โรคไตวายที่ไม่ควรมองข้าม
เมื่ออายุมากขึ้นไตจะเริ่มเสื่อมไปตามอายุขัยธรรมชาติ เป็นไปอย่างช้าๆ และบางภาวะที่ไตเกิดโรคพบว่าไตเสื่อมเร็วกว่าปกติ หรือไตหยุดทำงานทันที เรียกว่า
"โรคไตวายเฉียบพลัน" ซึ่งถ้าได้การรักษาที่เหมาะสมไตจะกลับมาเป็นปกติ แต่ถ้าไตเสื่อมลงอย่างช้าๆ ต่อเนื่องทำให้ไตเกิดความผิดปกติถาวร เรียกว่า "โรคไตเรื้อรัง" ในกรณีที่ไตเกิดความเสื่อมอย่างมาก (ทำงานได้น้อยกว่า 15%) เรียกว่า
"โรคไตวายระยะสุดท้าย" ถ้าไม่รักษาจะทำให้เสียชีวิตในเวลาอันสั้น
โรคไตเรื้อรังเป็นมหันตภัยเงียบ เพราะผู้ป่วยโรคนี้จำนวนมากไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรค และเมื่อโรคนี้ลุกลามไปมากผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับ
การล้างไตซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงมากและต่อเนื่องยาวนานจนกว่าผู้ป่วยจะได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไตหรือเสียชีวิต
โรคไตเรื้อรัง(ไตเสื่อมเร็วกว่าปกติ)/ไตวาย
หมายถึง ไตไม่สามารถกำจัดของเสีย ขับน้ำ ขับเกลือแร่ ออกไปทางปัสสาวะ
สาเหตุการเกิดโรคไตวายเรื้อรัง
1. โรคเรื้อรัง ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิต SLE(ภูมิคุ้มกันผิดปกติ) โรคเกาต์ นิ่วในไต ไตอักเสบ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซ้ำๆ เป็นต้น
2. ผลข้างเคียงจากการใช้ยา และสารเคมีต่างๆ ได้แก่ แก้ปวด "เอ็นเสด" ยาลดความดันโลหิต ยาปฏิชีวนะ ยาลดความอ้วน เป็นต้น
3. กรรมพันธุ์ หรือความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด
อาการโรคไตเรื้อรัง
การแบ่งระยะของโรคไต
ระยะที่ 1 เริ่มตรวจพบความผิดปกติของไต
ระยะที่ 2 "ไตเรื้อรังระยะเริ่ทต้น" ไตเสื่อมระยะเริ่มต้น ไตทำงานเหลือ 60-90% หรือประมาณ 3 ใน 4 ส่วน
ระยะที่ 3 "ไตเรื้อรังระดับปานกลาง" ไตทำงานได้ครึ่งหนึ่งของคนปกติ หรือไตทำงานเหลือ 30-60%
ระยะที่ 4 "ไตเรื้อรังเป็นมาก" ไตทำงานประมาณ 1 ใน 4 ส่วน หรือ ไตทำงานเหลือ 15-30%
ระยะที่ 5 "ไตวาย" ไตทำงานน้อยกว่า 15%
เมื่อไตทำงานผิดปกติ
เมื่อไตทำงานผิดปกติในระยะแรกๆ อาจจะไม่มีอาการใดๆ ของไตวายเลย เมื่อไตเสื่อมจนเป็น "ไตเรื้อรังระยะที่ 3" ไตจะเริ่มขับน้ำและของเสียออกทางปัสสาวะไม่ได้ตามปกติทำให้มีอาการผิดปกติของอวัยวะทุกส่วนของร่างกายดังนี้
1. คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ง่วงซึม สับสน ปวดกระดูกและข้อ
2. โลหิตจาง เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
3. บวมบริเวณข้อเท้า เท้า ปัสสาวะน้อยลง อาการบวมเป็นๆ หายๆ เมื่อเป็นมากขึ้นจะทำให้เกิดน้ำท่วมปอดและหายใจลำบาก
4. ความดันโลหิตสูง ทำให้ปวดศรีษะเรื้อรังและเป็นโรคหัวใจได้
การดูแลตนเองตามระยะการทำงานของไต
ระยะที่ 1 ต้องงดสูบบุหรี่ รักษาโรคที่เป็นสาเหตุ
ระยะที่ 2 จำกัดอาหารเค็ม
ระยะที่ 3 จำกัดอาหารโปรตีน
ระยะที่ 4 จำกัดการกินผลไม้
โรคไตเรื้อรังควรกินอย่างไร
กลุ้มโปรตีน โรคไตระยะที่ 2 ขึ้นไป จำกัดอาหารโปรตีน ถ้ากินโปรตีนมากจะมีของเสียผ่านไตมาก ไตก็จะเสื่อมเร็ว ปริมาณโปรตีนที่ทานได้คือ ประมาณ 0.6-0.8 กรัม/น้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม หรือเนื้อสัตว์ต่างๆ ประมาณมื้อละ 2 ช้อนโต๊ะและไข่ มื้อละ 1 ฟอง (อาจงดไข่แดงในกรณีที่ไขมันในเลือดสูง) ปลา ปลาทู นมพร่องมันเนยวันละ 1-2 กล่อง ควรหลีกเลี่ยงโปรตีนที่ได้จากถั่วต่างๆ เช่น ลูกชุบ ซาลาเปาไส้ถั่ว เต้าหู้ โปรตีนเกษตร นมถั่วเหลือง
กลุ่มผักและผลไม้
ผู้ป่วยโรคไตระดับ 2-3 สามารถทานผักใบเขียวและผลไม้ได้ไม่อั้น แต่ในรายที่เป็นโรคไตระดับ 4-5 โรคไตระดับนี้ไม่สามารถขับโปแตสเซียมส่วนเกินออกได้เท่าคนปกติ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจะต้องระวังในการรับประทานผักและผลไม้ที่มีโปแตสเซียมสูง คือต้องทานในปริมาณน้อยจึงจะปลอดภัย
โปแตสเซียมมากที่สุด ปริมาณ 100 กรัมมีโปแตสเซียม 437-544 มก. หัวปลี ผักชี ต้นกระเทียม ทุเรียน
โปแตสเซียมมาก ปริมาณ 100 กรัมมีโปแตสเซียม 200-400 มก. โหระพา หน่อไม้ฝรั่ง หอมแดง มะเขือเปราะ/พวง กวางตุ้ง เห็ดฟาง แครอท ผักบุ้งไทย ลำไย กล้วย
โปแตสเซียมปานกลาง ปริมาณ 100 กรัมมีโปแตสเซียม 100-200 มก. เห็ดนางฟ้า แตงกวา ฟักเขียว พริกฝรั่ง พริกหยวก ผักกาดขาว มะเขือยาว ผักบุ้งจีน สับปะรด ฝรั่ง มะละกอ ส้ม มะม่วง องุ่น ลิ้นจี่ ละมุด ขนุน
โปแตสเซียมค่อนข้างน้อย ปริมาณ 100 กรัมมีโปแตสเซียมน้อยกว่า 100 มก. บวบเหลี่ยม ถัวพู หอมหัวใหญ่ แตงโม
โปแตสเซียมน้อยที่สุด ปริมาณ 100 กรัมมีโปแตสเซียม 25 มก. เห็ดหูหนู