google.com, pub-6663105814926378, DIRECT, f08c47fec0942fa0 Mega topic | จัดอันดับ | 10 อันดับ| เรื่องผี| เรื่องสยองขวัญ| ที่สุดในโลก| ดูดวง| ประวัติศาสตร์

เอเลี่ยนสปีชี่ส์ หายนะจากต่างแดน ผักตบชวา ไมยราบยักษ์ ปลาซัคเกอร์ หอยเชอรี่

เอเลี่ยนสปีชี่ส์ หายนะจากต่างแดน ผักตบชวา ไมยราบยักษ์ ปลาซัคเกอร์ หอยเชอรี่


เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พืชน้ำชนิดหนึ่งถูกนำเข้ามาในประเทศไทย เพราะมีดอกสวยงาม ต่อมามันได้แพร่ระบาดในแม่น้ำลำคลอง สร้างความเสียหายมหาศาล คนไทยรู้จักพืชน้ำชนิดนี้ดีในนาม "ผักตบชวา"  เกือบร้อยปีต่อมา ในปี ๒๕๔๐ สัตว์ที่ชื่อ "นากหญ้า" ถูกนำเข้าสู่ประเทศไทย เพื่อเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ มันขยายพันธุ์รวดเร็ว และขายได้ราคาดี กลายเป็นข่าวฮือฮาทางหน้าหนังสือพิมพ์ โชคดีที่กรมส่งเสริมการเกษตร และหลายหน่วยงานตระหนักถึงผลเสียใหญ่หลวง หากสัตว์ชนิดนี้หลุดรอดสู่ธรรมชาติ จึงดำเนินการให้กลุ่มผู้เลี้ยงกำจัดได้ทันท่วงที

พ.ศ. ๒๕๔๔ หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ฉบับวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ คอลัมน์เกษตรบนแผ่นกระดาษ เขียนแนะนำพืชที่เรียกว่า "เฟินน้ำ" ว่า นอกจากมีความสวยงามแปลกตา ยังเป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์ได้ทว่า ดร. บรรพต ณ ป้อมเพชร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืช โดยชีวินทรีย์แห่งชาติ กล่าวถึงพืชชนิดเดียวกันนี้ในการประชุม "ความหลากหลายทางชีวภาพ และการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน" เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๔ ว่า "ผมเห็นรูปเฟินน้ำในหนังสือพิมพ์แล้วก็ตกใจ เพราะว่ามันคือจอกหูหนูยักษ์ หรือ Salvinia molesta ซึ่งเป็นวัชพืชที่ก่อปัญหารุนแรงในหลายประเทศ หากปล่อยให้พืชชนิดนี้เข้ามาในบ้านเรา ต่อไปมันจะร้ายยิ่งกว่าผักตบชวาอีก"



ปัจจุบันจอกหูหนูยักษ์ยังไม่แพร่ระบาดในประเทศไทย แต่มีผู้พบว่าพืชชนิดนี้ ถูกวางขายเป็นไม้ประดับตกแต่งตู้ปลาที่ตลาดนัดสวนจตุจักร  พืชและสัตว์ข้างต้น จัดอยู่ในกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า "ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน" (invasive alien species) ซึ่งกำลังแพร่ระบาดคุกคามอย่างรุนแรง ต่อความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลกหากเปรียบประเทศไทยเป็นบ้านหลังหนึ่ง ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานหลายชนิด ที่แพร่ระบาดอยู่ทั่วประเทศขณะนี้
ก็คือฝูงปลวกที่กำลังกัดกินส่วนต่าง ๆ ของบ้านอย่างขะมักเขม้น โดยที่เจ้าของบ้านอาจกำลังนอนเล่นเพลิดเพลินอยู่ก็เป็นได้

๑ ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานเป็นกลุ่มย่อยของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น หรือ alien species คำภาษาอังกฤษอาจชวนให้คนชอบดูภาพยนตร์ คิดไปถึงสัตว์ประหลาดจากต่างดาว แต่ความจริงพวกมันเป็นสิ่งมีชีวิตบนโลกเรานี่เอง  ดร. อุทิศ กุฏอินทร์ คณบดีคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ความหมายของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ว่า คือชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต ที่ไม่เคยปรากฏในถิ่นใดถิ่นหนึ่งมาก่อน แล้วถูกนำมา หรือเดินทางเข้ามายึดครอง และดำรงชีพอยู่ในถิ่นนั้น  จารุจินต์ นภีตะภัฏ ผู้อำนวยการกองวิจัยธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ขยายความให้ สารคดี ฟังว่า
"เอเลียนสปีชีส์คือสิ่งมีชีวิตที่ไม่เคยอยู่ในระบบนิเวศนั้นแต่เดิม พวกที่อพยพมาเอง ก็ถือว่าเป็นเอเลียนฯ อาจติดมากับเครื่องบิน มากับคน หรือถูกพายุพัดมาก็ได้ อย่างพวกนกอพยพไม่ถือเป็นเอเลียนสปีชีส์ เพราะมาอยู่ช่วงหนึ่ง แล้วก็กลับไปตามธรรมชาติ แต่เอเลียนสปีชีส์มาแล้วอยู่เลย ไม่กลับ"

 แม้สิ่งมีชีวิตสามารถแพร่กระจาย หรือเคลื่อนย้ายจากถิ่นหนึ่งสู่อีกถิ่นหนึ่งได้อยู่แล้ว แต่มักเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป และมีกระบวนการทางธรรมชาติ เป็นผู้เลือกสรร ปรับปรุง ทว่ายิ่งโลกเจริญรุดหน้าด้วยวิทยาการ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยเฉพาะการพัฒนาด้านการสื่อสาร และคมนาคม ทั้งถนน เรือเดินสมุทร รถยนต์ และเครื่องบินที่บินข้ามโลก ประกอบกับการค้าระหว่างประเทศ ที่มุ่งนำเข้าและส่งออกพืชและสัตว์ เพื่อผลกำไรทางเศรษฐกิจ ได้ทำให้ชนิดพันธุ์ต่าง ๆ แพร่กระจายอย่างกว้างขวางรวดเร็วไปทั่วโลก ดังนั้นระบบนิเวศดั้งเดิม ที่ผ่านวิวัฒนาการยาวนาน จนกระทั่งเข้าสู่สมดุล จึงต้องเผชิญหน้ากับพืชและสัตว์แปลกใหม่ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนชนิดพันธุ์แปลกหน้าเหล่านี้ บางชนิดปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ไม่ได้ ต้องสาบสูญไปในที่สุด บางชนิดปรับตัวและสถาปนาตัวเอง โดยอยู่ร่วมกับชนิดพันธุ์ท้องถิ่น โดยไม่รบกวนสมดุลของระบบนิเวศ

ทว่าชนิดพันธุ์ต่างถิ่นบางจำพวก นอกจากปรับตัวอยู่รอดในถิ่นใหม่ได้แล้ว ยังพัฒนาจนกลายเป็นชนิดพันธุ์ที่มีความก้าวร้าว สร้างความเสียหายต่อชนิดพันธุ์พื้นเมือง เนื่องจากพวกมันแข็งแรงหรือดุร้าย แก่งแย่งอาหารเก่งกว่า แพร่พันธุ์รวดเร็ว และที่สำคัญ ไม่มีศัตรูธรรมชาติในท้องถิ่นเดิมคอยควบคุมจำนวนประชากร กลุ่มนี้เองที่เราเรียกว่า ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน (invasive alien species)

การรุกรานของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น เป็นการคุกคามที่ร้ายแรงต่อความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลก พวกมันแก่งแย่งที่อยู่อาศัย อาหาร ทำให้ชนิดพันธุ์พื้นเมืองลดจำนวนลง บางกรณีถึงกับสูญพันธุ์ เกิดการครอบครองพื้นที่ โดยชนิดพันธุ์เดียว ทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง สร้างปัญหาตามมาเป็นลูกโซ่ ทั้งปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สุขอนามัย และสังคม ดังตัวอย่างที่เกิดอยู่ทั่วโลกเชื้อรากบซึ่งมีถิ่นกำเนิดที่สหรัฐอเมริกา ระบาดเข้าไปในประเทศปานามา ทำให้กบพื้นเมืองสูญพันธุ์ไปถึง ๕ ชนิด แมวบ้านที่ประเทศสหรัฐอเมริกานำเข้าจากประเทศอื่น ๆ ได้ขยายพันธุ์จนไม่สามารถควบคุมได้ แมวเหล่านี้ฆ่านกในสวนสาธารณะถึงปีละ ๑๐ ล้านตัว ด้วงหนวดยาวที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่น ได้ระบาดเข้าไปในรัฐนิวยอร์ก และกินไม้ยืนต้นในสวนสาธารณะเสียหายเป็นจำนวนมาก ในประเทศนอร์เวย์ ปลาแซลมอนในแม่น้ำกว่า ๓๐ แห่ง ได้สูญหายไป หลังจากมีผู้นำปลาแซลมอนจากทะเลบอลติก เข้าไปเลี้ยงเพื่อการประมง งูต้นไม้สีน้ำตาล ที่ติดไปกับหีบห่อสินค้า และอาวุธยุทโธปกรณ์บนเครื่องบิน สู่เกาะกวม ได้แพร่ระบาดกินสัตว์อื่น ทำให้ประชากรของนก กบ เขียด กิ้งก่า ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว นกพื้นเมืองของเกาะกวมสูญพันธุ์ไปกว่า ๑๒ ชนิด เมล็ดพืชแครอตป่าจากอเมริกากลาง ติดไปกับตู้คอนเทนเนอร์รถบรรทุกขนส่งเมล็ดพันธุ์เข้าสู่อินเดีย แพร่ระบาดไปทั่วประเทศ รุกรานพืชไร่อื่นอย่างรุนแรง นากหญ้าเป็นศัตรูทำลายพืชผลทางการเกษตร ในปี ๒๕๓๗ ที่รัฐลุยเซียนา นากหญ้าทำลายไร่ข้าวจำนวน ๔๖๕,๐๐๐ ไร่ ไร่อ้อยจำนวน ๕๖๐,๐๐๐ ไร่ และที่รัฐเทกซัส ไร่ข้าวถูกทำลายจำนวน ๑,๐๖๒,๕๐๐ ไร่

ประเทศไทยเองก็มีชนิดพันธุ์ต่างถิ่นอยู่เป็นจำนวนมาก บางชนิดถูกนำเข้ามาเนิ่นนาน จนคนเข้าใจผิดว่าเป็นพันธุ์พื้นเมือง บางชนิดเป็นพืชและสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญ แต่ในจำนวนนี้มีบางชนิดที่กลายเป็นผู้รุกราน สร้างปัญหาและความเสียายอย่างมาก ดังเช่น หอยเชอรี่ ไมยราบยักษ์ สาบเสือ หญ้าขจรจบ ปลาดุกรัสเซีย และที่รู้จักกันมานานแล้วก็คือ ผักตบชวา

๒ ในถิ่นกำเนิดที่ทวีปอเมริกาใต้ ผักตบชวาไม่ได้ก่อปัญหาใด ๆ เพราะมีศัตรูธรรมชาติ เช่น แมลง โรค และศัตรูอื่น ๆ คอยควบคุมการระบาด แต่เมื่อถูกนำไปสู่ถิ่นใหม่ ซึ่งปราศจากศัตรูธรรมชาติ จึงแพร่ระบาดสร้างความเสียหายอย่างรุนแรง หลักฐานชิ้นแรก ๆ เท่าที่มีผู้บันทึกไว้คือ เมื่อปี ๒๔๒๗ นักธุรกิจชาวญี่ปุ่นนำผักตบชวา ที่เก็บจากแม่น้ำโอริโนโก ประเทศเวเนซุเอลา ไปแสดงในงานนิทรรศการฝ้าย ที่เมืองนิวออร์ลีนส์ รัฐลุยเซียนา สหรัฐอเมริกา และแจกเป็นที่ระลึก ให้แก่บุคคลสำคัญที่มาเที่ยวชมคนละต้น หลังจากนั้น ๑๑ ปี แม่น้ำเซนต์จอห์นในรัฐฟลอริดา ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองนิวออร์ลีนส์ไปทางใต้ถึง ๖๐๐ ไมล์ เกิดมีแพผักตบชวายาวถึง ๑๐๐ ไมล์ คลุมผิวน้ำห่างไปจากฝั่งถึง ๒๐๐ ฟุต
    
ผักตบชวาถูกนำเข้ามาสู่ประเทศไทยครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ โดยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง ได้ทรงตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จประพาสเกาะชวา (อินโดนีเซียปัจจุบัน) ทอดพระเนตรเห็นดอกผักตบชวาสวยงาม ก็ทรงพอพระทัย จึงโปรดให้นำกลับมาปลูกที่วังสระปทุม เพื่อเป็นไม้ประดับในสระน้ำ โดยนำน้ำจากบ่อผักตบชวาใส่ปี๊บกลับมาด้วย เพราะเกรงว่าผักตบชวาอาจผิดน้ำทำให้เลี้ยงไม่รอดนายทหารเรือชื่อ ร.ท. โดด หม่องมณี ได้รับมอบหมายให้นำผักตบชวากลับมาปลูกที่เมืองไทย ปรากฏว่าผักตบชวาเหล่านั้นเจริญงอกงาม ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว เทพชู ทับทอง เขียนเรื่องนี้ใน "ผักประวัติศาสตร์" ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ฉบับวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๒๐ ว่า"ในระยะแรกๆ นั้น เจ้านายฝ่ายในทั้งหลายตื่นเต้นมาก เข้ามาทูลขอผักตบชวาไปปลูกกันองค์ละหน่อ สองหน่อ ก็โปรดพระราชทานให้ หลังจากใส่กระถางจนเต็มกระถาง ร.ท. โดดก็นำลงปลูกในบ่อพระราชวังพญาไท ผักตบชวาก็ออกดอกงอกงาม เจ้านายที่เคยมาทูลขอก็ชักเบื่อ เพราะนำไปปลูกเองก็ขยายพืชพันธุ์แจกได้มากมาย ดังนั้นจึงทรงโปรดให้ ร.ท. โดด หม่องมณี นำผักตบชวาลงปล่อยในแม่น้ำลำคลองเสีย ครั้งแรกปล่อยลงคลองสามเสนหลังพระราชวังพญาไท ครั้งต่อไปโปรดให้ปล่อยลงคลองเปรมประชากร ครั้งที่สามโปรดให้ปล่อยลงคลองผดุงกรุงเกษม ผักตบชวาก็เลยแพร่หลายเต็มท้องน้ำไทยทุกวันนี้ ร.ท. โดด หม่องมณี ได้รับพระราชทานยศเป็นนายเรือเอก รับพระราชทานเงินถึง ๓ ชั่ง เป็นบำเหน็จรางวัล ต่อมาเกิดน้ำท่วมวังสระปทุม จึงทำให้ผักตบชวาหลุดลอยออกมาภายนอกวัง และเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งระบาดสู่แม่น้ำลำคลองต่าง ๆ ทุกภาคของประเทศไทย"

กระทั่ง พ.ศ. ๒๔๕๖ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ผักตบชวากลายเป็นวัชพืชที่ระบาดรุนแรง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงตระหนักถึงโทษภัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการตราพระราชบัญญัติผักตบชวาขึ้น ใจความตอนหนึ่งว่า
 "เหนือเกล้าฯ ให้ประกาศจงทราบทั่วกันว่า พันธุ์ไม้อย่างหนึ่งซึ่งเรียกกันในประเทศนี้ว่า ผักตบชวา เพราะเหตุที่ได้พันธุ์มาจากเมืองชวา เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๔๔ เป็นพันธุ์ไม้ที่ประกอบด้วยโทษ เพราะเหตุที่เกิดแลงอกงามเร็วเหลือเกิน มีพันธุ์ในที่ใดไม่ช้าก็เกิดพืชพันธุ์งอกงาม เป็นแพแผ่เต็มไปในท้องที่นั้น จนเป็นเหตุให้เสื่อมเสียผลประโยชน์การทำนา เป็นอันตรายแก่ที่เลี้ยงสัตว์น้ำ และเป็นความลำบากขัดข้องแก่การเดินเรือในแม่น้ำลำคลอง" เนื้อหาพระราชบัญญัติระบุไว้ว่า เป็นหน้าที่ของทั้งประชา
ชน และฝ่ายปกครองต้องกำจัดผักตบชวาในท้องที่ของตน และห้ามเคลื่อนย้ายผักตบชวา หรือทิ้งผักตบชวาลงในแม่น้ำลำคลอง ผู้ฝ่าฝืนต้องโทษทั้งจำและปรับ

พระราชบัญญัติผักตบชวา เริ่มประกาศใช้เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๖ เสมือนจุดเริ่มต้นของการประกาศสงครามกับผักตบชวา แต่จากวันนั้นจนถึง  ปัจจุบันเป็นเวลาร่วม ๘๐ ปีแล้ว ทุกวันนี้ เรายังคงเห็นผักตบชวา ในแม่น้ำลำคลองทุกหนแห่ง   รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ เพื่อแก้ปัญหาน้ำเจ้าพระยาเน่าเสีย เรื่องกิจกรรมรณรงค์เพื่อกำจัดผักตบชวา ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ๒๕๔๐ โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทย ระบุว่า ในปัจจุบันสามารถพบผักตบชวาในแหล่งน้ำจืดเกือบทั่วประเทศ โดยจะพบผักตบชวาในแหล่งน้ำต่าง ๆ ใน ๖๔ จังหวัด คิดเป็นปริมาณมากกว่า ๕ ล้านตันต่อปีแหล่งที่มีผักตบชวาเกิดขึ้นชุกชุมได้แก่ พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำท่าจีน ลุ่มน้ำบางปะกง ลุ่มน้ำแม่กลอง และคลองสาขาต่าง ๆ ของแม่น้ำเหล่านั้นเหตุที่การควบคุมกำจัดผักตบชวาไม่ประสบผลสำเร็จในอดีต ส่วนหนึ่งเพราะวัชพืชน้ำชนิดนี้ขยายพันธุ์ และเจริญ
เติบโตเร็วมาก

ผักตบชวาเป็นวัชพืชน้ำ สูงประมาณ ๓๐-๙๐ เซนติเมตร ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่ หรือเกือบกลม ก้านใบพอง ภายในมีรูพรุนคล้ายฟองน้ำ ช่วยพยุงลำต้นให้ลอยน้ำได้ ออกดอกสีม่วงอ่อนอมฟ้า ขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศ คือผสมเกสรแล้วเกิดเมล็ด หรือไม่อาศัยเพศ โดยการแตกไหลจากบริเวณซอกใบ แล้วเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ต่อไปเรื่อย ๆ ส่วนใหญ่ผักตบชวาจะขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
    
งานวิจัยของ สุทธิเจตต์ จันทรศิริ และ สุจรรยา ไซยูปถัมภ์ ระบุว่า ผักตบชวา ๒ ต้น สามารถแตกไหลเป็นต้นใหม่ ๓๐ ต้น ภายในเวลา ๒๐ วัน หรือเพิ่มน้ำหนักขึ้น ๑ เท่าตัวภายในเวลา ๑๐ วัน สามารถขยายตัวปกคลุมผิวน้ำได้ในอัตราร้อยละ ๘ ต่อวัน ถ้าเริ่มปล่อยผักตบชวาในแหล่งน้ำเพียง ๑๐ ต้น จะสามารถแพร่กระจายเพิ่มปริมาณเป็น ๑ ล้านต้นภายในเวลา ๑ ปี มานพ ศิริวรกุล ผู้อำนวยการส่วนวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ กรมชลประทาน กล่าวถึงปัญหาของผักตบชวาในคลองชลประทานว่า  "เนื่องจากภาคกลางมีคลองธรรมชาติจำนวนมาก กรมชลประทานจึงใช้บางคลองเป็นคลองส่งน้ำ หรือคลองระบายน้ำ เพื่อการเกษตร ก็จะมีปัญหาเกี่ยวกับผักตบชวามาก พอถึงหน้าฝน น้ำมา ผักตบชวาลอยมาเต็มไปหมด มากันเป็นแพใหญ่ ๆ แล้วกำลังมันเยอะ สะพานไม้ข้ามคลอง หรือท่าน้ำหน้าบ้านชาวบ้านพังหมด สะพานข้ามคลองบางแห่งเป็นคอนกรีตยังพังเลย คลองบางแห่งมันจับกันเป็นแพแน่นทึบ เขียวครึ้มไปหมด แน่นมากขนาดคนลงไปเดินได้ คนงานกรมชลฯ ต้องลงไปใช้เลื่อยตัดให้ขาดจากกันแล้วดึงขึ้นมา

 "เราปล่อยไว้ไม่ได้ เพราะผักตบชวาจะกีดขวางการไหลของน้ำ ทำให้ประสิทธิภาพการส่งน้ำลดลง ส่งน้ำลำบาก ผักตบชวาติดหน้าประตูน้ำ ต้องเสียงบประมาณกำจัด ทั้งยังเป็นอุปสรรคต่อการสัญจรทางน้ำ ชาวบ้านเดือดร้อน ถ้ามันขึ้นในอ่างเก็บน้ำ เช่นทางภาคเหนือ หรืออีสาน ก็จะไปเบียดบังเนื้อที่ของน้ำ ทำให้เสียทัศนียภาพ และทำให้น้ำระเหยมากกว่าปรกติสามถึงห้าเท่าตัว"  นอกจากที่มานพกล่าว ผักตบชวายังเป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหาร รวมถึงที่วางไข่ของหอยเชอรี่ ศัตรูตัวร้าย
ของนาข้าว เป็นที่อยู่ของหนู สัตว์เลื้อยคลาน งูพิษ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงเสือ ซึ่งเป็นพาหะนำโรคเท้าช้าง

ผักตบชวาที่ตายแล้ว จะไหลไปจมสะสมอยู่บริเวณปากแม่น้ำ ทำให้เกิดการตื้นเขิน เช่นแม่น้ำท่าจีนแต่ละปี มีผักตบชวาตาย และทับถมเป็นตะกอนปีละกว่า ๓ หมื่นตัน ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายมหาศาล ในการขุดลอกปากแม่น้ำ ที่น่าเป็นห่วงคือผลกระทบต่อระบบนิเวศ ผักตบชวาที่ขึ้นหนาแน่น บดบังไม่ให้แสงแดดส่องลงไปในน้ำ ทำให้พืชน้ำและแพลงก์ตอนในน้ำ ซึ่งเป็นอาหารสัตว์น้ำลดปริมาณลง นอกจากนี้ยังขัดขวางการละลายของออกซิเจนลงไปในน้ำ ทำให้แหล่งน้ำนั้นมีออกซิเจนละลายน้ำต่ำกว่าภาวะปรกติ อาจถึงขั้นทำให้น้ำเน่าเสีย

เหตุที่ผักตบชวาสร้างความเสียหายหลายด้าน ทำให้หลายหน่วยงานต้องเข้ามารับภาระกำจัด ทั้งกรมโยธาธิการ กรมเจ้าท่า กรมชลประทาน กรมประมง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรมการทหารช่าง กรมควบคุมมลพิษ รวมถึงหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเอง  ที่ผ่านมาการกำจัดผักตบชวามีอยู่หลายวิธี เช่น ใช้แรงงานคนเก็บ ใช้สารเคมี ใช้เครื่องจักรกล แต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน บางวิธีมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม บางวิธีมีประสิทธิภาพแต่เสียค่าใช้จ่ายสูง แต่ทุกวิธีมีส่วนเหมือนกันคือ ไม่สามารถกำจัดผักตบชวาได้อย่างถาวร หากไม่กำจัดทุกปี หรือปีละสองครั้ง ผักตบชวาก็จะงอกงามได้ใหม่

หนทางกำจัดผักตบชวาอีกวิธีหนึ่ง คือการควบคุมโดยชีววิธี (biological control) คนทั่วไปอาจไม่คุ้นชื่อ ผู้เกี่ยวข้องกล่าวว่า วิธีนี้แม้จะใช้เวลานานแต่ให้ผลค่อนข้างถาวร ทั้งยังไม่ก่อให้เกิดมลภาวะในน้ำและสภาพแวดล้อม  ดร. บรรพต ณ ป้อมเพชร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ ผู้มีประสบการณ์ทำงานควบคุมผักตบชวา โดยชีววิธีมากว่า ๒๐ ปี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า

 "แนวคิดเรื่องนี้มีอยู่ว่า ผักตบชวาในถิ่นกำเนิดที่อเมริกาใต้ไม่เป็นวัชพืช เพราะมีศัตรูธรรมชาติหลายร้อยหลายพันชนิด ไม่ว่าจะเป็นโรค เป็นแมลง หรือสภาพดินฟ้าอากาศ ทำไมเราไม่เลียนแบบล่ะ โดยการกลับไปถิ่นเดิมของมัน ไปดูว่าศัตรูธรรมชาติเหล่านั้นมีอะไรบ้าง สามารถนำกลับมาใช้ที่บ้านเราได้ไหม"แมลงศัตรูธรรมชาติของผักตบชวาในอเมริกาใต้ ที่ถูกนำมาทดสอบ และใช้ควบคุมผักตบชวาได้ผลดีในประเทศสหรัฐอเมริกา และออสเตรเลียก็คือ ด้วงงวงผักตบชวาลายแต้ม (Neochetina eichhorniae) และด้วงงวงผักตบชวาลายบั้ง (Neochetina bruchi)

ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ เริ่มดำเนินการนำด้วงงวงผักตบชวาลายแต้ม จากรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา เข้าสู่ประเทศไทยตั้งแต่ปี ๒๕๒๐ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัย ว่าจะไม่ทำลายพืชในท้องถิ่น โดยทดสอบกับพืชมากกว่า ๔๐ ชนิด เมื่อได้ผลเป็นที่พอใจแล้วก็เริ่มนำแมลงชนิดนี้ไปปล่อยในแหล่งน้ำทั่วประเทศ ที่มีผักตบชวา เริ่มต้นที่ทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เมื่อปี ๒๕๒๒  ต่อมาศูนย์ฯ ได้นำด้วงงวงผักตบชวาลายบั้งจากประเทศออสเตรเลีย เข้ามาทดสอบ และเริ่มปลดปล่อยเป็นครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๓๔ ที่กว๊านพะเยา จังหวัดพะเยาการตามล่าตามล้างผักตบชวา โดยศัตรูเก่าจึงได้เริ่มขึ้น และดำเนินต่อมาภายใต้การติดตาม และประเมินผลของเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืช โดยชีวินทรีย์แห่งชาติทุกระยะ

"จากที่เรานำด้วงงวงผักตบชวาเข้ามาระยะแรกจำนวน ๑,๐๐๐ ตัว เดี๋ยวนี้มันมีอยู่เต็มไปหมด คุณจะเอากี่พันล้านตัว แต่เราก็ยังปลดปล่อยเพิ่มอยู่เสมอ อาทิตย์ที่แล้วผมเพิ่งไปปลดปล่อยที่เชียงใหม่ ปลดปล่อยทุกพื้นที่ที่เห็นผักตบชวา ตอนหลังบางแห่งที่ไม่ได้ปลดปล่อย เราก็เจอด้วงอยู่เหมือนกัน" ดร. บรรพตกล่าว  ในตอนกลางคืน ด้วงงวงผักตบชวาจะออกจากที่ซ่อนตัวตามซอกใบใกล้ระดับน้ำ หรือจากใบอ่อนที่ยังม้วนเป็นกรวย เพื่อกัดกินใบผักตบชวา ส่วนตัวหนอนของด้วงงวงผักตบชวา จะเจาะไชอยู่ภายในก้านใบ เมื่อตัวหนอนโตขึ้น และเจาะไชลึกลงไปถึงเหง้า หากตัวหนอนมีจำนวนมากพอ ก็สามารถทำให้เหง้าฉีกขาด และหน่ออ่อนถูกทำลาย รอยเจาะไชของตัวหนอนที่เหง้า จะทำให้เกิดเชื้อโรคแทรกแซง ทำให้ต้นผักตบชวาชะงักการเติบโต และขัดขวางการขยายพันธุ์ของผักตบชวา แต่ความเสียหายเหล่านี้จะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ และขึ้นอยู่กับจำนวนด้วงในแหล่งน้ำ ที่มีผักตบชวานั้น ๆ ด้วย
   
"ขณะนี้ด้วงที่เรานำมา กินผักตบชวาทั่วประเทศมากกว่า ๕๐ เปอร์เซ็นต์แล้ว แต่คนไม่ค่อยรู้" ดร. บรรพตกล่าว "อย่างที่ทะเลน้อย ตอนที่เราไปปลดปล่อยด้วงครั้งแรก มีผักตบชวาขึ้นแน่นไปหมด แต่ตอนนี้เหลือกระจายเป็นจุดๆ มันขึ้นอยู่กับพื้นที่ด้วย แหล่งน้ำบางแห่งเราอาจกำจัดผักตบชวาได้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แต่บางแห่งอาจกำจัดได้ ๓๐ เปอร์เซ็นต์     "อย่างไรก็ตาม ผักตบชวาเข้ามาสู่ประเทศไทยเกือบร้อยปี แล้ว ขณะที่เราเพิ่งนำแมลงศัตรูธรรมชาติของมันเข้ามาได้ ๒๐ กว่าปี อีก ๕๐ ปีข้างหน้า ผมว่าผักตบชวาจะลดลงอีกมาก แต่มันไม่มีทางหมดจากประเทศไทยหรอก เพียงแต่สามารถควบคุมให้อยู่ในปริมาณที่สมดุล ไม่แพร่ระบาดอย่างรุนแรง"
    
แม้วันนี้ผักตบชวาไม่สร้างปัญหารุนแรงเช่นในอดีต แต่ใช่ว่าเราจะนอนหลับฝันดี เพราะยังมีผู้รุกรานจากต่างถิ่นอีกหลายชนิดพันธุ์ ที่ทยอยเผยโฉมออกมาด้วยบทบาทที่ชวนให้หวั่นวิตก หนึ่งในจำนวนนั้นคือไมยราบยักษ์  

๓ ขณะที่ผักตบชวาถูกนำเข้ามาเป็นไม้ประดับ ไมยราบยักษ์ (Mimosa pigra) ถูกนำเข้าสู่ประเทศไทย ด้วยจุดประสงค์ด้านการเกษตร ถิ่นกำเนิดของไมยราบยักษ์ อยู่ที่ประเทศแถบอเมริกากลาง และทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ประมาณ
พ.ศ. ๒๔๙๕ ผู้นำเกษตรกรชาวไร่ยาสูบทางภาคเหนือ ได้นำเมล็ดพันธุ์ไมยราบยักษ์สองชนิดจากประเทศอินโดนีเซีย มาปลูกที่อำเภอเชียงดาว และอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ ไมยราบยักษ์ และไมยราบเครือ (Mimosa invisa) เพื่อนำมาใช้เป็นพืชบำรุงดิน ในอุตสาหกรรมไร่ยาสูบเป็นหลัก ปรากฏว่าได้ผลดีเฉพาะไมยราบเครือ ซึ่งเป็นพืชล้มลุกที่เจริญแบบไม้เลื้อย มีลำต้นอ่อน ส่วนไมยราบยักษ์มีลำต้นแข็ง การไถกลบทำได้ยาก จึงไม่เป็นที่นิยม ต่อมาไมยราบยักษ์ได้แพร่ระบาด สร้างความเสียหายทั่วภาคเหนือ

ไมยราบยักษ์เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ ๑-๓ เมตร ใบเป็นใบประกอบ ใบย่อยมีขนาดเล็ก ตลอดลำต้นรวมทั้งก้าน และแกนใบเต็มไปด้วยหนามแหลม เจริญเติบโตได้ดีในแทบทุกสภาพแวดล้อมของเมืองไทย ทั้งในที่ลุ่ม กระทั่งบนภูเขาสูง แต่ที่ชอบเป็นพิเศษคือพื้นที่ชุ่มชื้นหรือมีน้ำขัง ดังนั้นบริเวณริมแม่น้ำ ลำธาร อ่างเก็บน้ำ คลองชลประทาน มักพบไมยราบยักษ์ขึ้นอยู่เป็นกลุ่มหนาแน่น กระทั่งรุกล้ำลงไปในน้ำ ซึ่งส่งผลให้แหล่งน้ำนั้นตื้นเขิน หรือเปลี่ยนเส้นทางน้ำ หนามไมยราบยักษ์ยังเกี่ยวเศษขยะที่ไหลมาตามน้ำ เศษขยะจะเป็นตัวลดความเร็วกระแสน้ำ ทั้งยังเป็นอุปสรรคสำคัญในการทำประมงของชาวบ้านอีกด้วย
    
มานพ ศิริวรกุล ผู้อำนวยการส่วนวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ กรมชลประทาน อดีตหัวหน้าฝ่ายวัชพืช กล่าวว่า "คลองส่งน้ำของกรมชลฯ มีอยู่ทั่วประเทศ ทำหน้าที่ส่งน้ำจากเขื่อน อ่างเก็บน้ำ หรือฝาย ไปสู่พื้นที่การเกษตร พอไมยราบยักษ์ขึ้นหนาแน่น ทำให้เราลำบากในการบำรุงรักษาแหล่งน้ำ เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการส่งน้ำเข้าสู่พื้นที่การเกษตร เกษตรกรก็เดือดร้อน 
    
"ภายหลังมันระบาดลงอ่างเก็บน้ำด้วย กรณีอ่างขนาดเล็ก ความจุไม่เกินล้านลูกบาศก์เมตร น้ำตื้น หากไม่กำจัดทิ้ง ปล่อยไว้หลาย ๆ ปีไมยราบยักษ์ก็ขึ้นเต็มอ่าง อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ มันจะขึ้นรอบ ๆ ขอบอ่าง ปีไหนไม่ได้กำจัด หรือน้ำน้อยมันก็รุกเข้าไปมาก เช่นเขื่อนกิ่วลมที่จังหวัดลำปาง ทางด้านเหนือเขื่อน เป็นบริเวณที่ตื้น มีไมยราบยักษ์ขึ้นอยู่นับหมื่นไร่" กรมทางหลวงแผ่นดินและการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นอีกสองหน่วยงานที่ได้รับผลกระทบ เพราะมีไมยราบยักษ์ขึ้นบริเวณสองข้างทางหลวง และตามแนวทางรถไฟในภาคเหนือ บดบังทัศนวิสัย และสัญญาณจราจร เพิ่มอุบัติเหตุในการขับขี่ ในแต่ละปีต้องสูญเสียงบประมาณจำนวนมาก เพื่อกำจัดไมยราบยักษ์ไม่เพียงเท่านั้น ไมยราบยักษ์ยังระบาดในบริเวณที่ว่าง ซึ่งเป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ ส่งผลให้พืชอาหารสัตว์ลดลง และเป็นแหล่งที่อยู่ของแมลงศัตรูพืชต่าง ๆ
    
เช่นเดียวกับผักตบชวา สาเหตุที่ไมยราบยักษ์เป็นวัชพืชร้ายแรง เพราะมันสามารถผลิตเมล็ด สำหรับการแพร่กระจายพันธุ์ปีละจำนวนมากมายมหาศาล  ไมยราบยักษ์จะเริ่มออกดอกเมื่ออายุประมาณ ๖-๘ เดือน แต่ละปีจะออกดอกต่อเนื่องกันเฉลี่ยประมาณ ๖ ครั้งในฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม เมื่อผสมเกสรแล้วดอกจะร่วง ติดฝัก ภายในฝักมีเมล็ด ไมยราบยักษ์ต้นหนึ่ง สามารถผลิตเมล็ดได้ ๓ หมื่นถึง ๕ หมื่นเมล็ดต่อปี

ศ. ดร. รังสิต สุวรรณเขตนิคม จากภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึงลักษณะพิเศษในการแพร่กระจายพันธุ์ของไมยราบยักษ์ว่า "ขณะที่ฝักมะขาม ฝักถั่วทั่ว ๆ ไป จะแตกตามยาว เมล็ดร่วงลงไป แต่ฝักไมยราบยักษ์แตกตามขวางออกเป็นปล้อง ๆ ส่วนเปลือกแข็งของฝักยังหุ้มเมล็ดไว้ และในฝักมีฟองอากาศอยู่ ทำให้มันไม่จมน้ำ สามารถลอยตามน้ำไปได้ไกล ๆ เพื่อแพร่พันธุ์"เปลือกแข็งยังทำให้เมล็ดไมยราบยักษ์ทนทาน คงทนต่อสภาพแวดล้อม และมีอายุยืนยาว "ในกรณีร่วงสู่ดิน เมล็ดไมยราบยักษ์สามารถฝังตัวอยู่ใต้ดินเป็นเวลานาน เช่นปีหนึ่งผลิตเมล็ดมา ๕ หมื่นเมล็ด ชุดแรกอาจงอกเป็นต้น ๒-๓ หมื่นเมล็ด ที่เหลือจะค่อย ๆ ทยอยงอกขึ้นมาเรื่อยๆ ถึงสามปีก็ยังงอกได้"มานพกล่าว     "ปี ๒๕๑๗ ในที่ประชุมวิชาการ สัมมนาเรื่องวัชพืชน้ำ ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตเป็นผู้จัด มีคนบอกว่า เริ่มมีไมยราบยักษ์ระบาดแล้ว แต่ตอนนั้นไม่ค่อยมีใครรู้ กรมชลฯ เองเริ่มตระหนักถึงปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจังประมาณปี ๒๕๒๐ เมื่อพบไมยราบยักษ์ขึ้นหนาแน่น บริเวณริมคลองส่งน้ำ และแหล่งชลประทาน"ช่วงแรกไมยราบยักษ์ระบาดหนักเฉพาะภาคเหนือ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ และลำปาง พบว่า ไมยราบยักษ์ระบาดอยู่ตลอดริมแม่น้ำสายหลัก เช่น แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง ทั้งในคลองชลประทาน และคลองระบายน้ำบางคลอง ต่างก็มีไมยราบยักษ์ขึ้นอยู่หนาแน่นมาก
  
แต่ปัจจุบันนี้กล่าวได้ว่าไมยราบยักษ์ระบาดไปทั่วประเทศแล้ว โดยเมล็ดของมันแพร่กระจายไปทั้งทางน้ำและทางบก อีกส่วนหนึ่งคือเมล็ดที่หลุดจากเปลือกจมลงสู่แม่น้ำ ต่อมามีผู้ดูดทรายแม่น้ำไปใช้ในการก่อสร้าง เมล็ดที่ฝังอยู่ในทรายจึงติดไปด้วย เอกสารของกรมวิชาการเกษตร เรื่อง "ไมยราบยักษ์และการควบคุม" เขียนโดย ดร. ไพฑูรย์ กิตติพงษ์ ระบุว่า ตัวอย่างการแพร่กระจายของไมยราบยักษ์ที่เกิดขึ้นทางบกคือ การแพร่กระจายจากจังหวัดเชียงใหม่ สู่จังหวัดเชียงราย ซึ่งเกิดขึ้นโดยอาศัยการก่อสร้างเส้นทางสายใหม่ ระหว่างจังหวัดเชียงใหม่ผ่านอำเภอเวียงป่าเป้าสู่จังหวัดเชียงราย เพราะการก่อสร้างเส้นทางคมนาคมสายนี้ใช้วัสดุก่อสร้าง เช่นดินและทรายจากแม่น้ำปิง และเครื่องมือจากเชียงใหม่ทำการก่อสร้าง ตลอดแนวสองข้างทางสายนี้ จึงพบไมยราบยักษ์ขึ้นเจริญงอกงามเป็นระยะ เพราะเมล็ดไมยราบยักษ์ ได้ติดปะปนไปกับวัสดุก่อสร้าง และเครื่องมือที่ใช้ และประกอบกับเส้นทางเชียงใหม่-เชียงราย ได้ทอดผ่านลำน้ำสำคัญ เช่น ลำน้ำแม่เจดีย์ แม่ลาว แม่สรวย และแม่ขะจาน ซึ่งเป็นสาขาหลักของแม่น้ำกกในจังหวัดเชียงรายด้วย ดังนั้นไมยราบยักษ์จึงอาศัยแม่น้ำเหล่านี้ แพร่กระจายทั่วลำน้ำกก ยิ่งไปกว่านั้นไมยราบยักษ์บริเวณนี้ ยังได้อาศัยแม่น้ำสำคัญสามสายในจังหวัดเชียงรายคือ แม่น้ำรวก แม่น้ำดำ และแม่น้ำกก เปิดทางสู่ดินแดนอันไพศาลของลุ่มน้ำโขง
    
ขณะนี้มีรายงานว่าพบไมยราบยักษ์ระบาดอยู่ในประเทศพม่า ลาว เวียดนาม และตามแนวแม่น้ำโขงโดยทั่วไป     ส่วน มานพ ศิริวรกุล ให้ข้อมูลการแพร่ระบาดของไมยราบยักษ์ว่า     "บางครั้งมีคนเอาไปแพร่โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่นคน
อีสานเอาเมล็ดไมยราบยักษ์จากภาคเหนือ ไปปลูกริมคลองที่บ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้วัวควายลงไปในน้ำ พอมันโต เมล็ดตกลงไปในน้ำ ปรากฏว่าระบาดไปทั่วภาคอีสานหลายปีแล้ว มีอยู่มากทั้งจังหวัดอุดรธานี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ที่หนองคายก็ระบาดริมแม่น้ำโขงเกือบ ๒๐ ปีแล้ว     "หรือรถบรรทุกที่ขึ้นไปส่งของทางภาคเหนือ วิ่งผ่านดงไมยราบยักษ์ ขากลับเมล็ดก็ติดมากับรถ เมื่อคนขับหยุดล้างรถระหว่างทางแถวจังหวัดตาก กำแพงเพชร เมล็ดก็ตกอยู่ตรงนั้น กระจายไปทั่ว มาถึงภาคกลาง สระบุรี จะไปโคราช ที่อ่างเก็บน้ำลำตะคองเป็นอีกจุดที่คนขับรถบรรทุกชอบแวะล้างรถ ก็พบว่ามีไมยราบยักษ์เจริญงอกงามจำนวนมาก
   
"ที่อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง และอยุธยา มีฟาร์มเป็ดอยู่ มีคนเอารถปิกอัปขนไข่ขึ้นไปขายภาคเหนือ เมล็ดไมยราบยักษ์ติดมากับรถเช่นกัน ขณะนี้บริเวณฟาร์มเป็ด จึงมีไมยราบยักษ์ขึ้นอยู่และกระจายไปทั่ว"   "ทางภาคใต้ คนภาคใต้ได้ยินว่าทางภาคเหนือส่งเสริมการปลูกต้นสักทอง ก็อยากปลูกบ้าง เลยขับรถขึ้นไปซื้อต้นกล้าใส่ถุงเพาะชำกลับไปปลูก ในถุงเพาะชำนั้นมีเมล็ดไมยราบยักษ์ติดไปด้วย ก็เลยระบาด จังหวัดนราธิวาสมีไมยราบยักษ์ระบาดมาก หรือจังหวัดสุราษฎร์ฯ ตรัง นครศรีธรรมราช ผมขับรถ หรือนั่งรถไฟไปก็เห็น เริ่มมีมากแล้ว"
    
นอกจากนี้ ไมยราบยักษ์ยังระบาดมาถึงบางพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นครนายก และฉะเชิงเทราอีกด้วย     มานพกล่าวถึงการควบคุมกำจัดไมยราบยักษ์ว่ามีอยู่หลายวิธีด้วยกัน     "ถ้าเราตัดฟัน ไมยราบยักษ์ก็แตกขึ้นมาได้อีก ต้องขุดถอนอย่างเดียว แต่ไมยราบยักษ์มีรากแก้ว ถอนลำบาก ถ้าใช้วิธีตัดแล้วเผา เมล็ดที่อยู่ในดิน หรือผิวดินเมื่อโดนความร้อน จะยิ่งงอกเร็วขึ้น วิธีการกำจัดไมยราบยักษ์ที่ได้ผลดีคือ กำจัดด้วยสารเคมีกำจัดวัชพืช แต่วิธีนี้อาจก่อให้เกิดผลเสีย
หายแก่สภาพแวดล้อม ถ้าปฏิบัติไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ผู้กำจัดต้องมีประสบการณ์ แล้วต้องทำสม่ำเสมอ พื้นที่เดียวกันกำจัดไปปีที่แล้ว หยุดสองสามปี ไมยราบยักษ์ขึ้นเต็มอีกแล้ว เป็นเพราะเมล็ดจำนวนมหาศาลยังฝังอยู่ใต้ดิน เสมือนธนาคารเมล็ด งอกใหม่ได้เรื่อย ๆ รวมถึงเมล็ดที่ลอยมากับน้ำด้วย"
    
ทางศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ ได้นำศัตรูธรรมชาติ อาทิ ด้วงเจาะเมล็ดไมยราบยักษ์ (canthoscelides sp.) เข้ามาปล่อยในประเทศไทย จากการประเมินผลพบว่า ด้วงสามารถทำลายเมล็ดไมยราบยักษ์ได้ประมาณ ๑๕ เปอร์เซ็นต์ต่อปี     "การกำจัดไมยราบยักษ์ให้หมดจากประเทศไทยเป็นเรื่องยาก" มานพให้ความเห็น "ส่วนหนึ่งเพราะแต่ละหน่วยงานต่างคนต่างทำ เช่นกรมทางหลวงก็กำจัดเฉพาะที่อันตราย บริเวณห่างจากริมถนนไม่เกินสามหรือห้าเมตร
ลึกเข้าไปกว่านั้นไม่ได้กำจัด เพราะต้องใช้งบประมาณมาก กรมชลประทานเองงบประมาณกำจัดวัชพืชทั่วประเทศก็มีจำกัด ต้องกำจัดวัชพืชทุกชนิด ที่มีปัญหากับระบบชลประทาน เฉพาะไมยราบยักษ์ เราต้องเลือกกำจัดในบริเวณที่มีปัญหารุนแรง
    
"ถ้าจะกำจัดไมยราบยักษ์ให้หมดสิ้นจริง ๆ ปัญหาก็คือต้องใช้งบประมาณสูงมาก อาจเป็นพันล้านบาท ต้องรู้พื้นที่การระบาดทั้งหมด แล้วกำจัดพร้อมกันทีเดียว ไม่ให้เหลือเล็ดลอดแพร่พันธุ์ต่อไป ทุกหน่วยงานต้องร่วมมือกัน ทั้งกรมชลประทาน กรมทางหลวงฯ กรมประมง กรมเจ้าท่า กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร รวมถึงโครงการหมู่บ้านจัดสรรต่าง ๆ บริษัทรับเหมาก่อสร้าง ต้องคอยกำจัดไมยราบยักษ์ที่ขึ้นจากเมล็ดที่ติดมากับทรายจากแม่น้ำ"     นอกจากผักตบชวาและไมยราบยักษ์ พืชต่างถิ่นอีกหลายชนิด ที่เข้ามาสร้างปัญหากับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยได้แก่ สาบเสือ ผักเป็ดน้ำ สาบหมา ผกากรอง จอก ขี้ไก่ย่าน วนสัตว์ที่ได้ชื่อว่าเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน ลำดับต้น ๆ ที่นักวิชาการ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวนาต้องนึกถึง ก็คือหอยเชอรี่

๔ คงไม่มีชาวนาไทยคนไหนไม่รู้จัดหอยเชอรี่ ด้วยอาหารโปรดของสัตว์ชื่อน่ารักชนิดนี้คือต้นข้าวอ่อน ๆ ในแปลงนา การแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของหอยเชอรี่ ช่วงหลายปีที่ผ่านมา ได้สร้างความเสียหายต่อพื้นที่นาข้าวทั่วประเทศใครเคยไปเดินเที่ยวท้องทุ่งย่านชานเมือง ตามต่างจังหวัด หรือกระทั่งคูคลองหนองบึงในกรุงเทพฯ เองก็ตาม คงเคยเห็นก้อนสีชมพูสดใส อัดแน่นด้วยเม็ดเล็ก ๆ ขนาดประมาณเมล็ดพริกไทยจำนวนมาก เกาะอยู่ตามเรียวใบไม้น้ำ กิ่งไม้ ตามริมฝั่ง หรือกระทั่งเสาปูน มันคือกลุ่มไข่     หอยเชอรี่ที่ให้ความรู้สึกสดใสอ่อนโยน แต่นั่นเป็นช่วงก่อนที่ไข่จะฟักเป็นตัว     "เวลาหอยเชอรี่กินข้าว ปากมันจะรูดกัดใบข้าวเหมือนล้อรถตีนตะขาบ"
    
ศักดา ศรีนิเวศน์ ผู้จัดการหอยเชอรี่ สถาบันส่งเสริมเกษตรชีวภาพ และโรงเรียนเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า หอยเชอรี่ชอบกัดกินต้นข้าวระยะเป็นต้นกล้า และระยะปักดำใหม่ๆ เมื่อข้าวแตกกอเต็มที่จึงกินน้อยลง มันจะใช้ส่วนขากรรไกร (jaw) กัดใบข้าวส่งเข้าในช่องปาก กล้ามเนื้อรอบช่องปากจะทำงานให้ส่วนแรดูลา (radula) ซึ่งเป็นแถบเส้นบางคล้ายโซ่จำนวน ๕ แถว เรียงรายด้วยฟันแหลมคมหลายร้อยซี่ ขยับไปมาบดเคี้ยวอาหาร หอยเชอรี่จำนวน ๑๒,๘๐๐ ตัว สามารถกินข้าวในนา ๑ ไร่ หมดภายในคืนเดียว     นอกจากข้าว หอยเชอรี่ยังกินพืชน้ำได้เกือบทุกชนิดที่มีใบอ่อนนิ่ม ไม่ว่าผักบุ้ง ผักกระเฉด จอก แหนแดง สาหร่ายต่างๆ รวมถึงซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยในน้ำ มันสามารถกินได้รวดเร็ว ในปริมาณเฉลี่ยวันละ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว และกินอาหารได้ตลอดเวลา ๒๔ ชั่วโมง
    
หอยเชอรี่เป็นสัตว์พื้นเมืองของทวีปอเมริกาใต้ ถูกนำเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อปี ๒๕๒๕-๒๕๒๖ เพื่อมาทำฟาร์มเลี้ยงส่งขายประเทศญี่ปุ่น และขายเป็นสัตว์เลี้ยงประดับตู้ปลาที่ตลาดนัดสวนจตุจักร ภายหลังผู้เลี้ยงหาตลาดไม่ได้ ประกอบกับหอยขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วจนมีปริมาณมาก จึงถูกนำไปปล่อยลงแม่น้ำลำคลอง     การแพร่กระจายของหอยเชอรี่ในนาข้าว พบเป็นครั้งแรก     ตอนต้นปี ๒๕๓๐ ในนาทดลองสถานีทดลองข้าวบางเขน กรมวิชาการเกษตร กระทั่งต้นปี ๒๕๓๑ ประชากรหอย
เชอรี่เพิ่มมากขึ้น และทำลายต้นข้าวในแปลงทดลองของสถานีเสียหายทั้ง ๑๐๐ ไร่
    
ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตรระบุว่า ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๓๑ ได้รับรายงานการระบาดของหอยเชอรี่ในนาข้าวท้องที่หมู่ ๗ ตำบลศีรษะจรเข้น้อย อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ตามด้วยอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ต่อมาเกิดอุทกภัยขึ้นในปี ๒๕๓๓ หอยเชอรี่ได้ระบาดทำความเสียหายในท้องที่ ๘ จังหวัด พื้นที่ ๒๓,๐๘๖ ไร่ และระบาดเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี กระทั่ง      พ.ศ. ๒๕๓๘ เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในประเทศไทย ทำให้หอยเชอรี่แพร่ระบาดทำความเสียหายในท้องที่ ๒๗
จังหวัด พื้นที่ ๔๐๓,๘๙๖ ไร่ และขยายการระบาดในปี ๒๕๓๙ ในท้องที่ ๓๐ จังหวัด มีพื้นที่ได้รับความเสียหาย ๔๕๙,๒๒๙ ไร่ทว่าข้อมูลล่าสุดจากรายงานการระบาดของหอยเชอรี่ ตามหนังสือกรมส่งเสริมการเกษตรที่ กษ ๑๐๒๕/๐๖๒๗ ลงวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๓ สรุปสถานการณ์การระบาดของหอยเชอรี่ระหว่างเดือนพฤษภาคม - กันยายน ๒๕๔๓ พบว่าหอยเชอรี่ระบาดในพื้นที่ ๖๐ จังหวัด พื้นที่เสียหายจำนวนมากถึง ๕,๕๔๘,๗๒๖ ไร่ โดยจังหวัดที่มีพื้นที่เสียหายมากในลำดับต้น ๆ ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี สุโขทัย อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร ปทุมธานี ขอนแก่น พิษณุโลก เชียงใหม่ และศรีสะเกษ
    
นอกจากประเทศไทย หอยเชอรี่ยังระบาดไปทั่วเอเชีย ทั้งที่ประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน จีนแผ่นดินใหญ่ เขมร มาเลเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง ซึ่งหลายประเทศเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญของโลก     ชมพูนุช จรรยาเพศ นักสัตววิทยา ๗ กรมวิชาการเกษตร ซึ่งทำงานวิจัยเรื่องหอยเชอรี่ตั้งแต่ปี ๒๕๓๒ กล่าวว่าที่หอยเชอรี่เป็นศัตรูข้าวที่สำคัญในยุคนี้ เป็นเพราะสัตว์ชนิดนี้แพร่กระจายเร็วมาก     "ลักษณะทางชีววิทยาของมันเกื้อหนุนมาก เช่น จำนวนไข่ที่ออกต่อครั้งสูงมาก"หอยเชอรี่มีลักษณะคล้ายหอยโข่งพื้นเมืองของไทย เป็นหอยฝาเดียว เปลือกค่อนข้างกลมใหญ่ผิวเรียบสีเหลืองปนน้ำตาล มีร่องลึกเป็นเกลียววนขวา ลำตัวนุ่ม มีตา หนวด ปาก และกล้ามเนื้อที่ใช้เป็นเท้า มีส่วนฝาปิดเป็นแผ่นแข็ง ซึ่งตัวหอยสามารถหลบเข้าอยู่ในเปลือก แล้วปิดฝาเพื่อป้องกันอันตราย หอยเชอรี่ที่ระบาดอยู่ในนาข้าวประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ Pomacea canaliculata, P. insularus, Pomacea sp.
    
"ไข่หอยเชอรี่ที่เห็นเป็นก้อนสีชมพู มีจำนวนตั้งแต่ ๓๐๐ ถึง ๓,๐๐๐ ฟอง ขณะที่หอยโข่งพื้นเมืองของเรามีแค่ ๒๐๐-๓๐๐ ฟองเท่านั้น" ชมพูนุชกล่าว "แล้วแค่ ๗-๑๒ วันมันก็ฟักเป็นตัว เป็นลูกหอยเล็กๆ ร่วงไปในน้ำ อัตราการฟักสูงถึง ๗๗-๙๑ เปอร์เซ็นต์ แล้วโตเร็วมาก กินเก่ง กินพืชน้ำ ซากปลาตาย แค่สามเดือนก็โตเต็มวัย สามารถผสมพันธุ์ได้ แม่หอยสามารถวางไข่ได้ตลอดปี โดยเฉพาะในฤดูฝนจะวางไข่ถึง ๑๐-๑๔ ครั้งต่อเดือน      "มันยังสามารถทนแล้งด้วยการจำศีลได้เป็นเวลานาน ฝังใต้ดินระดับตื้น ๆ ในนาข้าว หมุนตัวลง ปิดฝา เคยมีบางคนบอกว่าปล่อยน้ำในนาให้แห้งสักพักมันก็ตายไปเอง แต่มีรายงานจากต่างประเทศบอกว่า มันสามารถจำศีลนานถึงห้าหรือหกเดือน เราเลยทำการทดลองในห้องปฏิบัติการ พบว่าถึง ๑๖ เดือนมันยังอยู่รอด ๗ เปอร์เซ็นต์
    
"แม้แต่ในน้ำเน่าหอยเชอรี่ก็สามารถอยู่ได้ เพราะมันมีอวัยวะเรียกว่าท่อไซฟ่อน ยื่นขึ้นมารับอากาศบนผิวน้ำ"เพราะแพร่พันธุ์รวดเร็ว กินเก่ง ทนทาน หอยเชอรี่จึงแพร่ระบาดไปอย่างกว้างขวางรวดเร็ว พวกมันไม่เพียงสร้างความเสียหายแก่นาข้าวเท่านั้น ยังคุกคามระบบนิเวศดั้งเดิมอีกด้วย จากการสกัดสารอินทรีย์ในน้ำมาเลี้ยงตัวเองมากเกินไป จนแทบไม่เหลือไปถึงแพลงก์ตอนสัตว์ ปริมาณแพลงก์ตอนสัตว์ ซึ่งเป็นอาหารของสัตว์น้ำชั้นสูงอื่น ๆ พลอยลดลง มันยังแย่งกินพืชน้ำ และสาหร่ายจากปลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากหอยโข่งพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งต้องการอาหารคล้ายกัน ทำให้ทุกวันนี้หอยโข่งไทยลดหายไปจากที่อยู่เดิมอย่างรวดเร็วผลกระทบที่ตามมา ระบบนิเวศยังบอบช้ำจากสารเคมีฆ่าหอยที่ชาวนาใส่ในนา ชาวนาหลายท้องที่นิยมใช้สารเคมี
    
"เอ็นโดซัลแฟน" หรือที่เรียกกันติดปากว่า "ยาหอย" เพราะราคาถูก ใช้ง่าย เห็นผลทันใจ แต่มีพิษรุนแรงร้ายกาจ ไม่เพียงฆ่าสัตว์น้ำทุกชนิด ทั้งปลา กบ เขียด งู ปลาไหลให้ตายลอยเต็มนา แต่ยังสลายตัวยาก เมื่อน้ำในนาระบายลงสู่แม่น้ำลำคลองสาธารณะในบริเวณใกล้เคียง ปลาและสัตว์น้ำในแหล่งน้ำนั้นจะได้รับพิษจนถึงตายได้     ต้นปี ๒๕๔๓ แม่น้ำท่าจีนบริเวณอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เน่าเหม็น สัตว์น้ำตายเกลื่อน มีการตรวจพบสารเอ็นโดซัลแฟนปนอยู่ในน้ำด้วย
ชมพูนุชกล่าวว่า เท่าที่ผ่านมากรมวิชาการเกษตร พยายามเผยแพร่วิธีควบคุมกำจัดหอยเชอรี่ ให้แก่เกษตรกรอยู่เสมอ วิธีที่เหมาะสมคือวิธีแบบผสมผสาน ด้วยการกั้นตาข่ายที่ช่องน้ำเข้านาเพื่อป้องกันหอยจากภายนอก ภายในนาใช้สารเคมีที่มีอันตรายน้อยต่อสภาพแวดล้อม รวมถึงเก็บหอย และไข่หอยไปทำลายอยู่เสมอ
   
 แม้ชาวนาจะกำจัดหอยเชอรี่ในท้องนามาตลอด หรือกรมส่งเสริมการเกษตร ได้จัดงานรณรงค์กำจัดหอยเชอรี่เป็นประจำทุกปี รวมถึงในประเทศไทยมีศัตรูธรรมชาติของหอยเชอรี่อยู่บ้าง เช่น นกปากห่าง นกกะปูด หนู เป็ด และแมลงต่าง ๆ แต่เมื่อถามว่าการกำจัดหอยเชอรี่ให้หมดไปจากประเทศไทย เป็นไปได้หรือไม่ นักวิชาการอย่างชมพูนุชให้ความเห็นว่า     "ไม่มีทางเป็นไปได้ มันแพร่ขยายพันธุ์เร็วมาก ปีหนึ่งจำนวนมหาศาล เราตามไปกำจัดไม่ทัน ที่ทำได้คือพยายามควบคุม ไม่ให้มันระบาดหนักกว่านี้ ก็เลยพยายามบอกกับเกษตรกรว่า ยังไงหอยเชอรี่ก็อยู่คู่กับเราไปตลอดชีวิตแล้ว ต้องให้ความสนใจกับมันมากหน่อย หมั่นกำจัดด้วยวิธีผสมผสาน"หมายความว่า อนาคตข้างหน้าหอยเชอรี่ จะยังคงอยู่คู่เมืองไทย เช่นเดียวกับผักตบชวา และไมยราบยักษ์
    
๕ นอกจากหอยเชอรี่ ยังมีสัตว์น้ำที่ถูกนำเข้ามาเพาะเลี้ยง เพื่อเป็นอาหาร และขายเป็นปลาสวยงาม แล้วหลุดลอดสู่ธรรมชาติหลายชนิด ดร. ชวลิต วิทยานนท์ นักวิชาการประจำสถาบันพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาสัตว์น้ำ กรมประมง ให้ข้อมูลว่า

     "สัตว์น้ำต่างถิ่นที่พบในแหล่งน้ำธรรมชาติของประเทศไทย สามารถเจริญพันธุ์ได้ มีอยู่ ๑๖ ชนิด ที่มีผลกระทบรุนแรง มีหอยเชอรี่ ปลากดเกราะ หรือปลาซัคเกอร์ ปลาดุกรัสเซีย และตะพาบไต้หวัน"     ปลาซัคเกอร์ (Hypostomus spp.) มีถิ่นกำเนิดในประเทศปานามา คอสตาริกา และอเมริกากลาง ถูกนำเข้าสู่ประเทศไทยมาขายเป็นปลาตู้ แต่ได้หลุดลอดออกไปสู่แหล่งน้ำธรรมชาติจำนวนมาก     "ปลาซัคเกอร์มีความสามารถในการแพร่พันธุ์ได้สูง ทน สามารถอยู่ได้ในน้ำเสีย กินเก่ง มันจะแย่งอาหารปลาที่กินอาหารประเภทเดียวกับมัน ทำให้ปลาพื้นเมืองเหล่านั้นลดจำนวนลง มันยังเป็นปลากินตะไคร่น้ำ หาอาหารตามหน้าดิน จึงอาจดูดไข่ปลาต่าง ๆ บริเวณหน้าดินกินอีกด้วย      ขณะนี้คาดว่ามันแพร่กระจายเกือบทั่วประเทศแล้ว ผมสำรวจพบบ่อย ทั้งที่ห้วยขาแข้ง ที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ในแม่น้ำโขง จนถึงบริเวณพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส ก็เคยจับได้"
    
ส่วนปลาดุกรัสเซีย มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศแอฟริกาใต้ คนไทยได้นำเข้าจากประเทศลาว มาเลี้ยงดูเล่น เป็นปลาขนาดใหญ่ ระยะเวลา ๓ เดือนจะมีขนาด ๑-๒ เมตร นิสัยก้าวร้าว ดุร้าย ต่อมามีผู้มอบให้กรมประมงเพื่อเลี้ยง และผสมข้ามพันธุ์กับปลาดุกอุยของไทยได้เป็นผลสำเร็จ ลูกผสมที่เกิดขึ้นเรียกว่าบิ๊กอุย เนื้อปลาดุกบิ๊กอุยรสชาติดีเหมือนปลาดุกอุย แต่ตัวใหญ่ และนิสัยก้าวร้าวเหมือนปลาดุกรัสเซีย
   
จากสภาวะน้ำท่วมทำให้ปลาดุกรัสเซียหนีออกจากบ่อเลี้ยง ปัจจุบันพบปลาชนิดนี้ทั้งที่ห้วยขาแข้ง, พรุโต๊ะแดง, ชุมพร, และที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ ปลาดุกรัสเซียในแหล่งน้ำธรรมชาติจะแย่งอาหาร ผสมข้ามพันธุ์ หรืออาจกินไข่และตัวอ่อนของปลาดุกพื้นเมือง รวมทั้งกัดกินปลาชนิดอื่น ๆ จำนวนมาก     สัตว์น้ำอีกชนิดที่สร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศคือ เต่าญี่ปุ่น มันถูกนำเข้ามาเป็นสัตว์เลี้ยง แต่เมื่อโตขึ้นหมดความสวยงาม มักถูกปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ เต่าญี่ปุ่นมีนิสัยชอบขุดไข่เต่าชนิดอื่นกิน

๖ ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น เช่น ผักตบชวา หอยเชอรี่ ไมยราบยักษ์ ผกากรอง และสาบเสือ นอกจากเป็นผู้รุกรานในประเทศไทยแล้ว ยังแพร่ระบาดทำลายระบบนิเวศของหลายประเทศ กระทั่งมีรายชื่ออยู่ใน "หนึ่งร้อยชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ที่สร้างความเสียหายรุนแรงทั่วโลก" ที่รวบรวมโดย สหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ หรือ The World Conservation Union (IUCN) ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติขณะนี้ทั่วโลกให้ความสนใจ ต่อปัญหาชนิดพันธุ์ต่างถิ่นผู้
รุกรานอย่างจริงจัง มีการประชุมระหว่างประเทศ เกี่ยวกับเรื่องนี้หลายครั้ง ในเวลาที่ผ่านมา อีกทั้งอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity,CBD) อันเป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศ ในมาตรา ๘(h) ก็ระบุให้ประเทศภาคีดำเนินการ "ป้องกันการนำเข้าชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ควบคุมหรือกำจัดชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ซึ่งคุกคามระบบนิเวศ ถิ่นที่อยู่อาศัย หรือชนิดพันธุ์อื่น"
    
แม้ประเทศไทยยังไม่ได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาดังกล่าว แต่ก็ให้ความร่วมมือตอบสนองต่อเจตนารมณ์ ของนานาประเทศเกี่ยวกับมาตรา ๘(h) โดยคณะอนุกรรมการอนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งมีสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม เป็นฝ่ายเลขานุการ ได้แต่งตั้งคณะทำงานชีวินทรีย์ต่างถิ่นในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๓๙ เพื่อรวบรวมข้อมูลชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในประเทศไทย และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการวางมาตรการควบคุม และป้องกันการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เนื่องจากการแพร่ระบาดของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น
    
คณะทำงานฯ ร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้จัดประชุมสัมมนาเรื่องชนิดพันธุ์ต่างถิ่นขึ้นสามครั้ง ในปี ๒๕๓๙, ๒๕๔๐ และวันที่ ๒๒-๒๓ พฤษภาคม ๒๕๔๔ ที่ผ่านมา นอกจากนั้น ยังรวบรวมบัญชีรายการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในประเทศไทย ซึ่งขณะนี้รวบรวมได้ประมาณ ๑,๕๐๐ ชนิด     ทว่านอกจากการจัดประชุมสัมมนา และรวบรวมบัญชีรายชื่อแล้ว นักวิชาการหลายท่านกล่าวว่า ประเทศไทยยังไม่มีงานวิจัยเกี่ยวกับชนิดพันธุ์ต่างถิ่นมากนัก     จารุจินต์ นภีตะภัฏ ให้ความเห็นต่อเรื่องนี้ว่า "ประเทศไทยยังไม่มีหน่วยงานเฉพาะ ศึกษาผลกระทบที่เกิดจากเอเลียนสปีชีส์ ถ้าเมื่อไหร่เอเลียนสปีชีส์ไปทำลายพืชเศรษฐกิจ เช่น หอยเชอรี่เป็นศัตรูข้าว จึงเข้าข่ายความรับผิดชอบของกรมวิชาการเกษตร หรือกรมส่งเสริมการเกษตร แต่ถ้ามันไปทำลายธรรมชาติ หรือทำลายระบบนิเวศ รวมถึงชนิดพันธุ์ใหม่ ๆ ที่เข้าสู่เมืองไทย ยังไม่ค่อยมีใครศึกษา
    
"อย่างผักตบชวา มันมีผลทำให้แหล่งน้ำตื้นเขินเร็ว กีดกันการคมนาคมทางน้ำจริง แต่มีผลกระทบกับปลาอย่างไรแค่ไหน ยังไม่มีใครศึกษาเลย บ้านเรามักจะมองข้ามเรื่องเหล่านี้ เพราะคิดว่าไม่สำคัญ หรือไมยราบยักษ์ เรารู้ว่าขณะนี้ระบาดไปทั่วประเทศ แต่ไม่รู้ว่าพื้นที่ที่มันระบาดมีเนื้อที่เท่าไหร่ ไม่รู้ว่าไปเบียดบัง ไปทำลายสภาพแวดล้อมแค่ไหน เปลี่ยนแปลงระบบนิเวศแค่ไหน     "คนทำงานเรื่องนี้ก็คนรู้จักหน้ากันทั้งนั้น แต่ไม่มีอำนาจสั่งการ งานประชุมเรื่องชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ไม่มีระดับรัฐมนตรีไปฟังสักคน มีข่าวออกไปตั้งหลายข่าว ก็ไม่เห็นมีผลกระทบอะไรกลับมา     "แม้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมติดตามเรื่องนี้อยู่ แต่ทำหน้าที่เลขานุการ ไม่มีอำนาจสั่งการ จึงทำอะไรไม่ได้มาก งบประมาณก็ไม่มี ขณะนี้งานวิจัยที่จะได้รับงบประมาณจากรัฐบาล ต้องเป็นเรื่องที่ผู้คนสนใจ เช่นเรื่องไบโอเทค"
    
ส่วน ดร. ชวลิตจากกรมประมงกล่าวว่า พันธุ์สัตว์น้ำต่างถิ่นที่พบแพร่พันธุ์ในแหล่งน้ำของไทย จำนวน ๑๖ ชนิดในขณะนี้ นอกจากปลาซัคเกอร์ และปลาดุกรัสเซีย หอยเชอรี่ ชนิดพันธุ์ที่เหลือยังไม่มีใครรู้แน่ว่าไปแย่งอาหาร หรือคุกคามสัตว์น้ำพื้นเมืองขนาดไหน     "ข้อจำกัดมีมาก งานวิจัยผลกระทบของสัตว์พวกนี้ต้องใช้เวลานาน ต้องเก็บตัวอย่างหลายพื้นที่ ใช้งบประมาณมาก ตอนนี้งบประมาณค่อนข้างขัดสน แล้วคนทำวิจัยเรื่องนี้ก็ต้องมีความรู้ในเรื่องนิเวศวิทยาค่อนข้างลึก เลยยังไม่มี
ใครทำ ส่วนใหญ่จะทำวิจัยเกี่ยวกับสัตว์น้ำเศรษฐกิจมากกว่า เท่าที่เห็นตอนนี้ เราพบว่า ปลาพื้นเมืองจะลดจำนวนชนิดลงไป ปลาหรือสัตว์น้ำต่างถิ่นจะพบบ่อยขึ้น แต่มันต้องประกอบกับปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เช่น การจับปลามากเกินไป เรื่องน้ำเน่าเสีย"
   
ขณะที่ ดร. อุทิศ กุฏอินทร์ คณบดีคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หนึ่งในคณะอนุกรรมการความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย กล่าวว่า     "ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นสร้างความเสียหายในธรรมชาติขนาดไหน ยังไม่มีใครทราบ ไม่มีใครประเมิน อย่างปลาหมอเทศเป็นปลาที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมเมืองไทยได้ดีมาก ปากแม่น้ำตอนนี้มีแต่ปลาหมอเทศ ก็ไม่รู้ว่ามันจะแย่งอาหารปลาพื้นเมืองมากแค่ไหน หรือผักตบชวา ไมยราบยักษ์ ก็อาจมีกรมกองต่างๆ เก็บข้อมูลบ้าง เช่น
ปริมาณที่มันกระจายต่อปี แต่ปัญหาที่มันไปกระทบชนิดพันธุ์อื่น ยังไม่มีการศึกษากันจริงจัง ส่วนมากเป็นเรื่องการควบคุมกำจัด"ปัญหาคือจะให้นักวิจัยทำเรื่องอะไร จำเป็นต้องมีงบประมาณสนับสนุน แต่ปัจจุบันประเทศไทยมีงบประมาณสำหรับงานวิจัยเพียง ๐.๑ เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณของประเทศ แล้วส่วนใหญ่อนุมัติให้แก่ทางการแพทย์ คืองานวิจัยแบบนี้เขาบอกว่ายังไม่จำเป็น ก็ไม่ให้งบประมาณ      "แม้ สผ. จัดทำบัญชีรายชื่อชนิดพันธุ์ต่างถิ่นไว้แล้ว แต่หน่วยงานไหนจะไปดำเนินการป้องกันจริง ๆ สผ. เองคงทำไม่ได้ เป็นเพียงหน่วยงานที่เป็นผู้วางแผน กระตุ้น และประสานให้หน่วยงานอื่นได้ทำงานแก้ปัญหา"ทางด้านกฎหมาย ประเทศไทยตระหนักถึงโทษของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นเป็นเวลานานแล้ว มีกฎหมายหลายฉบับ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมชนิดพันธุ์ต่างถิ่น นอกจากพระราชบัญญัติกำจัดผักตบชวา พ.ศ. ๒๔๖๖ แล้ว ก็มีพระราชบัญญัติป้องกันโรคและศัตรูพืช พ.ศ. ๒๔๙๕ (ถูกยกเลิกในปี พ.ศ. ๒๕๐๗), พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ และ พ.ศ. ๒๕๔๒, พระราชบัญญัติประมง พ.ศ. ๒๔๙๐, พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕, พระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. ๒๕๓๒ และพระราชบัญญัติโรคระบาด พ.ศ. ๒๔๙๙
    


นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่า และพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) จะต้องมีใบอนุญาตการนำเข้า-ส่งออก ชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ป่า ตามบัญชี CITES      ด้านการดำเนินงานควบคุมและป้องกัน มีการตั้งด่านตรวจพืช การนำเข้า-ส่งออกพืชระหว่างประเทศ จะต้องมีหนังสือรับรองการปราศจากโรคและศัตรูพืช ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗แม้จะมีมาตรการหลายขั้นตอนเพื่อควบคุมและป้องกัน ก็ยังปรากฏว่ามีชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานหลายชนิด สามารถหลุดลอดเข้ามาสู่ประเทศไทยได้ ไม่ว่า ปลาซัคเกอร์ ขี้ไก่ย่าน จอกหูหนูยักษ์ หอยเชอรี่ ปลาดุกรัสเซีย หรือชนิดพันธุ์ต่างถิ่นบางพันธุ์ ที่อาจเข้ามาแล้วแต่ยังไม่แสดงโทษภัยออกมา บ่งบอกว่าในมาตรการเหล่านั้น ยังมีช่องโหว่อยู่
    
ดร. บรรพต ณ ป้อมเพชร เห็นว่า เจ้าหน้าที่บางส่วนยังทำงานหละหลวม     "ด่านกักพืชที่สนามบินดอนเมือง ผมผ่านเข้าเป็นร้อยครั้งแล้ว ไม่เคยเห็นเจ้าหน้าที่สักคน ไม่เฉพาะที่ดอนเมือง ท่าเรือต่าง ๆ ก็มีทางเข้าออกระหว่างประเทศที่ควรจะมีเจ้าหน้าที่อยู่ แต่ก็ไม่มี เจ้าหน้าที่อาจไม่เพียงพอหรือไม่มีความรู้ แล้วบัญชีรายชื่อพืชต้องห้ามตาม พ.ร.บ. กักพืช ส่วนมากเกี่ยวกับพืชทางการเกษตรเท่านั้น"     ดร. ชวลิตกล่าวว่า "ขณะนี้เรามีกฎหมายควบคุมการนำเข้าสัตว์น้ำทุกชนิด ก่อนนำเข้านำผ่าน จะต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมประมงก่อน หรือถ้าจะนำมาเพาะเลี้ยง ต้องผ่านขั้นตอนการพิจารณาก่อน"
    
ดร. ชวลิตให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันประเทศไทยนำเข้าสัตว์น้ำ เพื่อเพาะพันธุ์ประมาณ ๑,๐๐๐ ชนิด และนำเข้าสัตว์น้ำจำพวกปลาสวยงามจำนวน ๒,๕๐๐ ชนิด ต่อคำถามว่า สัตว์น้ำที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าเหล่านั้น ถูกตรวจสอบหรือยังว่า ถ้าหลุดลอดสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ จะไม่กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นผู้รุกราน ดร. ชวลิตกล่าวว่า     "กรมประมงไม่ได้ตรวจสอบในประเด็นนี้ อย่างปลาซัคเกอร์หลุดออกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ก็ได้สร้างผลกระทบขึ้นแล้ว แต่สัตว์น้ำนำเข้าส่วนใหญ่ ไม่สามารถปรับตัวได้ในน่านน้ำประเทศไทย ถูกปล่อยลงไปแล้วมันจะไม่รอด อาจถูกกิน หรือถูกจับ"
    
ขณะที่ ดร. อุทิศเห็นว่า "กฎหมายที่เกี่ยวกับการกักกันพืชสัตว์ขณะนี้ ยังไม่สมบูรณ์แบบ ไม่ว่า พ.ร.บ. กักกันพืช พ.ร.บ. พันธุ์พืช พ.ร.บ. สงวนคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ร.บ. ประมง เพราะเนื้อหายังครอบคลุมไม่ถึงประเด็นที่ว่า ชนิดพันธุ์เหล่านั้นก้าวร้าวต่อพันธุ์พื้นเมือง หรือสภาพแวดล้อมหรือไม่ เราควรจะตกลงในเรื่องนี้ให้ชัดเจน อาจจำเป็นต้องออก พ.ร.บ. ฉบับใหม่ เพื่อควบคุมการนำเข้าชนิดพันธุ์ต่างถิ่นโดยเฉพาะ      "หน่วยงานที่รับผิดชอบแต่ละด้าน ควรจะมาประชุมกัน
ไม่ว่ากรมป่าไม้ กรมประมง กรมวิชาการเกษตร นักวิชาการ กระทรวงพาณิชย์ แม้แต่กระทรวงสาธารณสุขก็สำคัญ คุณเอาสัตว์ทดลอง เชื้อไวรัส แบคทีเรียที่เกี่ยวกับการรักษาโรคเข้ามาเท่าไหร่ พวกนี้ก่อผลกระทบได้"
    
ในการประชุมวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ ในหัวข้อ "ความหลากหลายทางชีวภาพ และการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน" ซึ่งจัดโดยสำนักงานนโยบาย และแผนสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ ๒๒-๒๓ พฤษภาคม ๒๕๔๔ ที่ผ่านมา ที่ประชุมได้เสนอร่าง "แผนการดำเนินงานเพื่อควบคุม และป้องกันการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เนื่องจากการแพร่ระบาดของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น" มีเนื้อหาเกี่ยวกับมาตรการที่ประเทศไทย ควรดำเนินการในอนาคต ทั้งการควบคุมการนำเข้า และการจัดการชนิดพันธุ์ที่แพร่ระบาด

ตัวอย่างของมาตรการเหล่านี้ ได้แก่
     -ออกระเบียบหรือกฎหมาย ที่จำเป็นเพื่อการควบคุมและป้องกัน การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เนื่องจากการแพร่ระบาดของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น
     -จัดตั้งด่านตรวจพืช-สัตว์ เพิ่มเติม และควบคุมดูแลการบังคับใช้กฎหมาย ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
     -ประเมินความเสี่ยงเมื่อมีการขอนำเข้าชนิดพันธุ์ต่างถิ่น และควบคุมการหลุดลอด ของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ออกสู่สิ่งแวดล้อม
     -ส่งเสริมความตระหนักให้แก่สาธารณชนว่า การลักลอบนำเข้าชนิดพันธุ์ต่างถิ่น จะนำผลกระทบมาสู่ความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ
     -จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจ ควบคุมการปฏิบัติงาน เพื่อควบคุมหรือกำจัดชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่แพร่ระบาด
    
จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาสรุปให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า การกำจัดชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ที่เข้ามาสร้างปัญหาในประเทศไทย หลายกรณีเป็นเรื่องยุ่งยาก และต้องใช้งบประมาณมหาศาล หนทางที่ดีที่สุดจึงควรเน้นที่มาตรการเฝ้าระวัง และป้องกันไม่ให้ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นผู้รุกรานชนิดใหม่ แพร่ระบาดออกสู่ธรรมชาติได้อีก     นักวิชาการหลายท่านมีความเห็นตรงกันว่า การแก้ปัญหาชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน ในประเทศไทย มีความจำเป็นต้องดำเนินการอย่างจริงจัง และเร่งด่วนก่อนที่จะสายเกินไปเพราะระบบนิเวศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพบางพื้นที่ หากถูกทำลายไปแล้ว จะไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้อีกเลย

กษัตริย์เกาหลี จักรพรรดิกวางสี จักรพรรดิปูยี
ตำนานอโดนิส โจนออฟอาร์ค มู่กุ้ยอิง
จักรพรรดิเนโร พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 อับราฮัม ลินคอล์น
พระเจ้าซุกจง มาตาฮารี เจ้าฟ้าหญิงบุญรอด
ตำนานธอร์ นิกิต้า ครุสชอฟ สงครามเกาหลี
กำแพงเมืองจีน อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ พระนางเลือดขาว
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ สตีเฟน ฮอว์คิง ลีโอ ตอลสตอย
สตีฟ จ็อบส์ เจ้าพระยาวิชเยนทร์ พระนางมัสสุหรี
สัตว์มีพิษ ไวรัสอีโบลา เอเลี่ยนสปีชี่ส์
กำเนิดจักรวาล กำเนิดดวงอาทิตย์ ระบบสุริยะจักรวาล
ปริศนาของจักรวาล การเดินทางข้ามกาลเวลา สสารและปฏิสสาร
สิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร บิ๊กแบงคืออะไร สัตว์ใกล้สูญพันธุ์
สัตว์น้ำแปลก ปลาแองเกลอร์ สัตว์ดูดเลือด
อันดับงูสวยงาม อนาคอนด้า ตัวอ่อนปลาฉลาม
เห็ดมีพิษ ภัยของยาไอซ์ คลื่นยักษ์สึนามิ
กัญชาปลอดภัย ไวรัสอีโบลา ปรสิตที่น่ากลัว
สาเหตุสึนามิ ทำไมผมร่วง สงครามซีเรีย
ทำลายหลุมดำ โลกของเรา กระแสน้ำทะเล
วิธีทำลายเอกภพ กลไกวิวัฒนาการ ระบบภูมิคุ้มกัน
เล่าเรื่องผี เรื่องสยองขวัญ เรื่องผี
ฆาตกรโหด ฆาตกรต่อเนื่อง ฆาตกรโรคจิต
ผีนานาชาติ ผีปีศาจ พระธุดงค์เจอผี
โจนเบเน็ต คดีเพชรซาอุ เดวิด เบอร์โควิด
ซอว์นี่ บีน ฆาตกรโหดเมืองไทย อลิซาเบธ บาโธรี่
ฆาตกรฆ่าคนมากที่สุด คดีกักขังหน่วงเหนี่ยว คดีวิตถาร
คดีพิศวาสฆาตกรรม ฆาตกรเด็ก คดีฆ่าหั่นศพ
ยโศโฆษาฆาต แจ๊คเดอะริปเปอร์ ฆาตกรต่อเนื่องอินเดีย
เบลล์ กันเนส ยูนาบอมเบอร์ เอล ชาโป
ผีภาคเหนือ ผีภาคอีสาน ผีญี่ปุ่น
เมืองอาถรรพ์ เรื่องเล่าเดอะช็อค มนุษย์กินคน
เรื่องย่อเพื่อเธอ เรื่องย่อสาวน้อยร้อยล้าน เรื่องย่อรักเร่
เรื่องย่อตามรักคืนใจ เรื่องย่อพลับพลึงสีชมพู เรื่องย่อไฟล้างไฟ
เรื่องย่อรัตนาวดี เรื่องย่อคู่ปรับฉบับหัวใจ เรื่องย่อห้องหุ่น
เรื่องย่อรอยรักแรงแค้น ขอเป็นเจ้าสาวสักครั้งให้ชื่นใจ เรื่องย่อเพลิงตะวัน
เรื่องย่อนางร้ายที่รัก เพื่อนรักเพื่อนริษยา เรื่องย่อตะวันตัดบูรพา
เรื่องย่อเลื่อมสลับลาย นางสาวทองสร้อยคุณแจ๋ว เรื่องย่อใต้เงาจันทร์
เรื่องย่อละครเจ้านาง เรื่องย่อผู้กองยอดรัก เรื่องย่อสุดแค้นแสนรัก
เรื่องย่อเพลงรักเพลงลำ เรื่องย่อละครเพื่อนแพง เรื่องย่อเลือดมังกร
นิทานนางกากี นิทานนางพิกุลทอง นิทานยอพระกลิ่น
นิทานกระต่ายสามขา นิทานกระเช้าสีดา นิทานเคราะห์ของตาจัน
กล่องข้าวน้อยฆ่าแม่ ทำไมงูเหลือมไม่มีพิษ ทำไมเต่ามีกระดอง
ทำไมจระเข้จึงไม่มีลิ้น ทำไมหมากับแมวไม่ถูกกัน ทำไมนกกะปูดตาแดง
นิทานธรรมชาดก เรื่องย่อละคร ดูดวงทำนายฝัน
การ์ตูนโรแมนติก ขายการ์ตูนหมึกจีน การ์ตูนนางฟ้าซาตาน
แกล้งจุ๊บให้รู้ว่ารัก การ์ตูนแกล้งจุ๊บให้รู้ว่ารัก เกมรักพยาบาท
GOLD รักนี้สีทอง เกาะนางพญาเงือก หนุ่มสุดขั้วบวกสาวสุดขีด
วังวนปรารถนา คุณหนูไฮโซโยเยรัก เจ้าหญิงซ่าส์กับนายหมาบ้า
รักทั้งตัวและหัวใจ หัวใจไม่ร้างรัก เหิรฟ้าไปคว้ารัก
บินไปกับหัวใจสีชมพู princessหมึกจีน ฝ่าไปให้ถึงฝัน
หวานใจองค์ชายมองโกล หน้ากากนักสืบ ราศีมรณะ
THE B.B.B. ลงเอยที่ความรัก เกียรติยศรัก SAINT ADAM มารยาปรารถนา
หนุ่มยักษ์รักสุดฤทธิ์ รักแรกแสนรัก รอรักสาวซากุระ
รักโฮ่งๆ ตกลงมั้ย หนุ่มนักนวดนิ้วทอง รักแบบนี้...กิ๊กเลย
ขอแก้เผ็ดหนุ่มหลายใจ บอดี้การ์ดเจ้าปัญหา อ้อมกอดทะเลทราย
การ์ตูนรอรักในฝัน การ์ตูนหัวใจร่ำหารัก อุ่นไอรักหนุ่มออฟฟิศ
การ์ตูนสองสาวสองรัก การ์ตูนรอเธอบอกรัก การ์ตูนรักระแวง
การ์ตูนสุดแต่ใจของเธอ การ์ตูนหนามชีวิต ยอดรักเพชรในดวงใจ
การ์ตูนวังวนในหัวใจ การ์ตูนรักแรกฝังใจ การ์ตูนกับดักหัวใจ
การ์ตูนคุณชายที่รัก อ้อมกอดดาวเคล้าเกลียวคลื่น การ์ตูนเจ้าสาวเงินตรา
การ์ตูนเพลงรักสองเรา การ์ตูนมนต์รักลมหนาว การ์ตูนโอมเพี้ยงเสี่ยงรัก
ครูจอมซ่าส์หรือนายขาโจ๋ เล่ห์รักปักหัวใจ การ์ตูนคู่รักนิรันดร
การ์ตูนชะตารัก แฝดหนุ่มมะรุมมะตุ้มรัก รูมินเทพบุตรซาตาน
รักเทวดาท่าจะวุ่น รวมเรื่องสั้นMiwa Sakai Hot Love หมึกจีน
การ์ตูนผีกุกกัก คุณหนูกับทาสหนุ่ม การ์ตูนเธอคือนางเอก
หนุ่มเซ่อเจอสาวแซ่บ Extra Romance หมึกจีน เว็บขายการ์ตูนออนไลน์

บทความแนะนำ

หลากหลายของเครื่องดื่มทั่วโลก ประวัติหลวงปู่ทวดวัดช้างไห้ สรงน้ำพระธาตุตามปีเกิดด้วยหัวใจอิ่มบุญ วิเคราะห์นิยายเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (The Lord of the rings) เห็ดมีพิษ มฤตยูในสายน้ำ แมงกะพรุนกล่อง การพบเห็นมนุษย์ต่างดาวในประวัติศาสตร์ โจน ออฟ อาร์ค วีรสตรีที่โลกไม่เคยลืม

บทความเมนูอาหาร บทความภัยอันตราย บทความสุขภาพ บทความวิทยาศาสตร์ บทความสยองขวัญ บทความชีวิตสัตว์ บทความประวัติศาสตร์ บทความจัดอันดับ สารบัญบทความ

Popular Posts