7 สิ่งมหัศจรรย์ในระบบสุริยะจักรวาล
ตอนแรกมีแต่ความมืด ต่อมาระเบิด สิ่งที่ขยายออกไปไม่มีที่สิ้นสุดของกลางอวกาศ และสสารถือกำเนิดขึ้น ทุกวันการค้นพบใหม่ๆไขปริศนา ความลับของสิ่งที่เราเรียกว่าจักรวาล จักรวาลของเราไม่เหมือนทุกสิ่งที่เราเคยเห็นหรือรู้มาก่อน กาแล็คซี่เพื่อนบ้านของเราคือบ้านของ 7 สิ่งที่น่าตื่นตะลึงและสร้างปรากฏการณ์มากมายในจักรวาล ดาวเคราะห์ที่มีวงแหวนที่น่าทึ่งประกอบด้วยภูเขาสูงเทียมเทือกเขาแอลป์ ดาวบริวารขนาดยักษ์ที่มีชั้นน้ำพุร้อนและน้ำแข็งพุ่งขึ้นมาสู่พื้นผิว ภูเขาไฟขนาดใหญ่มหึมา จากนั้นมีกลุ่มพายุที่ทะลุผ่านกลุ่มดาวก่อนดำดิ่งสู่เฮอริเคนขนาดใหญ่ ประสบการณ์ใหม่ล่าสุดที่น่าตื่นเต้นรอบดวงอาทิตย์ เรามาผจญภัยไปใน 7
สิ่งมหัศจรรย์ของระบบสุริยะจักรวาล
ได้เปิดเผยถึงเรื่องราวที่อันตราย แปลก และมหัศจรรย์เอาไว้หมดแล้ว คิดซะใหม่ ตอนนี้เรากำลังอยู่ในใจกลางการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอาณาจักรอวกาศ สิ่งแปลกประหลาดมหัศจรรย์กำลังเกิดขึ้นที่นี่ในจักรวาลของเราเอง ระบบสุริยะของเราเป็นสถานที่ที่น่าหลงใหล ตอนนี้เราพบระบบดาวเคราะห์อื่นๆ แต่เรายังไม่พบอะไรที่เหมือน
ระบบสุริยะจักรวาลของเราเลยแม้แต่น้อย ร่วมเดินทางไปกับเราเพื่อค้นพบ 7 สิ่งมหัศจรรย์ของระบบสุริยะจักรวาล
อันดับที่ 7 ดาวเอนเซลาดุส (Enceladus)
ก่อนอื่นเรามุ่งหน้าสู่วงโคจรของดาวเสาร์กัน เที่ยงคืนวันที่ 2 พฤศจิกายน ปี 2009 ยานอวกาศแคสซินี่(Cassini)โคจรรอบดาวเสาร์ กล้องของยานจับภาพแปลกประหลาดของหนึ่งในดาวบริวารที่อยู่ด้านนอกที่ชื่อว่า
เอนเซลาดุส (ENCELADUS) ดาวบริวารส่วนใหญ่ในระบบสุริยะจักรวาลเป็นดาวที่ตายแล้ว และการมองที่พื้นผิวน้ำแข็งที่ระยิบระยับที่ขั้วโลกใต้ของมัน ดาวเอนเซลาดุสมองดูเหมือนโลกที่สงบสุข แต่ทันใดนั้นมีน้ำพุร้อนและน้ำแข็งขนาดมหึมาพุ่งขึ้นมาจากรอยแยกของพื้นดิน เอนเซลาดุสเป็นดาวบริวารที่สุดยอดของดาวเสาร์ แม้จะมีขนาดเล็ก และภูเขาไฟของเอนเซลาดุสก็มีความแตกต่างจากภูเขาไฟบนโลกซึ่งเป็นแมกมาร้อนที่เป็นหินที่หลอมเหลว แต่เอนซาลาดุสเป็นน้ำที่เป็นของเหลวพุ่งออกมาแล้วก็แข็งเรียกว่า โครโอโวคานิซึ่ม (Cryovolcanism) ยานแคสซินี่บินทะลุเข้าไปยังพลังงานที่ระเบิดออกมาในอวกาศนับร้อยไมล์ ด้วยความเร็ว 1,400 ไมล์ต่อชั่วโมง
เอนเซลาดุสสะดุดตาเราเมื่อไม่นานมานี้ เพราะว่าเราเห็นน้ำร้อนที่พึ่งขึ้นมาจากขั้วโลกใต้ เราไม่เคยเห็นอะไรแบบนี้ในดาวบริวารที่เป็นน้ำแข็งในระบบสุริยะจักรวาล แสดงว่าเกิดอะไรขึ้นบนดาวเอนเซลาดุส มันยังไม่ตายและเราอยากรู้ว่าทำไม นักวิทยาศาสตร์สนใจน้ำพุร้อนอย่างน้อย 30 แห่ง ที่พุ่งขึ้นมาจากรอยแยกเล็กๆที่เรียกว่าไทเกอร์สทริป (Tiger Stripe) ตามแนวขั้วโลกใต้ของดาวเอนเซลาดุส ภาพแผนที่อินฟราเรดของบริเวณนี้เผยให้เห็นอุณหภูมิที่อบอุ่นของพื้นผิว ความร้อนแผ่กระจายจากไทเกอร์สทริป อาจจะเนื่องมาจากความร้อนที่อยู่ใต้นั้นที่มันระเหยออกมา นักวิทยาศาสตร์คิดว่าต้องมีความร้อนภายในสองแหล่งที่ขับเคลื่อนน้ำแข็งบนดาวเอนเซลาดุส แหล่งหนึ่งอาจเป็นธาตุกัมมันตภาพรังสีที่เสื่อมสลายทำให้ภายในดาวร้อนทำให้น้ำอยู่ในสถานะของเหลว แหล่งที่สองอาจเป็นคลื่นความร้อน
ตอนที่เอนเซลาดุสโคจรรอบดาวเสาร์ในแนววงรีแบบแปลกๆ บางครั้งมันจะเข้าใกล้ดาวเสาร์ บางทีก็ห่างออกไป ตอนที่มันเข้าใกล้ดาวเสาร์ แรงดึงดูดของดาวเสาร์ก็ได้สร้างคลื่นขนาดใหญ่ออกไปในดาวเอนเซลาดุส มากกว่าตอนที่มันอยู่ห่าง นั่นทำให้เกิดการเสียดสีของวัตถุที่อยู่ภายในและปล่อยพลังงานออกมา คลื่นของแรงเสียดสีมันจะช่วยละลายสิ่งที่อยู่ภายในดาวเอนเซลาดุส ทำให้น้ำแข็งกลายสถานะเป็นของเหลว ปริศนาก็คือมีน้ำอยู่ในดาวเอนเซลาดุสอยู่มากแค่ไหน ดาวบริวารดวงน้อยอาจซ่อนมหาสมุทรอยู่ใต้พื้นดินก็เป็นไปได้ เราอนุมานว่าต้องมีของเหลวอยู่ในนั้น เพราะน้ำพุร้อนที่พุ่งขึ้นมาต้องมีแหล่งของน้ำ มหาสมุทรอาจจะไม่ได้กระจายอยู่ทั่วทั้งดวง มันอาจอยู่ใต้พื้นดินในบริเวณที่น้ำพุร้อนพุ่งขึ้นมา และจะต้องมีแหล่งน้ำที่สำคัญอยู่ใต้พื้นดินของเอนเซลาดุสอย่างแน่นอน
ถ้ามีน้ำอยู่ใต้พื้นผิวของดาว มันอาจเป็นแหล่งที่เต็มไปด้วยโมเลกุลของสิ่งมีชีวิต ประกอบกับอุณหภูมิอุ่นๆ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของการสร้างสิ่งมีชีวิต มันคงสุดยอดถ้าเราค้นพบสิ่งมีชีวิตอยู่ใต้พื้นผิวของดาวเอนเซลาดุส เราไม่ได้คาดหวังว่าจะพบสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ แม้แต่แบคทีเรียเล็กๆ ก็ถือว่าเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่แล้ว ดาวเอนเซลาดุสโคจรอยู่ในสิ่งมหัศจรรย์อีกสิ่งหนึ่งของระบบสุริยะจักรวาล
อันดับที่ 6 วงแหวนของดาวเสาร์ (Rings Of Saturn)
เราได้ภาพใหม่ๆจากการไปเยือนดาวเสาร์ของยานอวกาศ แคสซินี่ ก็เหมือนกับเราใส่แว่นสามมิติเป็นครั้งแรก มันทำให้เราเห็นรายละเอียดของสิ่งที่อยู่ในวงแหวนของดาวเสาร์ ท่ามกลางวงแหวนหลัก 7 วง ดาวเคราะห์ที่เต็มไปด้วยก๊าซดวงนี้มีวงแหวนนับพันและประกอบไปด้วยน้ำแข็งและฝุ่น 35 แสนล้านล้านตัน มีน้ำมากกว่าโลกของเราประมาณ 26 ล้านเท่า และนักวิทยาศาสตร์ยังคงหาจุดกำเนิดของวงแหวนดาวเสาร์มาหลายศตวรรษแล้ว เราไม่รู้จุดกำเนิดของมัน มันอาจประกอบไปด้วยวัสดุที่ไม่มีโอกาสก่อตัวบนดาวบริวาร เพราะอิทธิพลของแรงดึงดูดของดาวเสาร์เอง หรือดาวบริวารเดินทางมาใกล้ดาวเสาร์มากเกินไป ก็เลยระเบิดเป็นเศษแตกละเอียดจากผลของคลื่นแรงดึงดูดของดาวเสาร์ หรืออาจเป็นไปได้ว่าดาวหางเดินทางมาใกล้ดาวเสาร์มากเกินไป ก็เลยโดนแรงดึงดูดจำนวนมหาศาลของดาวเสาร์จับเอาไว้นั่นเอง สิ่งที่น่าสนใจมากกว่านี้ก็คือนักวิทยาศาสตร์นับดาวบริวารที่อยู่รอบๆ วงแหวนของดาวเสาร์ได้ถึง 62 ดวง ภาพใหม่นี้ชี้ให้เห็นว่าดาวบริวารดวงน้อยเหล่านี้พาวงแหวนไปสู่ความสูงใหม่
11 สิงหาคม 2009 ภาพอิควาน็อกซ์ที่หายากของดาวเสาร์แสดงวงแหวนของมันใกล้ขอบดวงอาทิตย์ ภาพนี้เผยข้อเท็จจริงที่น่าตกใจ วงกลมสว่างไสวที่เคยปรากฏในรูปของแข็งแบนๆ จริงๆแล้วมันประกอบไปด้วยภูเขาจำนวนมากที่มีความสูงตั้งแต่ไม่กี่ฟุตไปจนถึงระยะที่สูงกว่าเทือกเขาแอลป์ เมื่อเรามองที่วงแหวนดาวเสาร์จากกล้องเทเลสโคป มันดูราบเรียบ แต่ว่าตอนนี้เราเห็นว่าวงแหวนของมันนั้นมีอนุภาคที่ทับถมกันจนกลายเป็นภูเขาที่มีความสูงหลายไมล์ แต่ภูเขาสูงหลายไมล์ที่ว่านี้ก่อตัวขึ้นมาได้อย่างไร ภารกิจแคสซินี่ของนาซ่าจับภาพดาวบริวารที่พลัดเข้าไปในวงแหวน เป็นเหตุให้มันบิดและฉีกขาดกลายเป็นรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไป ในวงแหวนของดาวเสาร์ที่อยู่นอกสุดของวงแหวนที่สว่างมีดาวบริวารที่ชื่อว่า แดพนิส (Daphnis) มียอดที่สูงที่สุดถึงสองไมล์ครึ่ง
ดาวบริวารปฏิสัมพันธ์กับวงแหวนของดาวเสาร์ในแบบที่ดึงวัสดุต่างๆขึ้นเหนือวงแหวนหรือต่ำกว่าวงแหวน เมื่อดาวบริวารโคจรเพราะว่าวงโคจรไม่ค่อยสัมพันธ์กับตัววงแหวนนั้นๆ ระบบของวงแหวนดาวเสาร์เป้นภาพที่ตระการตา แต่ในดาวเคราะห์อีกดวงนั้นแตกต่างกันมาก
อันดับที่ 5 Great Red Spot ของดาวพฤหัส
มีสิ่งหนึ่งที่ดูชั่วร้ายอย่างไม่น่าเชื่อมันคืออันดับที่ 5 ในการจัดอันดับ 7 สิ่งมหัศจรรย์ของเรา พายุที่บ้าคลั่งที่มีขนาดใหญ่เกือบสามเท่าของในโลก เจ้าแม่แห่งพายุที่นี่มีขนาดใหญ่กว่าโลกประมาณสามเท่า เราไม่รู้แน่ชัดว่าเรดสป็อตก่อตัวขึ้นมายังไง มันอยู่ของมันอย่างนั้นมาตั้งแต่เราเห็นครั้งแรก ตั้งแต่ปี 1650 มันอยู่ตรงนั้นมาตั้งแต่ตอนที่เราไม่ได้สนใจมันซะอีก
The Great Red Spot คือพายุโบราณที่หมันอย่างบ้าคลั่งมานานนับศตวรรษ พายุเมฆขนาดใหญ่ที่หมุนวงอยู่สูงเหนือดวงดาว 5 ไมล์ ทำให้พายุอื่นๆบนโลกของเราดูด้อยไปเลย พายุหมุนที่ The Great Red Spot ของดาวพฤหัสวัดได้ความเร็วลม 400 ไมล์ต่อชั่วโมง ซึ่งมันเร็วกว่าทอร์นาโดบางลูกที่รุนแรงที่สุดในโลก และทอร์นาโดบนโลกจะหมุนนานประมาณ 10-20 นาที หรือมากที่สุดก็ 2-3 ชั่วโมง ในขณะที่ The Great Red Spot ของดาวพฤหัส นั้นหมุนอยู่อย่างน้อย 400 ปี และมีขนาดใหญ่กว่าโลกถึงสามเท่า นี่เป็นพายุที่คุณไม่อยากจะโดนดูดเข้าไปอย่างแน่นอน
พายุฤดูร้อนส่วนใหญ่ในซีกโลกใต้จะหมุนตามเข็มนาฬิกาเหมือนที่โลกของเราหมุน แต่บนดาวพฤหัส The Great Red Spot หมุนไม่เหมือนกับโลก The Great Red Spot จะอยู่ทางซีกโลกใต้ของดาวพฤหัส มันหมุนทวนเข็มนาฬิกา เป็นเพราะว่าความกดอากาศสูงซึ่งตรงข้ามกับพายุความกดอากาศต่ำบนโลกของเรา ต้นกำเนิดของพายุที่มีอายุยืนยาวทำให้นักดาราศาสตร์งุนงง แต่ตอนนี้วิทยาศาสตร์อาจกำลังไขความลับของพายออก กล้องเทเลสโคปอวกาศฮับเบิล ถ่ายภาพพายุ 3 ลูกที่มีขนาดเล็กกว่าบนดาวพฤหัส ที่เรียกว่า White Spot ภายในเวลา 3 ปี White Spot ทั้งสามจะมารวมตัวกัน และจะกลายเป็นพายุที่มีขนาดเท่าลูกโลก ในเวลาแค่เพียงสัปดาห์เดียวพายุก็เปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีแดง ตอนนี้เราเรียกว่า Red Junior แต่ทำไมมันถึงได้กลายเป็นสีแดง และนั่นก็ยังเป็นปริศนาอยู่ นักดาราศาสตร์สงสัยว่าการรวมตัวกันในลักษณะนี้ พายุในตอนเริ่มต้นอาจเป็นสีขาวมาก่อน แต่เมื่อความเร็วเพิ่มขึ้น มันเริ่มดึงวัสดุที่อยู่ลึกลงไปในพื้นผิวของดาวพฤหัสเข้ามา การรวมตัวกันอาจทำให้เกิดก๊าซซัลเฟอร์ เราไม่เข้าใจว่าทำไม The Great Red Spot จึงมีสีแดงเหมือนกับอิฐ อาจเป็นเพราะสารเคมีที่มารวมกันแล้วทำปฏิกิริยากับแสงอาทิตย์แล้วเกิดเป็นสีแบบนี้ขึ้นมาก็ได้
นักดาราศาสตร์ The Great Red Spot อย่างใกล้ชิด ในหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมาพวกเขาค้นพบการเปลี่ยนแปลงที่น่าพิศวง เราได้จ้องมองการหดตัวของ The Great Red Spot แล้วมันก็มีรูปทรงกลมขึ้น แต่ใครจะรู้ ไม่แน่ว่าในอีก 400 ปีมันอาจจะหายไปหมดก็ได้ ตอนนี้ The Great Red Spot ยังคงเป็นพายุที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะจักรวาล เราจะออกจากดาวพฤหัสแล้วมุ่งหน้าออกไป 200 ล้านไมล์ในทิศทางเดียวกันกับดวงอาทิตย์และเข้าใกล้สิ่งมหัศจรรย์ที่แทบไม่น่าเชื่ออันดับต่อไป
อันดับที่ 4 แถบดาวเคราะห์น้อย (Asteroid Belt)
นักวิทยาศาสตร์ต้องการรู้มากขึ้นถึงจุดกำเนิดของเศษขยะของจักรวาล ซึ่งถูกทิ้งจากการก่อตัวของระบบสุริยะจักรวาล นานมาแล้วที่เราคิดว่าอาจจะมีดาวเคราะห์ชนกัน เราได้เห็นเศษซากความเสียหายที่รุนแรง แต่ว่าในตอนนี้เราเชื่อว่าดาวเคราะห์ไม่สามารถที่จะชนกันในแบบนั้นได้ แรงดึงดูดจากดาวพฤหัสและดวงดาวอื่นๆ ทำให้เป็นไปไม่ได้ที่ดาวเคราะห์จะชนกันเอง เมื่อเดินทางฝ่าก้อนหินนับร้อยล้านไมล์ บางก้อนเล็กเพียงไม่กี่ฟุต บางก้อนใหญ่กว่าเมือง ดาวเคราะห์น้อยอาจประกอบด้วยก้อนหินนับล้านชิ้น ถ้าเศษทั้งหมดรวมกันกลายเป็นดวงดาว มันอาจเล็กกว่าดวงจันทร์นิดเดียว เราเริ่มจะเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับประวัติของระบบสุริยะจักรวาลด้วยการศึกษาเอาเศษชิ้นเล็กๆ ในระบบสุริยะจักรวาลมา เราอยากจะรู้ว่ามันหมุนไปรอบๆ ได้อย่างไร และมันมีผลต่อดาวดวงใหญ่ๆยังไงบ้าง แล้วชะตาของมันจะสิ้นสุดตรงไหน จะเกิดอะไรขึ้นกับมัน
ภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงพรรณนาว่าแถบดาวเคราะห์น้อยเป็นอุปสรรคของดาราจักร สถานที่ซึ่งยานอวกาศหลบหินขนาดยักษ์ ที่เบียดกันก่อนพุ่งเข้ามาทำลายล้างโลกของเรา ฮอลลีวู้ดเข้าใจผิดหรือเปล่า แถบดาวเคราะห์น้อยนั้น ทำอย่างนั้นได้อย่างไร และมีคนสงสัยว่าแถบดาวเคราะห์น้อยมีหน้าตาเหมือนกับในหนังจริงหรือไม่ จริงๆแล้ว
แถบดาวเคราะห์น้อยไม่ได้แย่เหมือนกับในหนังไปซะหมด ถ้าหากว่าเราโคจรรอบดวงดาวในแถบดวงดาวในระบบสุริยะจักรวาล คุณจะมองไม่เห็นอุกกาบาตขนาดใหญ่ของดาวที่หมุนอยู่ใกล้ๆ ความจริงแล้วมันจะดูเหมือนจุดแสงสว่างที่อยู่ไกลๆ นั่นเป็นเพราะว่าระยะห่างเฉลี่ยระหว่างวัตถุส่วนใหญ่ในแถบดาวเคราะห์น้อยมากกว่าขนาดของมัน ดังนั้นมันจึงมองเหมือนจุดมากกว่า
ความจริงแล้วระยะห่างเฉลี่ยระหว่างวัตถุอวกาศสองชิ้น อาจเป็นหนึ่งล้านไมล์ อย่างไรก็ตามในทะเลอวกาศอันกว้างใหญ่ที่มีหินรูปร่างแปลกๆ หินรูปทรงกลม ซีรีส (Ceres)เป็นวัตถุอวกาศที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะจักรวาล ก้อนหินที่กว้าง 600 ไมล์เป็นส่วนประกอบ 1 ใน 4 ของมวลทั้งหมดในแถบดาวเคราะห์น้อย หินส่วนใหญ่ในแถบดาวเคระห์น้อยมีลักษณะเป็นก้อนขรุขระเหมือนมันฝรั่ง แต่ว่าซีรีสไม่เป็นอย่างนั้น มันมีขนาดใหญ่มากพอที่จะมีแรงดึงดูดที่ก่อตัวมันเองให้เป็นทรงกลม นอกจากรูปร่างกลมของมัน ทำให้ซีรีสได้เลื่อนระดับ นักวิทยาศาสตร์เลื่อนฐานะของมันเป็นดาวเคราะห์แคระ มีความสำคัญเช่นเดียวกับดาวพลูโต มุมมองสมัยใหม่ของซีรีสก็คือมันไม่ได้ใหญ่พอจะเป็นดาวเคราะห์ มันใหญ่พอที่จะก่อตัวเป็นทรงกลม สิ่งมหัศจรรย์อันดับสี่ไม่ได้มีรูปลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวจากการก่อตัวของระบบสุริยะจักรวาลเท่านั้น แต่มันยังเป็นที่เก็บซ่อนมวลที่มีพลังทำลายล้างขนาดใหญ่อีกด้วย วัตถุอวกาศมากมายที่หลบหนีการดึงดูดของแถบดาวเคราะห์น้อยไปได้ และหนึ่งในนั้นอาจซ้ำรอยประวัติศาสตร์ได้ทุกขณะ และจะไม่มีใครรอดชีวิตมาพูดถึงมัน
ตอนนี้การเดินทางสู่ 7
สิ่งมหัศจรรย์ในระบบสุริยะจักรวาลของเรา มายังน้ำพุร้อนของดาวเอ็นเซลาดุส วงแหวนดาวเสาร์ The Great red Spot ของดาวพฤหัส ตอนนี้เราเดินทางผ่านสิ่งมหัศจรรย์อันดับสี่ก็คือแถบดาวเคราะห์น้อย โครงสร้างที่ถูกทิ้งนี้น่าสนใจขนาดถูกสร้างเป็นภาพยนต์ และสิ่งที่ฮอลลีวู้ดหลงใหลก็คือสิ่งที่หลุดออกมาจากแถบดาวเคราะห์น้อยและมุ่งหน้าสู่โลกของเรา วัตถุใกล้โลกหรือที่เรียกว่า NEO (Near-Earth Object) ก็คือก้อนหินจักรวาล วัตถุอวกาศ หรือว่า ดาวตกที่พุ่งชนโลกแทบทุกวัน วัตถุใกล้โลกคือวัตถุที่ข้ามผ่านการโคจรของโลกไปรอบดวงอาทิตย์ซึ่งในบางครั้งมันอาจชนกับโลกของเรา และถ้ามันใหญ่พออาจทำให้เกิดความเสียหายกับโลกได้
14 เมษายน 2010 กล้องสามารถจับภาพวัถุอวกาศที่ลุกเป็นไฟขนาด 3 ฟุต ที่กำลังพุ่งลงมาเหนือแถบตะวันตกกลางของสหรัฐ โชคดีที่ก้อนหินอวกาศแตกเป็นชิ้นเล็กๆ ก่อนตกบนพื้น แต่ในอดีตก้อนหินอวกาศขนาดใหญ่ อย่างเช่นที่ อริโซนา Western Australia Quebec สร้างหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่ และยังกระตุ้นให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ อย่างก้อนหินอวกาศที่ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ กว่าหนึ่งพันล้านปีที่ผ่านมาโลกของเราถูกพุ่งชนหลายครั้ง จากวัตถุอวกาศหลกหลายขนาด และผลที่เกิดขึ้นเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้วที่มันกวาดล้างไดโนเสาร์ไป อาจจะเป็นวัตถุใหญ่ขนาด 6 ไมล์ที่อาจเป็นสาเหตุของการสูญพันธุ์ก็ได้ การสำรวจอวกาศใหม่ๆ หลายครั้งติดตามวัตถุที่อยู่ใกล้โลกที่ใหญ่พอที่จะทำลายล้างเมืองที่ทันสมัย หรือแย่กว่านั้นคือเกิดความเสียหายทั่วโลก เรารู้ว่าวัตถุส่วนใหญ่มีขนาดใหญ่กว่า 1 ไมล์ที่สามารถจะผ่านวงโคจรของโลกได้ สิ่งสำคัญก็คือหาวัตถุที่มีขนาดเท่ากับสนามกีฬาให้พบ ในขณะที่มันยังไม่ได้สร้างความเสียหายให้กับโลก เพราะถ้ามันพุ่งชนโลกจะเกิดความเสียหายมาก
เราจะออกจากแถบดาวเคราะห์น้อยต่อมาเราจะเดินทางไปพบกับอีกสิ่งหนึ่งใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของเรา
อันดับที่ 3 Olympus Mons ภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดของระบบสุริยะจักรวาล
เมื่อเราเข้าใกล้ดาวอังคาร เราก็สะดุดตากับภูเขาขนาดยักษ์ลูกนี้ ฐานของมันมีขนาดเกือบ 350 ไมล์ เหมือนกับภูเขาที่มีฐานจากลอสแอนเจลิสถึงซานฟรานซิสโก ถึงแม้ว่ามันจะสูงมากแต่เนินของมันค่อยๆชัน มันไม่ใช่ภูเขาไฟที่สูงชัน มันราบเรียบเป็นเนินต่ำๆ แต่ว่ามันก็ไม่สิ้นสุดสักที ถ้าคุณปีน 13 ไมล์ถึงยอดเขา คุณอาจเห็นวิวชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร
Olympus Mons อาจจะสูงกว่าภูเขาที่สูงที่สุดบนโลกหลายเท่า และฐานของมันก็กว้างนับร้อยไมล์ มันก่อตัวขึ้นเมื่อกว่าพันล้านปีก่อนจากการระเบิดครั้งแล้วครั้งเล่าของภูเขาไฟ ซึ่งมันค่อยๆปกคลุมพื้นดินด้วยชั้นของลาวานั่นเอง 100 ล้านปีก่อน สายลาวาร้อนไหลทะลักลงมาจากยอดเขาปกคลุมพื้นที่นับล้านตารางไมล์บนดาวแดง ปัจจุบันนี้ Olympus Mons เป็นภูเขาที่มีมวลมากกว่าภูเขาไฟเมานาโลอา (Mauna Loa) ที่ใหญ่ที่สุดของโลกในฮาวายนับร้อยเท่า
Olympus Mons มีขนาดใหญ่กว่าภูเขาลูกไหนของโลกด้วยเหตุผลหลายอย่าง อย่างแรกก็คือมันมีการปะทุของภูเขาไฟเกิดขึ้นมากมาย อย่างที่สองก็คือแรงดึงดูดของดาวอังคารมีน้อยมาก น้ำหนักเราจะน้อยมากเมื่ออยู่บนดาวอังคาร ดังนั้นเมื่อภูเขาก่อตัวขึ้นมันจึงไม่ถูกกดลง จึงกลายเป็นภูเขาไฟขนาดมหึมาที่มันไม่ถล่มลงมา อย่างที่สามก็คือดาวอังคารไม่มีการเคลื่อนไหวของเปลือกดาว ที่ไม่เหมือนกับโลก ความร้อนและแมกมาจะยังคงอยู่ที่เดิม ทำให้มันไหลทับถมกันไปดรื่อยๆจนกลายเป็น Super Volcano นั่นเอง ตอนนี้เราสันนิษฐานว่าดาวอังคารไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา แต่ Olympus Mons สงบแล้วจริงๆ หรือเป็นยักษ์ที่หลับอยู่
The European Space Agency Mars Express ได้จับภาพความละเอียดสูงที่สุดเท่าที่เคยทำได้ เป็นภาพรอยคลื่นของลาวาบางคลื่นที่มีอายุ 115 ล้านปี แต่บางคลื่นแค่สองล้านปี ในช่วงเวลาทางธรณีวิทยาถือว่ายังใหม่มาก ซึ่งบอกได้ว่าอาจมีปฏิกิริยาของภูเขาไฟบางอย่างอยู่ ถ้าเรามองที่พื้นผิวของ Olympus Mons เราจะเห็นว่ามีรอยลาวาอยู่บริเวณนั้นซึ่งมีอุกกาบาตอยู่น้อย ดังนั้นเรารู้ว่าลาวาตรงนั้นอาจมีอายุมากที่สุดถึง 10-20 ล้านปี การปะทุยังคงมีขึ้นกระทั่งไม่นานมานี้ หรือไม่ก็จนถึงปัจจุบันนี้ก็ได้ Olympus Mons อาจเคยผลิตลาวาจำนวนมหาศาลมาแล้ว แต่ความร้อนของมันยังน้อยเมื่อเทียบอุณหภูมิของมันกับสิ่งมหัศจรรย์อันดับสอง นี่อาจดูเหมือนลูกบอลไฟ แต่พื้นผิวของมันคือมหาสมุทรของคลื่นพลาสมาที่ร้อนถึง 10,000 องศา ลมและการระเบิดขนาดใหญ่เท่ากับการระเบิดของ TNT หนึ่งล้านลูก สิ่งมหัศจรรย์อันดับที่สองนั้นคือเพื่อนที่ดีที่สุดของโลกของเรา มันให้ทั้งความร้อนและพลังงานแก่โลกของเรา แต่มันอาจเผาผลาญเราด้วยคลื่นและพลังงานที่อาจถึงตายได้
อันดับที่ 2 Surface of the Sun พื้นผิวที่ร้อนฉ่าของดวงอาทิตย์
พื้นผิวดวงอาทิตย์มันค่อนข้างวุ่นวายโกลาหล มันเดือกปุดๆและมีฟองขึ้นมาตลอดเวลา มีก๊าซความร้อนออกมาจากข้างใน แผ่พลังงาน เย็น แล้วก็กลับเข้าไป นี่คือการหมุนเวียนของพลังงานความร้อน เราไม่เคยดูพื้นผิวดวงอาทิตย์ใกล้ๆได้ จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ ดาวเทียมดวงใหม่ที่สามารถจับภาพ ภาพที่ไม่เคยเกิดมาก่อนทำให้คุณรู้สึกเหมือนอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มาก ทำให้สามารถมองเห็นพื้นผิวของดวงอาทิตย์ที่เรียกว่า โฟโตสเฟียร์ นี่ก็คือพายุสุริยะและปรากฏการณ์รุนแรง ที่พิ้นผิวของดวงอาทิตย์นั้น ถ้าเราสามารถไปตรงนั้นได้และปองกันตนเองได้ก็จะได้ยินเสียงที่ดังสนั่น มีความร้อนหลายพันองศา มีพายุแม่เหล็กที่สร้างคลื่นแม่เหล็กตลอดเวลาที่พื้นผิวของดวงอาทิตย์ เมฆของพลาสมาที่หนาแน่นลอยอยู่เหนือพื้นผิวของดวงอาทิตย์ สนับสนุนด้วยพลังแม่เหล็ก บางครั้งเมฆพลาสมาเหล่านี้มันมีอิสระและพุ่งเข้าไปในอวกาศ
ดวงอาทิตย์มีสนามแม่เหล็กที่ทรงพลังอย่างเหลือเชื่อ และบางครั้งเส้นสนามแม่เหล็กเหล่านั้นจะเชื่อมกับจุดร้อนบนพื้นผิวของดวงอาทิตย์ เมื่อก๊าซกับพลาสมาเดือดอยู่บนดวงอาทิตย์ สนามแม่เหล็กก็จะหลุดออกมาและปล่อยพลังงานมหาศาลออกมา ดวงไฟพลาสมาขนาดใหญ่ที่ถูกปล่อยออกมาเป็นแนวโค้งตาม
สนามแม่เหล็กที่อยู่รอบดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์ระเบิดสามารถเกิดขึ้นพร้อมการปล่อยพลังงานของดวงอาทิตย์ ทำให้มีแรงส่งเป็นสองเท่าเมื่อส่งพลังงานมยังโลก ์ NASA Solar and Heliospheric Observatory หรือ SOHO ถ่ายภาพ Coronal Mass Ejection หรือ CME ได้ ฟองขนาดยักษ์ของก๊าซร้อน ประกอบด้วยวัถุอวกาศถึงหนึ่งหมื่นล้านตัน มันถูกยิงเข้าสู่อวกาศด้วยความเร็วหลายล้านไมล์ต่อชั่วโมง
Coronal Mass Ejection หรือ CME คือพายุที่มีพลังแรงอย่างมหาศาล อาจจะใหญ่เท่ากับระเบิดฮิโรชิม่านับพันล้านลูก บางครั้งมันก็มีฟองของพลาสมามากระทบกับโลกทำให้เกิดความงดงามของแสงเหนือที่เราเรียกว่าออโรร่า และมันก็อาจจะเป็นอันตรายต่อโลกได้ด้วย เมื่อ Coronal Mass Ejection พุ่งมายังโลก มันกระตุ้นให้เกิดพายุ GO Magnetic ฟองของอนุภาคอิออนนี้อาจสร้างความเสียหายต่อดาวเทียมได้ ยิ่งไปกว่านั้นมันยังเป็นอันตรายต่อนักบินอวกาศที่อยู่นอกยานอวกาศอีกด้วย CMEนั้นทำให้เกิดรังสีเอ็กซ์ ถ้าคุณอยู่นอกโลกคุณก็จะได้รับรังสี เนื่องจากบรรยากาศของโลกนั้นดูดซับรังสีเอ็กซ์ส่วนใหญ่เอาไว้ บนพื้นโลกจึงไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่ถ้าคุณอยู่บนเครื่องบินที่อยู่สูงขึ้นไปในชั้นบรรยากาศก็ยิ่งได้รับรังสีมากขึ้น
ภาพล่าสุดที่ถ่ายได้ย้ำเตือนว่าพื้นผิวดวงอาทิตย์มีพลังมหาศาล และอาจร้อนขึ้นในอนาคตอันใกล้ จากกิจกรรมของดวงอาทิตย์มีวงรอบ 11 ปี ในปี 2013 ดวงอาทิตย์ของเราจะไปอยู่จุดสูงสุดของวงรอบที่เรียกว่า Solar Maximum คราวนี้พื้นผิวของดวงอาทิตย์อาจสร้างปรากฏการณ์ Perfect Storm ในอดีตดวงอาทิตย์เคยเกิดพายุสุริยะที่ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าและดาวเทียมสื่อสารดับ อนาคตจะมีพายุสุริยะมากขึ้น มันอาจจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ในช่วงชีวิตของเรา สิ่งที่น่าตื่นเต้นในการศึกษาดวงอาทิตย์อย่างหนึ่งก็คือ เราพยายามเข้าใจและทำนายการเกิด
พายุสุริยะที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์
แต่สิ่งหนึ่งที่พายุสุริยะไม่อาจทำลายได้คือสิ่งมหัศจรรย์อันดับหนึ่งใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ในระบบสุริยะจักรวาล มันคือดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 5 หนึ่งในสิบของพื้นผิวของมันถูกปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งอย่างถาวร และความร้อนภายในของมันทำให้แมกม่าครุกรุ่นมากพอที่จะทำให้ภูเขาไฟระเบิดได้นับพันล้านปี
อันดับที่ 1 โลก Earth
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าโลกเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่สุดในระบบสุริยะจักรลาลของเรา โลกของเรามันสมบูรณ์แบบสำหรับการมีชีวิตอยู่ มีน้ำ วีชั้นบรรยากาศ มีอุณหภูมิที่กำลังสบายเป็นสถานที่ๆน่าอยู่ที่สุดแล้ว โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงที่สามถัดจากดวงอาทิตย์ โลกเปี่ยมไปด้วยความงดงาม โลกไม่เหมือนดาวดวงใดในระบบสุริยะจักรวาล มีน้ำเป็นของเหลวปกคลุม 2ใน3 ของพื้นผิว ในแต่ละทวีปมีความหลากหลายในด้านภูมิประเทศ และเป็นดาวดวงเดียวที่ยืนยันว่ามีสิ่งสนับสนุนชีวิตที่น่าทึ่งทุกรูปแบบ
โลกมีลักษณะเด่นหลายข้อที่ทำให้มันเป็นเอกลักษณ์อย่างแท้จริงในระบบสุริยะจักรวาล มันไม่ได้ร้อนจนเดือด ไม่ได้หนาวจนแข็ง ระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ก็อยู่ในระยะที่พอเหมาะพอดี มันไม่ได้มีแต่น้ำหรือว่าแห้งแล้ง มันมีการผสมผสานระหว่างพื้นดินกับพื้นน้ำในการสนับสนุนสิ่งมีชีวิตหลายสายพันธุ์ ตอนนี้วิทยาศาสตร์เข้าใกล้ปริศนาการกำเนิดของชีวิต ด้วยการย้อนรอยการก่อตัวของโลก เมื่อ 4,600 ล้านปีก่อน ในเศษซากที่เหลือของการก่อตัวของดวงอาทิตย์เกิดใหม่ อนุภาคของฝุ่นและก๊าซเริ่มเข้ามารวมตัวกัน ในที่สุดมันก่อตัวเป็นก้อนหินและก้อนน้ำแข็งขนาดใหญ่ หลายล้านปีแล้วเศษซากเหล่านี้มารวมตัวกันเป็นดาวเคราะห์ ระหว่างขั้นตอนการกำเนิด โลกของเราได้รับคุณสมบัติพิเศษบางประการ ลักษณะเด่นอย่างหนึ่งก็คือโลกอุดมไปด้วยน้ำ มีการคิดกันว่าภูเขาไฟแรกสุดที่มีลาวาพุ่งออกมาจำนวนมหาศาล ทำให้เกิดการควบแน่นกลายเป็นฝน ทำให้โลกมีน้ำ
และต่อมามีการพูดถึงแหล่งน้ำแห่งใหม่ที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ แหล่งน้ำบางแหล่งอาจมาจากอุกกาบาตก็ได้ บางแหล่งมาจากแถบดาวเคราะห์น้อยที่เต็มไปด้วยน้ำ หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่า น้ำบางแหล่งมาจากหินที่พุ่งชนโลกและเกือบทำให้โลกถึงกาลอวสาน ปรากฏว่าน้ำเป็นกุญแจสำคัญของจุดเริ่มต้นของชีวิต มีทฤษฎีในยุคก่อนที่กล่าวว่าชีวิตเริ่มขึ้นในซุปยุคกำเนิดโลก บ่อน้ำอุ่นๆที่ให้พลังงานและธาตุบรรยากาศที่สร้างกรดอมิโน อย่างไรก็ตามในการวิจับยุคใหม่มีการกล่าวอ้างอย่างเข้มแข็งว่าโลกมีพลังงานเคมีของตนเองและอุดมด้วยโปรตีนที่ซึมออกมาจากบ่อน้ำร้อนที่อยู่ใต้มหาสมุทร เมื่อผ่านกาลเวลาส่วนผสมนี้ก็เริ่มผลิตสิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์ขึ้น
เรารู้น้ำคือสิ่งสำคัญของชีวิต และชีวิตก็อาจเริ่มต้นในสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำ ไม่ว่าจะอยู่ลึกลงไปในมหาสมุทรที่ปล่องภูเขาไฟหรือในน้ำตื้น เราไม่รู้แน่ชัดว่ามันเกิดขึ้นตรงไหนและอย่างไร และโลกคือดาวเคราะห์ดวงเดียวที่เรารู้แน่ชัดว่ามีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นจริงๆ โดยไม่คำนึงว่าชีวิตเกิดขึ้นอย่างไร ความโชคดีที่ทำให้สิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนจะพัฒนาขึ้นมาได้ ประมาณ 3,000 ล้านปีก่อน แบคทีเรียใต้น้ำโบราณเริ่มต้นขึ้น โดยใช้ น้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ และพลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตคาร์โบไฮเดรตเพื่อที่จะมีชีวิตรอด วิธีการนี้เรียกว่าการสังเคราะห์แสง โดยการฉีดออกซิเจนปริมาณมากลงไปในน้ำทะเลและสุดท้ายก็บรรยากาศของโลกเรา ก้าวสำคัญเกิดขึ้นในวิวัฒนาการเมื่อโลกปนเปื้อนด้วยออกซิเจน เราไม่ได้เริ่มต้นด้วยออกซิเจนที่มันมีอยู่มากมายในอากาศ ออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศซึ่งมาจากการสังเคราะห์แสง
หลังจากสองถึงสามพันล้านปีของวิวัฒนาการของดาวเคราะห์และชีววิทยา พืชชนิดแรกและสัตว์ก็เริ่มโผล่ขึ้นมาจากน้ำ ประมาณการว่ามนุษย์ก้าวเข้ามาเมื่อสองแสนปีที่แล้ว และด้วยวิวัฒนาการและเทคโนโลยีเกิดขึ้นบนโลกของเรา จากอนุสาวรีย์ที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นในสมัยโบราณ มาสู่เมืองหลวงที่วุ่นวาย มนุษย์เราเปลี่ยนแปลงโลกตั้งแต่บนพื้นดินจนถึงอวกาศ พื้นโลกถูกดัดแปลงกลายเป็นเมืองด้วยกิจกรรมของมนุษย์ เราเป็นส่วนหนึ่งของโลก เราได้สร้างความเปลี่ยนแปลงบนพื้นผิวโลก และธรณีวิทยาของโลกลึกๆ ถูกปรับเปลี่ยนไปมาก สิ่งต่างๆที่เราทำบนพื้นดินที่เรารู้ว่าไม่มีที่ดาวดวงไหน มันไม่มีเกิดขึ้นที่อื่นในระบบสุริยะจักรวาลอย่างแน่นอน
+++++การเดินทาง
ท่องจักรวาลพาเราไปพบเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์อย่างน้ำพุร้อน น้ำแข็งบนดาวเอนเซลาดุส วงแหวนที่น่าสนใจของดาวเสาร์ The Great Red Spot บนดาวพฤหัส ภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุด Olympus Mons แถบดาวเคราะห์น้อยปริศนาและพายุสุริยะของเรา แต่การผจญภัยที่ไม่มีวันลืมจะเป็นไปไม่ได้ถ้าไม่มีบ้านของเรานั่นคือโลก สถานที่ๆมีความเป็นไปได้ ที่ไม่มีสิ้นสุด ศตวรรษที่แล้วมนุษย์ผลิตยานอวกาศ เทคโนโลยีจะช่วยให้เราสำรวจสิ่งมหัศจรรย์อื่นๆอีก เราสามารถเดินทางไประยะทางไกลขึ้นและตระหนักว่าเราคือส่วนหนึ่งของจักรวาลที่กว้างใหญ่ขึ้น ปรากฏการณ์เหล่านี้จะทำให้เราภูมิใจในสิ่งที่เราเป็น และเหตุผลที่เราอยู่ที่นี่ในสถานที่ๆเราเรียกมันว่าจักรวาล+++++
บทความแนะนำ