาดใหญ่มียีนเหล่านี้อยู่จำนวนมาก

ด้วยเหตุนี้ เซลล์ของช้างจำเป็นต้องใช้การกลายพันธ์ุจำนวนมากกว่าเซลล์ของหนู ถึงจะมีเนื้องอกเกิดขึ้น พวกมันไม่ได้มีภูมิต้านทาน แต่ฟื้นฟูสภาพได้ดีว่า การปรับตัวนี้ อาจจะแลกมาด้วยอะไรบางอย่าง แต่นักวิจัยก็ยังไม่แน่ใจว่ามันคืออะไร บางที Tumor suppressor ทำให้ช้างแก่ตัวเร็วขึ้น หรือฟื้นตัวจากบาลแผลได้ช้าลง เรายังไม่รู้ แต่คำตอบของความขัดแย้งนี้ อาจจะเป็นอะไรบางอย่างที่ต่างออกไป

คำตอบข้อที่ 2 Hypertumors ใช่ ตามนั้นเลย Hypertumors ตั้งชื่อล้อตาม Hyperparasite ที่หมายถึง ปรสิต ของ ปรสิต Hypertumors ก็คือ เนื้องอก ของ เนื้องอก เหล่าเซลล์มะเร็งนั้น อาจจะสามารถแตกคอกันได้ โดยปกติแล้ว เซลล์จะทำงานร่วมกันเพื่อก่อตัวเป็นอวัยวะ, เนื้อเยื่อ หรือ เป็นองค์ประกอบของระบบภูมิคุ้มกัน แต่เซลล์มะเร็งนั้นเห็นแก่ตัว และทำงานเพื่อผลประโยชน์ระยะสั้นของตัวเองเท่านั้น ถ้าพวกมันทำสำเร็จ มันจะกลายเป็นเนื้องอก กลุ่มก้อนเซลล์มะเร็งขนาดใหญ่ ที่กำจัดทิ้งได้ยาก กว่าจะเป็นเนื้องอกนั้น ก็ไม่ได้ง่าย เซลล์มะเร็งเป็นล้านๆ เซลล์เพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็วนั้น จะต้องใช้ทรัพยากรและพลังงานเป็นจำนวนมาก สารอาหารที่พวกมันสามารถแย่งชิงมาจากร่างกาย เริ่มเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต



ดังนั้น เนื้องอกจึงหลอกให้ร่างกายสร้างเส้นเลือดขึ้นมาใหม่ เชื่อมต่อโดยตรงไปยังเนื้องอกเลย เพื่อป้อนอาหารให้กับสิ่งที่กำลังฆ่าตัวมันเอง ด้วยธรรมชาติของเซลล์มะเร็ง อาจจะกำลังเป็นหายนะแก่พวกมันเอง เซลล์มะเร็งมีความไม่เสถียรเป็นพื้นเดิมอยู่แล้ว ดังนั้นพวกมันก็ยังคงกลายพันธ์ุต่อไปเรื่อยๆ บางตัวก็กลายพันธ์ุเร็วเพื่อน ถ้าพวกมันเป็นอย่างนี้ต่อไปซักพัก ณ จุดๆนึง เซลล์มะเร็งซักตัวหนึ่งที่เป็นตัวสำเนา ที่มาจากตัวสำเนา ที่มาจากตัวเซลล์ต้นแบบ อาจจะเริ่มคิดว่าตัวมันเองนั้นเป็นตัวต้นแบบ แล้วก็เลิกให้ความร่วมมือกับ กลุ่มเซลล์มะเร็งต้นแบบที่มันจากมา ซึ่งหมายความว่า เซลล์มะเร็งกลุ่มแรกนั้น กลายเป็นศัตรูของมันทันที แล้วต่อสู้เพื่อแย่งชิงสารอาหารและทรัพยากร

ดังนั้น เซลล์มะเร็งกลุ่มใหม่ก็จะสามารถสร้าง Hypertumors ได้ แทนที่จะช่วยเหลือ พวกมันตัดเส้นเหลือที่หล่อเลี้ยงมะเร็งตัวเก่าที่สร้างมันมา ซึ่งทำให้มะเร็งตัวเก่าขาดสารอาหารตาย มะเร็งกำลังฆ่ามะเร็ง กระบวนการนี้ สามารถเกิดขึ้นซ้ำไป ซ้ำมา และนี้อาจจะเป็นการป้องกันมะเร็งไม่ให้เป็นปัญหา ในอวัยวะขนาดใหญ่ เป็นไปได้ว่า สัตว์ขนาดใหญ่อาจมี hypertumors มากกว่าที่เราคิด แค่มีขนาดไม่ใหญ่พอที่จะแสดงอาการ ซึ่งก็เป็นไปได้ เพราะว่า เนื้องอก 2 กรัม คิดเป็น 10% ของน้ำหนักตัวของหนู น้อยกว่า 0.002% ของมนุษย์ และ 0.000002% ของวาฬน้ำเงิน โดยที่เนื้องอกทั้งสาม มีจำนวนการแบ่งตัวที่เท่ากัน และมีจำนวนเซลล์ที่เท่ากัน

ดังนั้นวาฬน้ำเงินอาจจะเต็มไปด้วยมะเร็งก้อนเล็กๆ แต่ก็ไม่ต้องแคร์อะไร มีคำตอบอื่นอีกสำหรับอธิบายความขัดแย้งของพีโต เช่น ความแตกต่างของระดับการเ ผาผลาญพลังงาน หรือโครงสร้างเซลล์ที่แตกต่างกัน แต่ตอนนี้ พวกเรายังไม่รู้ นักวิทยาศาสตร์ กำลังแก้ไขปัญหานี้อยู่ หาคำตอบว่าสัตว์ขนาดใหญ่สามารถปรับตัวเข้ากับโรคที่ร้ายแรงที่สุดโรคนึงที่เรารู้จักได้อย่างไร ก็จะสามารถเปิดทางสู่วิธีการรักษาแบบใหม่ มะเร็งนั้นเป็นอะไรที่ท้าทายมาโดยตลอด วันนี้ ในที่สุดเราก็เริ่มเข้าใจมันแล้ว และต่อไป ในสักวันนึง เราก็อาจจะเอาชนะมันได้
ที่มา Kurzgesagt – In a Nutshell Youtube Channel

Popular Posts