เห็ดมีพิษ
มีคนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์เก็บเห็ดที่มีพิษมากินจนทำให้เสียชีวิตไปแล้วหลายราย มาดูกันว่าเห็ดแบบไหนที่ไม่ควรนำมาประกอบอาหาร เห็ดพิษในประเทศไทย จำแนกตามสารพิษ โดยหนังสือเห็ดพิษ สมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย ได้จำแนกเห็ดพิษที่สำรวจพบแยกตามกลุ่มสารพิษได้เป็น 7 กลุ่มดังนี้1. กลุ่มที่สร้างสารพิษ Cyclopeptides
เห็ดระโงกหิน
เป็นสารพิษทำลายเซลล์ของตับ ไต ระบบทางเดินอาหาร ระบบเลือด ระบบหายใจและระบบสมอง ทำให้ถึงแก่ชีวิตภายใน 4-10 ชั่วโมง นับได้ว่าเป็นสารพิษในเห็ดที่ร้ายแรงที่สุด เห็ดพิษที่อยู่ในกลุ่มนี้ที่พบในประเทศไทยของเราได้แก่ เห็ดระโงกหิน เห็ดไข่ตายซาก
2. กลุ่มที่สร้างสารพิษ Monomethylhydrazin
เห็ดสมองวัว
สารพิษนี้ทำให้คนถึงแก่ความตายหากรับประทานเห็ดดิบและน้ำต้มเห็ด ทำลายระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาทและทำลายเซลล์ตับ ในประเทศไทยมีรายงานว่าพบอยู่หนึ่งชนิดก็คือ เห็ดสมองวัว
3. กลุ่มที่สร้างสารพิษ Coprine
เห็ดหิ่งห้อย
สารพิษในกลุ่มนี้มีผลต่อระบบประสาทต่อเมื่อรับประทานกับเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เห็ดในกลุ่มนี้ได้แก่ เห็ดหิ่งห้อย เห็ดน้ำหมึกหรือเห็ดถั่ว
4. กลุ่มที่สร้างสารพิษ Muscarine
เห็ดเกล็ดดาว
สารพิษในกลุ่มนี้มีผลต่อระบบประสาท ทำให้ผู้รับประทานเกิดอาการเพ้อคลั่ง เคลิบเคลิ้มและหมดสติอยู่เป็นเวลานาน ไม่มีผลทางสมอง คนป่วยไม่ถึงกับความตาย แต่มีอาการปางตาย ยกเว้นมีโรคอื่นแทรกซ้อนหรือเป็นเด็กที่พบในประเทศไทยคือ เห็ดเกล็ดดาว
5. กลุ่มที่สร้างสารพิษ Ibotenic acid และ Muscimol
สารพิษในกลุ่มนี้มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดอาการเพ้อคลั่ง
6. กลุ่มที่สร้างสารพิษ Psilocybin และ Psilocin
เห็ดขอนเกล็ดสีแดง
เห็ดขี้ควาย
เห็ดพิษที่มีสารกลุ่มนี้ทำให้มีอาการประสาทหลอน มึนเมา อาจถึงขั้นวิกลจริต กล่าวว่ามีอาการเห็นอะไรเป็นสีเขียวหมด ต่อมาอาการจะเป็นปกติ อาจถึงตายได้ถ้ารับประทานเป็นจำนวนมาก มีฤทธิ์เหมือนกัญชาจึงเป็นที่ต้องการของตลาด จึงมีการซื้อขายอย่างลับๆ ในประเทศไทยตามแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อ จัดว่าเป็นเห็ดที่เป็นยาเสพติด เห็ดในกลุ่มนี้มีหลายชนิดได้แก่ เห็ดขี้ควาย เห็ดขอนเกล็ดสีแดง
7. กลุ่มที่สร้างสารพิษ Gastrointestinal
เห็ดหัวกรวดครีบเขียว
เห็ดแดงน้ำหมาก
เห็ดกรวยเกล็ดทอง
เห็ดไข่หงษ์
ทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องร่วง อาจถึงตายได้หากรับประทานในจำนวนมาก แต่สามารถรับประทานได้ถ้าต้มสุกแล้ว นอกจากนี้เห็ดชนิดเดียวกันบางคนแสดงอาการ บางคนก็ไม่แสดงอาการ เมื่อรับประทานดิบจะเป็นพิษ เพราะความร้อนทำลายพิษให้หมดไป เห็ดในกลุ่มนี้มีหลายชนิดได้แก่ เห็ดหัวกรวดครีบเขียว เห็ดกรวยเกล็ดทอง เห็ดไข่เน่า เห็ดแดงน้ำหมาก เห็ดไข่หงษ์
ขอบคุณภาพประกอบจาก https://scratchpad.wikia.com
19 ความฝันที่พบบ่อยที่สุดในโลกและความหมาย
จิตวิทยาความฝัน ฝันถึงประตูหมายความว่าอย่างไร
จิตวิทยาความฝัน ฝันเห็นนกฮูกหมายความว่าอย่างไร
จิตวิทยาความฝัน ฝันเห็นเรือหมายความว่าอย่างไร
จิตวิทยาความฝัน ฝันเห็นปลาวาฬหมายความว่าอย่างไร
จิตวิทยาความฝัน ฝันเห็นช็อกโกแลตหมายความว่าอย่างไร
จิตวิทยาความฝัน ฝันเห็นดวงดาวหมายความว่าอย่างไร
จิตวิทยาความฝัน ฝันถึงงานหมายความว่าอย่างไร
จิตวิทยาความฝัน ฝันเห็นช้างหมายความว่าอย่างไร
จิตวิทยาความฝัน ฝันเห็นหิมะหมายความว่าอย่างไร
จิตวิทยาความฝัน ฝันเห็นนกหมายความว่าอย่างไร
จิตวิทยาความฝัน ฝันเห็นทองหมายความว่าอย่างไร
จิตวิทยาความฝัน ฝันเห็นผีหมายความว่าอย่างไร
จิตวิทยาความฝัน ฝันถึงดาราคนดังเซเลบหมายความว่าอย่างไร
จิตวิทยาความฝัน ฝันเห็นปลาโลมาหมายความว่าอย่างไร
จิตวิทยาความฝัน ความฝันของการเดินทางหมายความว่าอย่างไร
จิตวิทยาความฝัน ฝันถึงหมีหมายความว่าอย่างไร
จิตวิทยาความฝัน ความฝันถึงสงครามหมายความว่าอย่างไร
จิตวิทยาความฝัน ฝันเห็นฝนหมายความว่าอย่างไร
จิตวิทยาความฝัน ฝันเห็นฉลามหมายความว่าอย่างไร
จิตวิทยาความฝัน ฝันเห็นวัวกระทิงหมายความว่าอย่างไร
จิตวิทยาความฝัน ฝันเห็นจระเข้หมายความว่าอย่างไร
จิตวิทยาความฝัน ฝันเห็นหอยทากหมายความว่าอย่างไร
จิตวิทยาความฝัน ฝันเห็นปูหมายความว่าอย่างไร
จิตวิทยาความฝัน ฝันว่าช่วยชีวิตใครสักคนหมายความว่าอย่างไร
จิตวิทยาความฝัน ฝันเห็นขยะหมายความว่าอย่างไร
จิตวิทยาความฝัน ฝันว่าจัดกระเป๋าหมายความว่าอย่างไร
จิตวิทยาความฝัน ฝันเห็นหมอกหมายความว่าอย่างไร
จิตวิทยาความฝัน ฝันเห็นการผ่าตัดหมายความว่าอย่างไร
จิตวิทยาความฝัน ฝันเห็นเครื่องประดับหมายความว่าอย่างไร
ประวัติหลวงปู่ทวดวัดช้างไห้ ตามรอยหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด
ชุ่มฉ่ำรับสงกรานต์ สรงน้ำพระธาตุตามปีเกิดด้วยหัวใจอิ่มบุญ
วิธีตั้งเลขพยากรณ์ ดูดวงตำราพรหมชาติ
ดูดวงตำราพรหมชาติ ปีชวด
ดูดวงตำราพรหมชาติ ปีฉลู
ดูดวงตำราพรหมชาติ ปีขาล
ดูดวงตำราพรหมชาติ ปีเถาะ
ดูดวงทำนายฝัน ความหมายของความฝัน
บทความแนะนำ
เรื่องราวน่ารู้เรียบเรียงจากสารคดีคุณภาพในรูปแบบบทความ
กดถูกใจแฟนเพจเพื่อติดตามและอัพเดตบทความใหม่ๆ คลิกเลย
กดถูกใจแฟนเพจเพื่อติดตามและอัพเดตบทความใหม่ๆ คลิกเลย